ผลของช่วงเวลาการกำจัดวัชพืชต่อชนิดของวัชพืชเด่นและการเจริญเติบโตของข้าวพันธุ์สันป่าตอง 1 ภายใต้การเพาะปลูกแบบนาดำ

Main Article Content

เจนจิรา หม่องอ้น
นริศ เนตรถาวร

บทคัดย่อ

     วัชพืชเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการสูญเสียผลผลิตในการผลิตข้าว ความเข้าใจในชนิดและความ เฉพาะเจาะจงในการปรากฏของวัชพืชทำให้สามารถปรับปรุงช่วงเวลาการกำจัดวัชพืชให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการกำจัดวัชพืชแบบบูรณาการ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลของช่วงเวลาที่แตกต่างกันในการกำจัดวัชพืชต่อชนิดของวัชพืชและชนิดของวัชพืชเด่น และเพื่อประเมินผลกระทบของช่วงเวลาการกำจัดวัชพืชต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าว วางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 4 ซํ้า ทำการปักดำกล้าข้าวพันธุ์สันป่าตอง 1 ในแปลง ที่ประกอบด้วย 4 กรรมวิธีคือ T1 ปราศจากวัชพืช T2 กำจัดวัชพืชก่อนระยะแตกกอสูงสุด (maximum tillering, MT) T3 กำจัดวัชพืชหลังระยะแตกกอสูงสุด และ T4 ไม่กำจัดวัชพืช เมื่อข้าวถึงระยะสุกแก่ ทำการเก็บข้อมูลวัชพืชโดยบันทึกชนิด ความหนาแน่น และนํ้าหนักแห้งของวัชพืช และคำนวณสัดส่วน ความเด่นรวม (summed dominance ratio: SDR) ของวัชพืชแต่ละชนิด จากนั้นบันทึกการเจริญเติบโต และองค์ประกอบผลผลิตข้าว ผลการทดลองพบว่า T2 มีจำนวนชนิดของวัชพืชมากที่สุด ได้แก่ ผักบุ้ง (Ipomoea aquatica Forsk.) ตาลปัตรฤาษี (Limnocharis flava Buch.) แพงพวยนํ้า (Ludwigia adscendens (L.) Hara.) และหญ้าชันกาด (Panicum repens Linn.) ส่วน T3 และ T4 มีผักบุ้ง ชนิดเดียวที่ขึ้นปกคลุมพื้นที่ และ T4 มีความหนาแน่นของวัชพืชมากที่สุด วัชพืชเด่นที่ขึ้นแข่งขันกับ ข้าวนาดำคือผักบุ้งและตาลปัตรฤาษี ซึ่งเป็นวัชพืชนํ้าที่มีความทนทานต่อนํ้าท่วมขัง การแข่งขันของ ข้าวกับวัชพืชในแต่ละระยะการเจริญเติบโตส่งผลให้ข้าวมีการเจริญเติบโตและผลผลิตลดลงโดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อไม่มีการกำจัดวัชพืช การแข่งขันกับวัชพืชก่อนหรือหลังระยะแตกกอสูงสุดไม่ทำให้ข้าว มีความสูง นํ้าหนักแห้ง จำนวนเมล็ดดี จำนวนเมล็ดลีบ และนํ้าหนัก 1,000 เมล็ดแตกต่างกัน แต่การแข่งขันกับวัชพืชก่อนระยะแตกกอสูงสุดส่งผลให้ข้าวมีจำนวนหน่อและนํ้าหนักผลผลิตลดลงมากกว่า การแข่งขันกับวัชพืชหลังระยะแตกกอสูงสุด แสดงให้เห็นว่าระยะการเจริญเติบโตของข้าวที่อ่อนแอ ต่อวัชพืชคือระยะการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการข้าว. 2559. องค์ความรู้เรื่องข้าว. แหล่งข้อมูล http://www.ricethailand.go.th/rkb3/index.htm (19 เมษายน 2564)

ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย. 2562. การผลิตพืชภายใต้สภาวะเครียด. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม. 2563. ประมวลความรู้เบื้องต้นเรื่องข้าว. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สันติไมตรี ก้อนคำดี จุฑามาศ เครื่องพาที นิดานุช ปรปักพ่าย กนกทิพย์ ตอเสนา นันทวุฒิ จงรั้งกลาง และพัชริน ส่งศรี. 2559. ผลของพันธุ์อ้อยต่อประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชในแปลงอ้อยตอ. วารสารแก่นเกษตร 44(พิเศษ 1): 1119-1124.

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. 2564. ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร: ข้าว. วารสารเศรษฐกิจการเกษตร 772: 14-26.

Anwar, M.P., A.S. Juraimi, B. Samedani, A. Puteh and A. Man. 2012. Critical period of weed control in aerobic rice. Sci. World J. 2012: 603043.

Awan, T.H., P.C.S. Cruz, S. Ahmed and B.S Chauhan. 2015. Effect of nitrogen application, rice planting density and water regime on the morphological plasticity and biomass partitioning of Chinese sprangletop (Leptochloa chinensis). Weed Sci. 63: 448-460.

Chadhar, A.R., M.A. Nadeem, H.H. Ali, M.E. Safdar, A. Raza, M. Adnan, M. Hussain, L. Ali, M.S. Kashif and M.M. Javaid. 2020. Quantifying the impact of plant spacing and critical weed competition period on fine rice production under the system of rice intensification. Int. J. Agric. Biol. 24: 1142-1148.

Colmer, T.D. 2003. Long-distance transport of gases in plants: a perspective on internal aeration and radial oxygen loss from roots. Plant Cell Environ. 26: 17-36.

Kaur, S., R. Kaur and B.S. Chauhan. 2018. Understanding crop-weed-fertilizerwater interactions and their implications for weed management in agricultural systems. Crop Prot. 103: 65-72.

Korav, S., A.K. Dhaka, R. Singh, N. Premaradhya and G.C. Reddy. 2018. A study on crop weed competition in field crops. J. Pharmacogn. Phytochem. 7(4): 3235-3240.

Mongon, J., D. Konnerup, T.D. Colmer and B. Rerkasem. 2014. Responses of rice to Fe2+ in aerated and stagnant condition: growth, root porosity and radial oxygen loss barrier. Funct. Plant Biol. 41: 922-929.

Spencer, W. and G. Bowes. 1993. Ecophysiology of the world’s most troublesome aquatic weeds. pp. 39-73. In: A.H. Pieterse and K.J. Murphy (eds.). Aquatic Weeds. 2nd ed. Oxford University Press, Oxford, UK.

Zimdahl, R.L. 2007. Fundamentals of weed science. 3rd ed. Academic Press, San Diego, C.A., USA.