การตรวจสอบเบื้องต้นลักษณะทางกายภาพของข้าวโพดปลูกในดิน ที่ประกอบด้วยกากกาแฟเหลือทิ้ง

Main Article Content

ปัทมา หาญนอก
ภารดี ธรรมาภิชัย
กฤษฎา สารหงส์

บทคัดย่อ

     การนำกากกาแฟเหลือทิ้งกลับมาใช้ใหม่ สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือทิ้งได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ด้วยคุณสมบัติของกากกาแฟที่ดี คือ มีลักษณะผงรว่ น มีความสามารถในการอุม้ น้ำไดดี้ และมีธาตุไนโตรเจนคงเหลืออยู่ประมาณ 2% ของนํ้าหนักกากกาแฟ กากกาแฟจึงอาจมีศักยภาพในการปรับปรุงคุณภาพของดินและใช้เป็นปุ๋ยบำรุงพืชปลูกได้ อย่างไรก็ตาม ในกากกาแฟยังมีสารประกอบที่ตกค้างหลายชนิดในสัดส่วนที่แตกต่างกันไป ซึ่งสารบางชนิดมีความเป็นพิษต่อพืชปลูกและจุลินทรีย์บางชนิด ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ ในการตรวจสอบผลกระทบเบื้องต้นที่มีต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบ ผลผลิตของขา้ วโพดเมื่อผสมกากกาแฟเหลือทิ้งในดินปลูก การทดลองนี้ใช้แผนการทดสอบแบบสุ่มบล็อค สมบูรณ์ จำนวน 2 บล็อก ประกอบด้วย 5 สิ่งทดสอบได้แก่ ดินเปล่า ดินที่ผสมด้วยปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจาก มูลค้างคาว ดินที่ผสมด้วยกากกาแฟที่อัตราส่วน 1:1, 2:1 และ 3:1 โดยวัสดุปลูกที่มีกากกาแฟผสมอยู่ได้ ผ่านการหมักนาน 45 วันก่อนนำมาทดสอบ ตลอดการทดลองทำการบันทึกข้อมูลทั้งหมด 6 ลักษณะ ได้แก่ ความสูงของต้น พื้นที่ใบ คะแนนความเข้มของสีใบ นํ้าหนักฝักสดก่อนปอกเปลือก นํ้าหนักฝักสดหลังปอกเปลือกและความยาวฝักอ่อน ผลการทดสอบพบว่า ข้าวโพดที่ปลูกในดินผสมกากกาแฟที่อัตราส่วน 1:1 มีอัตราการเจริญเติบโตที่ตํ่ากว่าข้าวโพดในวัสดุปลูกอื่น ๆ นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนและ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยยังพบอีกว่า วัสดุปลูกมีผลต่อลักษณะพื้นที่ใบ คะแนนความเข้มของสีใบ นํ้าหนัก ฝักสดก่อนปอกเปลือกเท่านั้น โดยข้าวโพดที่ปลูกในดินที่ผสมด้วยปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากมูลค้างคาว ให้ค่าเฉลี่ยของลักษณะดังกล่าวสูงที่สุด (P<0.05) การทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่า กากกาแฟแม้จะผ่านการหมัก มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ผลเชิงบวกในแง่ของการส่งเสริมการเจริญเติบโตทางลำต้นของข้าวโพดหวาน ยังไม่ปรากฎอย่างเด่นชัด ซึ่งอาจเป็นผลจากสารประกอบที่มีความเป็นพิษต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพด ดังนั้น การศึกษาการจัดการกากกาแฟเพื่อให้สารพิษที่ตกค้างอยู่เกิดการสลายตัวอาจจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคเกษตรกรรมในแง่ของการนำกากกาแฟเหลือทิ้งมาใช้ประโยชน์อีกครั้ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. 2550. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวโพดฝักอ่อน. สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.

Campos-Vega, R., G. Loarca-Pina, H.A. Vergara-Castaneda and B.D. Oomah. 2015. Spent coffee grounds: A Review on current research and future prospects. Trends in Food Science & Technology 45: 24-36.

Carrasco-Cabrera, C.P., T.L. Bell and M.A. Kertesz. 2019. Caffeine metabolism during cultivation of oyster mushroom (Pleurotus ostreatus) with spent coffee grounds. Applied Microbial and Cell Physiology 103: 5831-5841.

Cruz, M.V., A. Paiva, P. Lisbao, F. Freitas, V.D. Alves, P. Simoes, et al. 2014. Production of polyhydroxyalkanoates from spent coffee grounds oil obtained by supercritical fluid extraction technology. Bioresource Technology 157: 360-363.

Cruz, R., M.M. Cardoso, L. Fernandez, M. Oliveira, E. Mendes, P. Baptista, et al. 2012. Espresso coffee residues: A valuable source of unextracted compounds. Journal of Agricultural and Food Chemistry 60(32): 7777-7784.

Janissen, B. and T. Huynh. 2018. Chemical composition and value-adding applications of coffee industry byproducts: A review. Resources, Conservation & Recycling 128: 110-117.

Kaiser, C. and M. Ernst. 2017. Baby Corn. CCD-CP-85. Lexington, KY: Center for Crop Diversification, University of Kentucky College of Agriculture, Food and Environment. Available: http://www.uky.edu/ccd/sites/www.uky.edu.ccd/files/ babycorn.pdf

Mohanpuria, P. and S.K. Yadav. 2009. Retardation in seedling growth and induction of early senescence in plants upon caffeine exposure is related to its negative effect on Rubisco. Photosynthetica 47(2): 293-297.

Montgomery, E. G. 1911. Correlation studies in corn. Nebraska Agr. Exp. Sta. Annu. Rep. 24:108-159.

Morikawa, C.A. and M. Saigusa. 2011. Recycling coffee grounds and tea leaf wastes to imporove the yield and mineral content of grains of paddy rice. J Sci food Agric. 91: 2108-2111.

Reigosa, M.J. and E. Pasoz-malvido. 2007. Phytotoxic effects of 21 plant secondary metabolites on Arabidopsis thaliana germination and root growth. J. Chem. Ecol. 33(7): 1456-1466.

Ronga, D., M. Parisi, L. Barbieri, I. Lancellotti, F. Andreola and C. Bignami. 2020. Valorozation of spent coffee grounds, biochar and other residues to produce lightweight clay ceramic aggregates suitable for nursery grapevine production. Acta Horticulturae 6(4): 1-13.