อิทธิพลของ BAP ต่อการเจริญเติบโตของต้นแม่พันธุ์มันฝรั่ง ในระบบไฮโดรโพนิค
Main Article Content
บทคัดย่อ
เนื่องจากมีความต้องการต้นแม่พันธุ์มันฝรั่งเพื่อใช้ในการผลิตเป็นหัวพันธุ์ชั้นหลัก (pre-basic seed: G0) จึงจำเป็นต้องทดสอบอิทธิพลของฮอร์โมนต่อการเจริญเติบโตของต้นแม่พันธุ์ในระบบไฮโดรโพนิค ดำเนินการทดสอบที่ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2560-2561 วางแผนการทดลองแบบ RCBD ประกอบด้วย 5 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 3 ซํ้า ได้แก่ ไม่พ่นฮอร์โมนเร่งการ เจริญเติบโต (control) พ่น 6-benzylaminopurine (BAP) อัตรา 50 100 150 และ 200 mg l-1 โดยเตรียม กระบะปลูกไฮโดรโพนิค ขนาด 1 × 2.4 เมตร ที่ใช้ระยะปลูก 10 × 10 เซนติเมตร พบว่าการพ่นสารเร่ง การเจริญเติบโต BAP อัตรา 50 mg l-1 ทำให้ต้นแม่พันธุ์ม์นฝรั่งที่อายุ 30 วัน มีการเจริญเติบโตด้านความสูง เฉลี่ยสูงที่สุด 27.7 เซนติเมตร มีอัตราการเพิ่มของความสูงมากที่สุด 0.57 cm d-1 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติกับการพ่นด้วย BAP ในอัตราที่สูง แต่ไม่แตกต่างกับการพ่นด้วยนํ้าเปล่า จำนวนข้อต่อต้นเฉลี่ย มากที่สุด 4 ข้อ ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติกับการพ่นนํ้าเปล่า และ BAP และมีจำนวนยอดตัดปักชำเฉลี่ย ต่อพื้นที่ปลูก 2.4 ตารางเมตร มากที่สุด 264 ยอด แต่อย่างไรก็ตามจำนวนยอดตัดปักชำไม่มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการพ่น BAP อัตรา 200 mg l-1 100 mg l-1 ไม่มีการพ่นฮอร์โมน และ BAP อัตรา 150 mg l-1 ดังนั้นการพ่น BAP ในอัตราที่เหมาะสมที่ความเข้มข้น 50 mg l-1 ช่วยส่งเสริมการ เจริญเติบโต และเพิ่มจำนวนยอดในการตัดปักชำของต้นมันฝรั่งในระบบไฮโดรโพนิคได้ดีที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชวาลา วงศ์ใหญ่. 2559. อุตสาหกรรมแปรรูปมันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ และโอกาสการขยายการตลาดมันฝรั่งแปรรูปสู่ภูมิภาคอาเซียน. หน้า 25-40. ใน: กลุ่มงานพืชผัก สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร (บ.ก.). เทคโนโลยีการผลิตมันฝรั่งโรงงานคุณภาพ. การันตีการพิมพ์, นนทบุรี.
เทิดศักดิ์ โทณลักษณ์. 2555. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเสี้ยวดอกขาว (Bauhinia variegata L.). รายงานวิจัยสาขาวิชาเทคโนโลยีและพัฒนาการเกษตร. คณะเทคโนโลยีการเกษตรมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
พีระศักดิ์ ฉายประสาท. 2553. การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics). ภารกิจโครงการและประสานงานวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
มานี เตื้อสกุล. 2542. สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช: ไซโตไคนิน. คณะเทคโนโลยีการเกษตรสถาบันราชภัฏสงขลา.
ลิลลี่ กาวีต๊ะ. 2556. บทที่ 15 ฮอร์โมนพืช. หน้า 205-233. ใน: ลิลลี่ กาวีต๊ะ มาลี ณ นครศรีสม สุวรรณวงศ์ สุรียา ตันติวิวัฒน์ ณรงค์ วงศ์กันทรากร (บ.ก.). สรีรวิทยาของพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่. 2557. เอกสารวิชาการการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งคุณภาพ. สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร.
สถาบันวิจัยพืชสวน. 2560. นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านพืชสวน. เอกสารประกอบการประชุม Horti Asia 2017. กรมวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 15-17 มีนาคม 2560. ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา. กรุงเทพฯ. หน้า 15-17.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2557. สถิติการค้าสินค้าเกษตรไทยกับต่างประเทศ ปี 2556. ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ปี 2562. แหล่งข้อมูล http://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaid5ata/files/1_potato%2062.pdf (11 กุมภาพันธ์ 2563).
สุกัญญา แช่มประเสริฐ สุทธาธร ไชยเรืองศรี และอรุโณทัย จำปีทอง. 2554. ผลของแคดเมียมจากนํ้าเสียสังเคราะห์ ต่อการเติบโตของสาหร่ายเดนซ่า (Egeria densa Planch.) และบัวสาหร่าย (Cabomba caroliniana A. Gray). วารสารพฤกษศาสตร์ไทย 3(1): 45-52.
อรทัย วงค์เมธา. 2561. เอกสารวิชาการการผลิตหัวพันธุม์ ันฝรั่งคุณภาพ. ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
อรทัย วงค์เมธา. 2562. ระบบการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งปลอดโรค. ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร.
อัญชลี ตาคำ และเกวลิน คุณาศักดากุล. 2555. การผลิตกล้าพริกพิโรธปลอดโรคไวรัสโดยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. วารสารเกษตร 28: 61-74.
Azam, F.M.S., S. Islam, M. Rahmatullah and A. Zaman. 2010. Clonal Propagation of Banana (Musa spp.) Cultiva “BARI-1”(AAA Genome, Sapientum Subgrop). Acta Hortic. 879: 537-544.
Caldiz, D. O. 1996. Seed potato (Solanum tuberosum L.) yield and tuber number increase after foliar applications of cytokinins and gibberellic acid under field and glasshouse conditions. Plant Growth Regulation 20(3): 185-188.
Eihory, S.M.A., M.A. Aziz, A.A. Rashid and A.G. Yunus. 2009. Prolific plant regeneration though organogenesis from scalps of Musa sp. Cv. Tanduk. Afr. J. Biotecnol. 8(22): 6208-6213.
Kim, T.G. 2014. Effect of stem cutting type and transplanting time on plant growth and minituber formation in potato hydroponics. Ph.D. Thesis. Department of Horticulture, Graduate School, JeJu National University.
Liu Z., Y. Goto and I. Nishiyama. 2000. Effects of benzylaminopurine on shoot and root development and growth of rice (cv. North Rose) grown hydroponically with different nitrogen forms. Plant Prod. Sci. 3(4): 349-353.
Temperini, O., G. Colla and F. Saccardo. 2005. Artichoke: A new in vivo agamic propagation technique. Acta Hortic. 681: 391-396.