ผลของวัสดุปลูกต่อลักษณะทางสรีรวิทยาและการเจริญเติบโต ของกล้าปาล์มนํ้ามันระยะอนุบาลแรก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การผลิตกล้าปาล์มนํ้ามันที่มีคุณภาพเป็นส่วนสำคัญของการปลูกสร้างสวนปาล์มให้ประสบผลสำเร็จ โดยเฉพาะกล้าปาล์มนํ้ามันในระยะอนุบาลแรกมีความสำคัญอย่างมากซึ่งวัสดุเพาะที่มีคุณภาพนั้นส่งผล ให้ต้นกล้าเจริญเติบโตได้ดี การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวัสดุเพาะที่เหมาะสมสำหรับการเจริญ เติบโตของกล้าปาล์มนํ้ามันในระยะอนุบาลแรก ทดลองที่คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ ระหว่างเดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม 2562 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ใช้เมล็ดงอก ปาล์มนํ้ามันพันธุ์ทรัพย์ ม.อ.1 เป็นพันธุ์ทดสอบ ใช้วัสดุเพาะจำนวน 15 สิ่งทดลอง ได้แก่ พีทมอส มูลไส้เดือน ขุยมะพร้าว หน้าดิน ดอกตัวผู้ปาล์มนํ้ามัน พีทมอสผสมมูลไส้เดือน พีทมอสผสมขุยมะพร้าว พีทมอสผสมหน้าดิน พีทมอสผสมดอกตัวผู้ปาล์มนํ้ามัน มูลไส้เดือนผสมขุยมะพร้าว มูลไส้เดือนผสม หน้าดิน มูลไส้เดือนผสมดอกตัวผู้ปาล์มนํ้ามัน ขุยมะพร้าวผสมหน้าดิน ขุยมะพร้าวผสมดอกตัวผู้ ปาลม์ น้ำมัน และ หน้าดินผสมดอกตัวผู้ปาล์มน้ำมัน พบว่าวัสดุเพาะที่ต่างกันมีความแตกต่างกันทางสถิติ และวัสดุเพาะที่มีช่อดอกตัวผู้ปาล์มนํ้ามันผสมมีส่วนทำให้ต้นกล้าเจริญเติบโตได้ดีกว่าวัสดุผสมอื่น นอกจากนี้ยังพบว่าในวัสดุที่มีส่วนผสมของดอกตัวผู้ปาล์มนํ้ามันแสดงค่าพื้นที่ใบและค่าความเขียวใบ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปาล์มนํ้ามันมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงดีขึ้น อีกทั้งวัสดุเพาะดอกตัวผู้ปาล์มนํ้ามัน เพียงอย่างเดียวก็แสดงค่าลักษณะต่าง ๆ สูงกว่าการใชวั้สดุอื่นเพียงอย่างเดียว ดังนั้นวัสดุเพาะที่มีดอกตัวผู้ ปาล์มนํ้ามันผสมอยู่ทำให้กล้าปาล์มนํ้ามันในระยะอนุบาลแรกเจริญเติบโตได้ดี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Boatman, S. G. and M. Crombie. 1958. Fat Metabolism in the West African Oil Palm (Elaeis guineensis). Journal of Experimental Botany. 9: 52-74.
Corley, R. H. V. and P. B. Tinker. 2003. The Oil Palm. Oxford: Blackwell Publishing Company.
Ekhator, F., O. A. Ogundipe, B. Gansah. and C. E. Ikuenobe. 2018. Response of oil palm nursery seedlings to soil amended with oil palm mesocarp fibre. International Journal of Agronomy and Agricultural Research. 4: 7-14.
Hardon, J. J. 1976. Oil palm breeding introduction. pp. 89-108. In: R. H. V. Corley, J. J. Hardon. and B. J. Wood (eds.). Oil Palm Research. Amsterdam: Elsevier.
Limraksasin, J. 2012. The Development of Seedling Media from Coco-coir Dust of Young Coconut. Special Problem, Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus.
Mutert, E. 1999. Suitability of Soils for Oil Palm in Southeast Asia. Better Crops International. 13(1): 36-38.
Office of Agricultural Economics. 2018. The Farmers’ Agenda for farmers on “FTA Funds to prepare 100 million Baht to help palm plantation improve competitiveness”. Bangkok: Office of Agricultural Economics Research, Office of Agricultural Economics, Ministry of Agriculture and Cooperatives.
Purnomo, H. 2007. Volatile Components of Coconut Fresh Sap, Sap Syrup and Coconut Sugar. ASEAN Food Journal 14(1): 45-49.
Rosenani, A. B., R. Rovica, P. M. Cheah and C. T. Lim. 2016. Growth Performance and Nutrient Uptake of Oil Palm Seedling in Prenursery Stage as Influenced by Oil Palm Waste Compost in Growing Media. International Journal of Agronomy: 1-8.
Sanputawong, S., K. Chansathean, N. Peakchantuk. and C. Chuiruy. 2017. Study of Proper Fertilizer Management on Growth and Yield of Oil Palm (Eleais guineensis Jacq.). International Journal of Agricultural Technology. 13(7.3): 2631-2639.
Upayak, W. 2001. Study of Abnormal Symptoms in Plants Caused by Nutritional Deficiency. Special Problem, Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus.
Yahya, Z., A. Husin, J. Talib, J. Othman, O. H. Ahmed. and M. B. Jalloh. 2010. Oil Palm (Elaeis guineensis) Roots Response to Mechanization in Bernam Series Soil. American Journal of Applied Sciences. 7(3): 343-348.