การประเมินศักยภาพของปาล์มนํ้ามันพันธุ์ทรัพย์ ม.อ.1 อายุ 5 ปี ในพื้นที่นาร้าง : กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา

Main Article Content

ณัฐพล จันทร์สว่าง
ธีระ เอกสมทราเมษฐ์
ประมวล หน่อสกูล
ชมพูนุท บัวเผื่อน
ธีรภาพ แก้วประดับ
ประกิจ ทองคำ
รุ่งรัตน์ แซ่หยาง
ธนนต์ รุ่งนิลรัตน์

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพของปาล์มนํ้ามันพันธุ์ทรัพย์ ม.อ. 1 อายุ 5 ปี ในพื้นที่นาร้าง จังหวัดสงขลา (กรณีศึกษา) โดยปลูกทดสอบจำนวน 8 แปลง ที่ตำบลปากรอ อำเภอสิงหนครจังหวัดสงขลา วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) จำนวน 4 ซํ้า ซํ้าละ 3 ต้น/ทรีทเมนต์(แปลง) บันทึกการเจริญเติบโตทุก 6 เดือน จำนวน 2 ครั้ง และเก็บผลผลิตทะลายทั้งหมด ทำการทดสอบ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2556 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2557 พบว่า ปริมาณนํ้าฝนและจำนวนวันฝนตกมีค่า เหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐานต่อการเจริญเติบโตของปาล์มนํ้ามัน ส่วนข้อมูลสมบัติดิน พบว่า ทุกแปลง มีค่า pH อยู่ในระดับที่ค่อนข้างเหมาะสมระหว่าง 5.47-5.93 ยกเว้นแปลงที่ 1, 5 และ 6 มีค่า pH ตํ่า (ดินเป็นกรด) ส่วนลักษณะการเจริญเติบโตทางลำต้น พบว่า แปลงที่ 2, 3, 4, 7 และ 8 มีค่าลักษณะการ เจริญเติบโตทางลำต้นที่ดี และลักษณะผลผลิตทะลาย องค์ประกอบผลผลิต และผลผลิตนํ้ามัน พบว่า แปลงที่ 4, 7 และ 8 มีลักษณะที่ดีกว่าแปลงอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่าปาล์มนํ้ามันพันธุ์ทรัพย์ ม.อ. 1 ที่ปลูก ในแปลง 4, 7 และ 8 มีศักยภาพในการเจริญเติบโตและปรับตัวเข้ากับดินในพื้นที่นาร้างได้ดีกว่าแปลงอื่น จึงสามารถใช้เป็นแปลงในการแนะนำส่งเสริมให้เกษตรที่มีพื้นที่แปลงในสภาพเดียวกันปลูกปาล์มนํ้ามัน ต่อไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2556. เร่งแก้ปัญหานาร้างชายแดนใต้ ดึงศักยภาพ 5 จังหวัดด้านเกษตร.แหล่งข้อมูล https://mgronline.com/daily/detail/9560000102907. (6 กันยายน 2563).

กรมพัฒนาที่ดิน. 2562. พลิกผืนนาร้าง สงขลาฟื่นฟูปลูกข้าว-ปาล์ม ช่วยเกษตรกรใต้. แหล่งข้อมูล https://www.thairath.co.th/news/local/south/1538708. (6 กันยายน 2563).

กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน. 2563. ข้อมูลการจัดการดิน. แหล่งข้อมูล. http://www.ldd.go.th/Web_Soil/acid.htm. (9 มีนาคม 2563).

กิตติศักดิ์ ฉันทวุฒิพร. 2549. เสถียรภาพผลผลิตของคะน้า 10 สายพันธุ์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต เทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.

ชูศักดิ์ จอมพุก. 2551. การวางแผนการทดลองและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านพืชไร่ด้วยโปรแกรม R. โรงพิมพ์ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ณัฐพงศ์ สงฤทธิ์. 2557. อัตราพันธุกรรมและสหสัมพันธ์ของลักษณะการเจริญเติบโตทางลำต้นและองค์ประกอบผลผลิตในปาล์มนํ้ามันลูกผสมเทเนอรา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์, คณะทรัพยากรธรรมชาติ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธนนต์ รุ่งนิลรัตน์ และธีระ เอกสมทราเมษฐ์. 2558. การทดสอบชั่วรุน่ ลูกของปาลม์ น้ำมันในจังหวัดสงขลา. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 2(4): 6-10.

ธีระ เอกสมทราเมษฐ์ และธีระพงศ์ จันทรนิยม. 2558. คู่มือปาล์มนํ้ามัน. หาดใหญ่ ดิจิตอล พริ้นท์, สงขลา.

ธีระ เอกสมทราเมษฐ์. 2554. การปรับปรุงพันธุ์ปาล์มนํ้ามัน. โอ เอส พริ้นติ้ง เฮาส์, กรุงเทพฯ.

ไพศาล เหล่าสุวรรณ อารี วัญญวัฒก์ และปิยะดา ทิพยพ่อง. 2547. หลักการปรับปรุงพันธุ์พืช. สำนักวิชาสาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. 2555. ธุรกิจปาล์มนํ้ามันหลังก้าวเข้าสู่ AEC. แหล่งข้อมูล. https://jitpisutsukyoy55.wordpress.com. (22 กุมภาพันธ์ 2563).

สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12. 2559. พลิกฟื้นนาร้างเป็นสวนปาล์มนํ้ามันและนาข้าว. แหล่งข้อมูล http://ofs101.ldd.go.th/LDDOFS/ofsnewspaper/09/2559/0925590027.pdf. (6 กันยายน 2563).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2559. พืชนํ้ามันปาล์มนํ้ามัน. น. 34-39. ใน เปรมชัย เกตุสำเภาและทรงกลด ชนะกาย (บ.ก.). สถิติการเกษตรของประเทศไทย. โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

Corley, R. H. V. and P. B. Tinker. 2003. The Oil Palm. Blackwell Science Ltd, Oxford.

Corley, R. H. V., J.J. Hardon and G.Y. Tan. 1971. Analysis of growth the oil palm (Elaeis guineensis Jacq.). I. Estimation of growth parameter and application in breeding. Euphytica 20: 307-315.

Hardon, J. J. 1976. Oil palm breeding introduction. pp. 89-108. In: R.H.V. Corley, J. J. Hardon and B. J. Wood (eds.). Oil Palm Research, Elsevier, Amsterdam.

Henson, I.E. 1993. Assessing frond dry matter production and leaf area development in young oil palm. Proceedings of the 1991 PORIM International Palm Oil Conference – Module 1 (Agriclture). PORIM, Bangi, Malaysia. pp. 473-478.

Jacquemard, J. C. 1979. Contribution to the study of the height growth of the stems of (Elaeis guineensis Jacq.). study of the L2T x D10D cross. Journal Article. 34: 492-497.

Kushairi, A. and N. Rajanaidu. 2000. Breeding population seed production and nursery management. pp. 171-224. In: B. Yusof, B. S. Jalani and K. W. Chan, (eds.). Advances in Oil palm Research, SMART Print & Stationer. Selangor.

Okoye, M. N., C. O. Okwuagwu. and M. I. Uguru. 2009. Population improvement for fresh fruit bunch yield and yield components in oil palm (Elaeis guineensis Jacq.). AEJSR. 4: 59-63.