ส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกซื้อสารเคมี ทางการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รีในตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ไชยสิทธิ์ พึ่งแสงจันทร์
พหล ศักดิ์คะทัศน์
บุญชู ดำรงศักดิ์คีรี
พุฒิสรรค์ เครือคำ
สายสกุล ฟองมูล
ปภพ จี้รัตน์

บทคัดย่อ

     การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของ เกษตรกรผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รี 2) ศึกษาส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกซื้อสารเคมีทาง การเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รี และ 3) ศึกษาแนวทางในการเลือกซื้อและใช้สารเคมีทาง การเกษตรอย่างถูกต้องตามมาตรฐานสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รี ในตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัด เชียงใหม่ จำนวน 166 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการจัดประเภทและจัดกลุ่ม
     ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รีส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ระหว่าง 36-45 ปี มีสถานภาพสมรส ไม่ได้เข้ารับการศึกษา มีรายได้จากการปลูกสตรอว์เบอร์รีอยู่ระหว่าง 100,000- 150,000 บาทต่อปี มีพื้นที่สำหรับการปลูกสตรอว์เบอร์รีอยู่ระหว่าง 1.00-2.5 ไร่ มีประสบการณ์ในการ ปลูกสตรอว์เบอร์รีมาแล้ว 5-10 ปี และส่วนมากได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการปลูกสตรอว์เบอร์รีจาก เพื่อนบ้าน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และพ่อค้าคนกลาง เกษตรกรให้ความสำคัญกับส่วนประสมทาง การตลาดสำหรับการเลือกซื้อสารเคมีทางเกษตรอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.43) โดยให้ความสำคัญ ในด้านผลิตภัณฑ์มากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และน้อยสุดในด้าน การส่งเสริมการตลาด
     แนวทางในการเลือกซื้อและใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน 3 ส. คือ 1) เสริมสร้าง: การเสริมสร้างความตระหนักต่อผลกระทบด้านลบจากการใช้สารเคมีโดยขาดการควบคุม หรือสารเคมี ที่ไม่ได้รับรองคุณภาพที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ 2) ส่งเสริม: การส่งเสริมโดยมุ่งเน้น การถ่ายทอดองค์ความรู้ในการเลือกใช้สารเคมีอย่างถูกต้องในกระบวนการปลูกสตรอว์เบอร์รีทุกขั้นตอน โดยยึดหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) และ 3) ส่วนร่วม: การสร้างการมีส่วนร่วมในการควบคุม และตรวจสอบการใช้สารเคมีให้เป็นไปตามมาตรฐาน GAP ระหว่างเกษตรกรผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รีกับ หน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่กำกับดูแล รวมถึงการสร้างการมีส่วนร่วมให้มีการจำหน่ายสารเคมีทาง การเกษตรที่ได้รับรองมาตรฐานและเป็นไปตามข้อกำหนดกำหนดของ GAP ระหว่างสถานจำหน่ายเคมี เกษตรกับหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ควบคุม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุณาพร ปุกหลิก พีรญา อึ้งอุดรภักดี กานต์พิชชา เกียรติกิจโรจน์ ปาจรีย์ ทองสนิท และพันธ์ทิพย์ หินหุ้มเพ็ชร. 2559. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร. วารสารควบคุมโรค 42(4): 348-359.

ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์. 2554. การปลูกสตรอว์เบอร์รี. แหล่งข้อมูล https://www.ku.ac.th/e-magazine/january44/agri/strawberry/ (2 พฤษภาคม 2563).

ภัทราพร เกษสังข์. 2559. การวิจัยปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

วิรัตน์ ปราบทุกข์ บรรจง ปานดี พิมุกต์ พันธรักษ์เดชา กนกธร วงศ์กิติ อาคม พรหมเสน สุธาศินี นนทะจักร เผ่าไท ถายะพิงค์ ศิวาภรณ์ หยองเอ่น และวรวัฒน์ วันติกิจเจริญกูล. 2556. การปลูกสตรอว์เบอร์รี่พันธุ์พระราชทาน 80. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน).

ศิริพงษ์ ฐานมั่น และนิรินธนา บุษปฤกษ. 2562. การศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและพฤติกรรมผูบ้ ริโภคโดยกระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 14(1): 111-124.

ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ และสุรัตน์ ฐานะกาญจน. 2556. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อปุ๋ยเคมีของผู้บริโภคในประเทศเวียดนาม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal 6(3): 305-320.

สนธยา สำเภาทอง. 2562. การศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมีและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของครัวเรือนชาวนา ในเขตภาคตะวันตกของประเทศไทย. แก่นเกษตร 47(2): 307-316.

สาริศา ทิตยวงษ์ และจันทนา แสนสุข. 2558. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรจากร้านค้าเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดสุพรรณบุร. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้ 8(2): 63-70.

องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแก้ว. 2557. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ. 2558-2562). แหล่งข้อมูล www.borkaew.go.th/แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา-อ/ (2 พฤษภาคม 2563).

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper and Row Publication.