ผลของอัตราปุ๋ยมูลวัวที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและปริมาณ สารฟลาโวนอยด์ของต้นว่านพญากาสัก (Leea macrophylla Roxb. ex Hornem.)

Main Article Content

ตันหยง เอมอยู่
วินัย แสงแก้ว

บทคัดย่อ

     ศึกษาผลของอัตราปุ๋ยมูลวัวต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของต้นว่าน พญากาสัก (Leea macrophylla Roxb. ex Hornem) ณ สำนักฟาร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และห้องปฏิบัติการหลักสูตร วิทยาการสมุนไพร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) ประกอบด้วย 4 สิ่งทดลอง คือปริมาณปุ๋ยมูลวัว 0, 200, 400 และ 600 กรัมต่อต้น ผลการศึกษาด้านการเจริญเติบโตพบว่า ต้นว่าน พญากาสักมีอัตราความสูงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ตามปริมาณปุ๋ยที่เพิ่มขึ้นแต่ละ สิ่งทดลองระหว่างช่วงอายุ 3-7 เดือน โดยต้นที่ได้รับปุ๋ยมูลวัวที่ 600, 400 กรัมต่อต้น มีความสูงมากที่สุด ที่อายุ 7 เดือน สำหรับจำนวนใบต่อต้นนั้นมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) เช่นกัน ที่อายุ 2-5 เดือน และมีจำนวนใบสูงสุดต่อต้นสูงสุดที่อายุ 5 เดือน เมื่อได้รับปุ๋ยมูลวัว 600 กรัมต่อต้น ส่วนขนาด ความกว้างและความยาวของใบนั้นจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า ที่อายุ 3 เดือน ในทุกอัตราปุ๋ย และใบจะมี ขนาดใหญ่ที่สุดที่อายุ 5 เดือน สำหรับนํ้าหนักสดและนํ้าหนักแห้งที่อายุ 7 เดือนนั้น พบว่ามีนํ้าหนักหัวสด มีค่าสูงสุดเมื่อได้รับปุ๋ยมูลวัว 400 และ 600 กรัมต่อต้น และพบว่ามีนํ้าหนักแห้งของหัวสูงสุดที่อัตราปุ๋ย 200, 400 และ 600 ต่อต้น จากการวิเคราะห์ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ด้วยวิธีสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ พบว่าส่วนของใบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) โดยต้นที่ไม่ได้ให้ปุ๋ยจะมีปริมาณสาร ฟลาโวนอยด์สูงสุด คือ 15.25 มิลลิกรัมต่อกรัมนํ้าหนักแห้ง รองลงคือ ที่ได้รับปุ๋ยปริมาณ 200, 600 และ 400 กรัมต่อต้น ตามลำดับ ในขณะที่ส่วนของหัวใต้ดินมีปริมาณสารฟลาโวนอยด์ไม่แตกต่างกันทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คมชัดลึก. 2560. ว่านพญากาสักรักษากามโรค. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.komchadluek.net/news/agricultural/252163 (23 มีนาคม 2562).

ฐานข้อมูลพรรณไม้องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2562. พญากาสัก (Leea macrophylla Roxb. ex Hornem.) [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=921.

เต็ม สมิตินันทน์. 2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้กรมป่าไม้.

ไทยเกษตรศาสตร์. 2012. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaikasetsart.com (17 ตุลาคม 2555).

ยงยุทธ โอสถสภา อรรถศิษฐ์ วงมณีโรจน์ และชวลิต ฮงประยูร. 2556. ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุธรรม อารีกุล จำรัส อินทร สุวรรณ ทาเขียว และอ่องเต็ง นันทแก้ว. 2551. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 2. มูลนิธิโครงการหลวง บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง จำกัด (มหาชน) กรุงเทพฯ.

Anonymous. 2017. Leea macrophylla. [online]. Available: http://www.theplantlist.org/tpl/record/tro-34002021 (23 March 2019).

Fern, K. 2014. Useful Tropical plants Database. [Online]. Available: http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=leea+macrophylla (23 March 2019).