ความเป็นพิษของสารสกัดหยาบจากพืชที่มีผลต่อหนอนกระทู้ผัก (Spodoptera litura Fabricius)

Main Article Content

จักรพงษ์ สุภาวรรณ์
ดาวพระศุกร์ เอกชัยวีรกูล
ศราวดี แสนศรี
ณัฐดนัย ลิขิตตระการ

บทคัดย่อ

     การทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดหยาบจากสะเดา (Azadirachta indica) ขมิ้นชัน (Curcuma longa) และสาบเสือ (Chromolaena odorata) ในการควบคุมหนอนกระทู้ผักได้ดำเนินการ ในห้องปฏิบัติการ โดยสารสกัดหยาบจากพืชในแต่ละความเข้มข้น (1, 3, 5, 7 และ 10% w/v) นำมา ทดสอบความเป็นพิษโดยวิธีการสัมผัสและโดยวิธีการกิน พบว่าสารสกัดหยาบจากขมิ้นชันที่ 10% ทำให้ หนอนกระทู้ผักตายมากที่สุดภายใน 7 วันถึง 83.33% รองลงมาคือสารสกัดหยาบจากสาบเสือ 10% โดยมีอัตราการตายที่ 63.33% ส่วนสารสกัดหยาบของสะเดาที่ 1% พบว่ามีค่าการตายน้อยที่สุด (6.67%) ค่า LC50 ของขมิ้นชัน สาบเสือ และสะเดาเท่ากับ 5.66, 6.92 และ 24.55 ตามลำดับ ส่วนการทดสอบ โดยวิธีการกินพบว่า สารสกัดหยาบ 10% จากสาบเสือทำให้หนอนกระทู้ผักตายมากที่สุดภายใน 7 วัน เท่ากับ 43.33% เมื่อเทียบกับสารสกัดหยาบชนิดอื่น ค่า LC50 ของการทดสอบความเป็นพิษโดยการกิน สาบเสือ สะเดา และขมิ้นชันเท่ากับ 10.47, 14.57 และ 14.78 ตามลำดับ ดังนั้นสรุปได้ว่าสารสกัดหยาบ จากขมิ้นชันและสาบเสือที่ 10% สามารถควบคุมหนอนกระทู้ผักได้ภายใน 7 วัน และสามารถนำ สารสกัดหยาบนี้มาใช้ในการวางแผนการกำจัดแมลงศัตรูพืชเพื่อลดและทดแทนการใช้สารเคมี ในการควบคุมได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฐิตินันท์ พันธ์นิกุล. 2548. อิทธิพลของสารสกัดธรรมชาติที่มีต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์สำลีอีสานและการเข้าทำลายของด้วงงวงข้าวโพด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาพืชสวน, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มยุรา สุนย์วีระ และศจีรัตน์ กางกั้น. 2547. ผลของสารสกัดจากขมิ้นชันต่อการตายและการเจริญเติบโตของหนอนกระทู้ผัก. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 20(2): 16-21.

วัชระ ทองสุขนอก. 2554. ประสิทธิภาพและการออกฤทธิ์ในการเป็นสารกำจัดแมลงของสารสกัดจากขมิ้นชัน (Curcuma longa Linn.) ต่อหนอนกระทู้ผัก (Spodoptera litura Fabricius). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชากีฏวิทยา, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมภพ ฐิตะวสันต์. 2542. หลักการผลิตผัก ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืชและเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

อธิราช หนูสีดำ. 2550. ประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบส้มจี้ในการควบคุมหนอนกระทู้ผัก Spodoptera litura (Fabricius) (Lepidoptera: Noctuidae). วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อารมณ์ แสงวนิชย์. 2536. การใช้สารธรรมชาติในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช. น. 118-122. ในรายงานการสัมมนา การใช้สารสกัดจากพืชเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูทางการเกษตร, 6-8 พฤษภาคม 2536, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุดมลักษณ์ อุ่นจิตต์วรรธนะ. 2540. สารออกฤทธิ์จากพืช. วารสารวัตถุมีพิษ 24(1): 33-36.

อุทัย เกตุนุติ. 2530. การเลี้ยงแมลงด้วยอาหารเทียม. ในรายงานการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี ครั้งที่ 2, กลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืชทางชีวภาพกองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร.

Abbott, W.S. 1925. A method of computing the effectiveness of an insecticide. Journal of Economic Entomology. 18(2): 265-267.

Bansal, R.P., J.R. Bahl, S.N. Garg, A.A. Naqvi and S. Kumar. 2002. Differential chemical compositions of the essential oils of the shoot organs, rhizomes and rhizoids in the turmeric Curcuma longa grown in indograngetic plains. Pharmaceutical Biology. 40(5): 384-389.

Gadi, N. 2017. Effect of Azadirachta indica Extracts on oriental leafworm, Spodoptera litura (Lepidoptera: Noctuidae). Chronicle of The New Researcher. 2(1): 1-5.

Hill, D.S. 1983. Agricultural insect pest of the tropics and their control. New York: Cambridge University Press.

Koul, O., J.S. Shankar and R.S. Kapil. 1996. The effect of neem allelochemicals on nutritional physiology of larval Spodoptera litura. Entomol Exp Appl. 79: 43-50.

Sahayaraj, K. and M.G. Paulraj. 2000. Impact of Tridax procimbens leaf extract on Spodoptera litura Fab. behavior and biometry. Insect Environment. 5(4): 149-150.

Sithisarn P., R. Supabhol and W. Gritsanapan. 2009. Antioxidant activity of Siamese neem tree (VP1209). Journal of Ethnopharmacology. 99: 109-112.

Tavares W.S, S.S Freitas, G.H. Grazziotti, L.M.L. Parente Liao and J.C. Zanuncio. 2013. Ar-turmerone from Curcuma longa (Zingiberaceae) rhizomes and effects on Sitophilus zeamais (Coleoptera: Curculionidae) and Spodoptera frugiperda (Lepidoptera:Noctuidae). Industrial Crops and Products. 46(1): 158-16.

Tran, H.T., N. Luong and T.H. Tran. 2020. Antifeedant and larvicidal activities of leaf essential oils from Hyptis suaveolens (L.) Poit., Chromoleaena odorata (L.) R.M. King and Lantana camara L. against Spodoptera litura Fab. (Lepidoptera: Noctuidae). Science and Technology Development Journal. 3(4): 244-251.