ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการรับการส่งเสริมปลูกผักในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วราภรณ์ สมป้อ
พุฒิสรรค์ เครือคำ
ปิยะ พละปัญญา
ปภพ จี้รัตน์

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความต้องการรับการส่งเสริมปลูกผักในระบบเกษตรดี ที่เหมาะสมของเกษตรกร และ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการรับการส่งเสริมการปลูกผัก ในระบบการเพาะปลูกที่ดีของเกษตรกร โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรผู้ปลูกผักในพื้นที่ศูนย์พัฒนา โครงการหลวงม่อนเงาะ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 112 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์พหุถดถอย
     ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีความต้องการรับการส่งเสริมปลูกผักในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.42) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยความต้องการรับการส่งเสริมมากสุด คือ ด้านการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร (ค่าเฉลี่ย 3.51) รองลงมา ได้แก่ ด้านการขนย้ายผลผลิตภายใน แปลง (ค่าเฉลี่ย 3.48) ด้านกระบวนการจัดการก่อนการเก็บเกี่ยว (ค่าเฉลี่ย 3.42) ด้านพื้นที่ปลูก (ค่าเฉลี่ย 3.40) ด้านแหล่งนํ้าและด้านการบันทึกข้อมูลและสอบทวนย้อนกลับมีค่าเฉลี่ยเท่ากันที่ 3.40 และด้านที่ ค่าเฉลี่ยความต้องการน้อยสุด คือ ด้านการเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว กับด้านสุขลักษณะ ส่วนบุคคลมีค่าเฉลี่ยเท่ากันที่ 3.35 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการรับการส่งเสริมปลูกผัก ในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ เพศ (หญิง) (P = 0.034) และ การเข้าร่วมฝึกอบรมและศึกษาดูงานด้านการเกษตร (P = 0.034)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. 2561. การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

มูลนิธิโครงการหลวง และสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 2561. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี Good Agricultural Practice (GAP). งานพัฒนาและส่งเสริมผักมูลนิธิโครงการหลวง และสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). เชียงใหม่.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. 2553. สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. สุวีริยาสาส์น.กรุงเทพฯ.

ศันสนีย์ นายอง และรุจ ศิริศัญลักษณ์. 2555. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเป็นอยู่ที่ดีของแม่บ้านเกษตรกรและครอบครัวตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 28(2): 193-203.

สรธน ธิติสุทธิ และพุฒิสรรค์ เครือคำ. 2562. ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการรับการส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์ของเกษตรกรในตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 36(3): 86-95.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2561. คู่มือการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร. กองส่งเสริมมาตรฐานสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. กรุงเทพฯ.

สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ สมชัย อนุสนธิ์พรเพิ่ม ศุภิฌา ธนะจิตต์ และธานี ศรีวงศ์ชัย. 2560. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านเพศ อายุและการศึกษาของเกษตรกรต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารแก่นเกษตร 45(2): 341-350.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2556. การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. พิมพ์ครั้งที่ 6. สามลดา. กรุงเทพฯ.

สุภาสิณี นุ่มเนียม. 2558. แนวทางส่งเสริมความรู้แบบมีส่วนร่วมเรื่องการลดการใช้สารเคมีการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ตามหลักการเกษตรพอเพียงแก่เกษตรกร ตำบลหน้าโคกอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ 8(1): 1212-1230.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. New york: Harper and Row Publication.