ความงอก และการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ หลังผ่านการทำไพรม์มิ่งด้วย KNO3 และ KH2PO4

Main Article Content

จักรพงษ์ กางโสภา
วัลลิภา วิทยาพงษ์
เพชรรัตน์ จี้เพชร
สุรีมาศ จันต๊ะอินทร์

บทคัดย่อ

     ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่ดี จึงนิยมใช้รับประทาน เพื่อเสริมสร้างสุขภาพ อย่างไรก็ตาม เมล็ดพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ยังคงมีปัญหาเรื่องการเสื่อมสภาพของเมล็ด พันธุ์ข้าวเมื่อเก็บรักษาในระยะยาว ทำให้คุณภาพของเมล็ดมีอัตราการงอกลดลง และส่งผลเสียหายต่อ คุณภาพและผลผลิตของข้าวไรซ์เบอร์รี่ ทำให้การยกระดับคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ด้วยวิธีการทำไพรม์มิ่ง ก่อนการเก็บรักษาอาจมีความจำเป็นเพื่อรักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์ให้ยาวนานมากขึ้น ดำเนินการทดลอง ที่ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ สาขาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี ผลการทดลองดังนี้ การไพรม์เมล็ดทุกวิธีการไม่ทำให้ลักษณะของต้นกล้าผิดปกติมีความแตกต่างกันกับ เมล็ดที่ไม่ได้ผ่านการไพรม์ แต่การไพรม์เมล็ดด้วย KNO3 อัตรา 1.0% ทำให้มีจำนวนเมล็ดตายน้อยมากกว่าและแตกต่างกับเมล็ดที่ไม่ได้ผ่านการไพรม์ ส่วนการไพรม์เมล็ดด้วย KH2PO4 อัตรา 0.1% ทำให้เมล็ดมีความเร็วในการงอกราก ความงอก และความเร็วในการงอกดีมากกว่าและแตกต่างในทางสถิติเมื่อ เปรียบเทียบกับเมล็ดที่ไม่ได้ผ่านการไพรม์ และการไพรม์เมล็ดด้วย KNO3 อัตรา 1.0% และ KH2PO4 อัตรา 2.0% ทำให้ต้นกล้ามีความยาวต้น ความยาวราก และผลรวมต้นกล้าดีและแตกต่างในทางสถิติเมื่อ เปรียบเทียบกับเมล็ดที่ไม่ได้ผ่านการไพรม์ เมื่อตรวจสอบในสภาพห้องปฏิบัติการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โครงการข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์. 2558. พันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่. แหล่งข้อมูล https://bit.ly/2yhGdqJ. (12 มิถุนายน 2558).

จักรพงษ์ กางโสภา ธิดารัตน์ ศิริบูรณ์ เบญจมัย เหมืองทอง เพชรรัตน์ จี้เพชร และบัณฑิต ต๊ะเสาร์. 2563. การเปลี่ยนแปลงความงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดหวานลูกผสมหลังการทำ Osmopriming ด้วย โพแทสเซียมไนเตรท. วารสารแก่นเกษตร 48(พิเศษ 1): 437-444.

บุญมี ศิริ. 2558. การปรับปรุงสภาพและการยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์. คลังนานาวิทยา, ขอนแก่น.

ปิยะดา ธีรกุลพิศุทธิ์. 2540. ธาตุอาหารพืช. สรีรวิทยาของพืช. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

พรทิพย์ ถาวงค์ รอยบุญ จำรัสกาญจน์ สุวัฒน์ สายมายา และอดุลย์ อินทรประเสริฐ. 2553. ผลของ seed priming ต่อการยืดอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าว. รายงานการประชุมวิชาการเมล็ดพันธุ์พืชแห่งชาติ ครั้งที่ 7, 18-20 พฤษภาคม. โรงแรมท็อปแลนด์, พิษณุโลก.

วันชัย จันทรป์ ระเสริฐ. 2553. สรีรวิทยาเมล็ดพันธุ. คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สุมนทิพย์ บุนนาค. 2542. ธาตุอาหารพืชและการลำเลียง. สรีรวิทยาเบื้องต้นของพืช. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

Amjad, M., K. Ziaf, Q. Lqbal, I. Ahmad, M.A. Riaz and Z.A. Saqib. 2007. Effect of seed priming on seed vigour and salt tolerance in hot pepper. Pak. J. Agr. Sci. 44(3): 408-416.

Hilton, T.R. and J.A. Thomas. 1986. Regulation of pregerminative rates of respiration in seeds of various seed species by potassium nitrate. J. Exp. Bot. 37: 1516-1524

International Rice Research Institute (IRRI). 2013. Seed quality. Available: https://bit.ly/2JohYJC (December 10, 2017.).

International Seed Testing Association (ISTA). 2019. International rules for seed testing, Edition 2019. International Seed Testing Association, Bassersdorf.

Karanam, P.V. and V. Vabez. 2010. Phosphorus coating on pearl millet seed in low P Alfisol improves plant establishment and increases stover more than seed yield. Exp. Agric. 46(4): 457-469.

Marschner, H. 1995. Miniral nutrition of higher plant. 2nd Edition. Institute of plant nutrition, University of ohenheim, Germany.

McCauley, A., C. Jones and J. Jacobsen. 2009. Plant nutrient functions and deficiency and toxicity symptoms. Nutrient Management Module No. 9. Montana State University, Bozeman MT.

McDonald, M.B. 2000. Seed priming. pp. 287-325. In: Black, M. and J.D. Bewley. (Eds). Seed technology and its biological basis. Sheffield Academic Press, Sheffield, England.

Niu, Y.F., R.S. Chai, G.L. Jin, H. Wang, C.X. Tang and Y.S. Zhang. 2013. Responses of root architecture development to low phosphorus availability: a review. Ann. Bot. 112(2): 391-408.

Smith, S.E. and D.J. Read. 1997. Mycorrhizal Symbiosis. Academic Press, San Diego, CA.

Taylor, A.G., P.S. Allen, M.A. Bennett, K.J. Bradford, J.S. Burris and M.K. Misra. 1998. Seed enhancements. Seed Sci. Res. 8: 245-256.

Thavarajah, D., P. Thavarajah, C.T. See and A. Vandenberg. 2010. Phytic acid and Fe and Zn concentration in lentil (Lens culinaris L.) seeds is influenced by temperature during seed filling period. Food Chemistry 122(1): 254-259.

Uchida, R. 2000. Essential nutrients for plant growth: nutrient functions and deficiency symptoms. pp. 31-55. In: J.A. Silva, and R. Uchida (Eds.). Plant nutrient management in hawaii’s soils. approaches for tropical and subtropical agriculture college of tropical agriculture and Hhuman resources, University of Hawaii, Manoa.

Wang, W., A. He, S. Peng, J. Huang, K. Cui and L. Nie. 2018. The effect of storage condition and duration on the deterioration of primed rice seeds. Front. Plant Sci. 9: Article 172. https://doi.org/10.3389/fpls.2018.00172.