ปริมาณสารประกอบฟีนอลิก สารฟลาโวนอยด์ และคุณสมบัติ ของสารต้านอนุมูลอิสระ ของชาเชียงดา จากกระบวนการผลิต ที่แตกต่างกัน

Main Article Content

นรินทร์ ท้าวแก่นจันทร์
กอบลาภ อารีศรีสม
ภาวิณี อารีศรีสม
วิกานดา ใหม่เฟย
ศักดิ์ชัย เสถียรพีระกุล

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลของความแตกต่างของกระบวนการแปรรูปชาเชียงดา ต่อปริมาณ สารประกอบฟีนอลิก สารฟลาโวนอยด์ และคุณสมบัติของสารต้านอนุมูลอิสระ โดยได้มีการแปรรูปชา ที่แตกต่างกัน 3 วิธี (วิธีที่ 1 ลวกในนํ้าเกลือเข้มข้นร้อยละ 0.5 แล้วนำไปคั่ว หลังจากนั้นนำไปอบแห้ง ในเตาอบลมร้อน วิธีที่ 2 ลวกในนํ้าเกลือเข้มข้นร้อยละ 0.5 แล้วนำไปอบแห้งในเตาอบลมร้อน และ วิธีที่ 3 อบแห้งในเตาอบลมร้อน)
     ผลการทดลองพบว่า วิธีการแปรรูปชาที่แตกต่างกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิก และสารฟลาโวนอยด์ ในขณะที่คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี ดีพีพีเอชมีความแตกต่างกันทางสถิติ (P < 0.05) โดยค่าความสามารถในการยับยั้งที่ระดับการยับยั้ง ร้อยละ 50 มีค่าสูงที่สุด เท่ากับ 1.78 และ 1.71 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ในชาเชียงดาที่ผ่านกระบวนการ แปรรูปด้วยกรรมวิธีที่ 1 และ 3 ตามลำดับ จากผลการวิจัยในครั้งนี้การแปรรูปชาเชียงดา ควรแปรรูปด้วย กระบวนการอบแห้งด้วยตู้อบลมร้อน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิราภัทร โอทอง จิราภรณ์ ทองตัน และทัศนีย์ ลิ้มสุวรรณ. 2558. การพัฒนาชาสมุนไพรย่านางและสมบัติด้านเคมีกายภาพ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระและสารประกอบฟินอลิกทั้งหมด. รายงานการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 53, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3-6 กุมภาพันธ์ 2558 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. น. 1154-1151.

ธีรวัลย์ ชาญฤทธิเสน พิทักษ์ พุทธวรชัย นภา ขันสุภา ปริญญาวดี ศรีตนทิพย์ วิรัติ อำพันธ์ และพยุงศักดิ์ มะโนชัย. 2554. การพัฒนาคุณภาพผักเชียงดา เพื่อการผลิตในระดับอุตสาหกรรม. รายงานการวิจัย, สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

ปริญญาวดี ศรีตนทิพย์ นภา ขันสุภา พิทักษ์ พุทธวรชัย และภัทราภรณ์ ศรีสมรรถการ. 2562. ผักเชียงดา ราชินีผักล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

วัฒนา วิริวุฒิกร. 2562. ผลของสารให้ความหวานต่อการผลิตชาสมุนไพรตะไคร้หอมผสมใบเตย. แก่นเกษตร. 47(ฉบับพิเศษ 1): 1379-1384.

สถาบันชาและกาแฟ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. 2563. กระบวนการผลิตชา. แหล่งข้อมูล https://teacoffee.mfu.ac.th/tc-teacoffeeknowledge/tc-tea/tc-teapro
ductionprocess.html (18 พฤศจิกายน 2563)

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 2549. แนวทางการพิจารณาอาหารประเภท ชาสมุนไพร. แหล่งข้อมูล http://food.fda.moph.go.th/Rules/dataRules/3-HerbalTea.pdf. (6 ตุลาคม 2563)

อนงค์ ศรีโสภา และกาญจนา วงศ์กระจ่าง. 2563. การพัฒนาสูตรชาสมุนไพรใบหม่อนผสมสมุนไพรให้กลิ่นหอมที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านเอนไซม์กลูโคซิเดส. Thai Journal of Science and Technology 9(2): 219-229.

อาริษา โสภาจารย์ สุห์ดีนิเซ็ง ธีรยุทธ โทยาน และ ธีรภัทร ฤทธิผลิน. 2563. การศึกษาการอบใบชาสมุนไพรด้วยความร้อนจากฮีตเตอร์อินฟราเรดโดยใช้ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์. วารสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 12(1): 171-179.

อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ. 2553. ผักเชียงดา. แหล่งข้อมูล https://pharmacy.mahidol.ac.th/siri/index.php?page=search_detail&medicinal_id=503 (6 ตุลาคม 2563)

Alok, S., S. K. Jain, A. Verma, M. Kumar, A. Mahor and M. Sabharwal. 2014. Herbal antioxidant in clinical practice: A review. Asian Pacific Journal of Tropical Biomedicine. 4(1): 78-84.

Chang, C. H., H. Y. Lin, C. Y. Chang and Y. C. Liua. 2006. Comparisons on the antioxidant properties of fresh, freezedried and hot-air-dried tomatoes. Journal of Food Engineering. 77: 478.485.

Prommajak, T., S. Surawang and N. Rattanapanone. 2014. Ultrasonicassisted extraction of phenolic and antioxidative compounds from lizard tail (Houttuynia cordata Thunb.). Songklanakarin Journal of Science and Technology. 36(1): 65-72.

Rabeta, M. S. and M. Vithyia. 2013. Effect of different drying methods on the antioxidant properties of Vitex negundo Linn. tea. International Food Research Journal. 20(6): 3171-3176.

Sarker, U., S. Oba and M. A. Daramy. 2020. Nutrients, minerals, antioxidant pigments and phytochemicals, and antioxidant capacity of the leaves of stem amaranth. Scientific Reports. 10(3892): 1-9.

Singh, R. P., K. N. Chidambara and G. K. Jayaprakasha. 2002. Studies on the activity of pomegranate (Punica granatum) peel and seed extracts using in vitro models. Journal of Agricultural and Food Chemistry. 50(1): 81-86.

Srinuanchai, W., R. Nooin, S. Jarussophon, K. Kasemwong and O. Nuchuchua. 2019. Determination of gymnemic acid level in Gymnema inodorum leaves using multiple reaction monitoring mass spectrometry. Journal of Chemical Metrology. 13(2): 75-79.

Stoecklin, W. 1969. Chemistry and physiological properties of gymnemic acid, the antisaccharine principle of the leaves of Gymnema sylvestre. Journal of Agricultural and Food Chemistry. 17(4): 704-708.

Ueda, Y., N. Apiphuwasukcharoen, S. Tsutsumi, Y. Matsuda, V. Areekul and S. Yasuda. 2019. Optimization of hotwater extraction of dried yacon herbal tea leaves: enhanced antioxidant activities and total phenolic content by response surface methodology. Food Science and Technology Research. 25(1): 131.139.