การประเมินปาล์มนํ้ามันพันธุ์การค้าในพื้นที่จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

ธนนต์ รุ่งนิลรัตน์
ธีรภาพ แก้วประดับ
พรเลิศ เทพบุตร
ธีรพล ฆังคมณี

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้ศึกษาที่สถานีวิจัยท่าเชียด คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัด พัทลุง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2561-2562 ใช้ปาล์มนํ้ามันพันธุ์ลูกผสมทางการค้าจำนวน 8 พันธุ์ อายุ 8 ปี ได้แก่ UT PR S7 S2 GT CP PU1 และ CR วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) เก็บข้อมูลการเจริญเติบโตและจำนวนทะลายทุก 3 เดือนจนครบ 1 ปี ใช้ 4 ซํ้า/พันธุ์ ซํ้าละ 3 ต้น นํ้าหนัก ทะลายเฉลี่ย องค์ประกอบทะลายและผลผลิตนํ้ามันเก็บตัวอย่างพันธุ์ละ 3 ทะลาย/ซํ้า/ปี พบว่า ธาตุอาหารและสมบัติทางเคมีของดินอยู่ในเกณฑ์ที่ตํ่า การเจริญเติบโตทางลำต้นพบว่า พันธุ์ UT มีความยาวทางใบสูง พันธุ์ S2 มีจำนวนใบย่อย ความกว้างโคนก้านใบ ส่วน CR มีความสูงต้นสูง ที่ลักษณะ ผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต องค์ประกอบทะลาย และผลผลิตนํ้ามัน พบว่า พันธุ์ PU1 มีผลผลิต ทะลายสด นํ้าหนักทะลายเฉลี่ย และผลผลิตนํ้ามันสูง ส่วนพันธุ์ UT มีจำนวนทะลายสูง พันธุ์ PR มีเปอร์เซ็นต์เนื้อปาล์มสดต่อผลสูง พันธุ์ S7 มีค่าเปอร์เซ็นต์ผลต่อทะลาย และเปอร์เซ็นต์นํ้ามันต่อ ทะลายสูง ส่วนพันธุ์ CP มีเปอร์เซ็นต์นํ้ามันต่อเนื้อปาล์มแห้งสูง ค่าอัตราพันธุกรรมพบว่าลักษณะ ที่ควรใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือก คือ ความยาวทางใบ จำนวนใบย่อย ความกว้างโคนทางใบ ความสูงต้น ผลผลิตทะลายสด นํ้าหนักทะลายเฉลี่ย นํ้ามันต่อเนื้อปาล์มแห้ง และผลผลิตนํ้ามัน เนื่องจากมีอัตรา พันธุกรรมที่ระดับปานกลาง เมื่อใช้ลักษณะเหล่านี้ในการคัดเลือกพบว่า พันธุ์ UT S2 และCR มีการ เจริญเติบโตที่ดี ส่วนพันธุ์ PU1 และ CP ให้ผลผลิตดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน. 2563. ข้อมูลการจัดการดิน. แหล่งข้อมูล. http://www.ldd.go.th/Web_Soil/ acid.htm. (10 ตุลาคม 2563).

ณัฐพงศ์ สงฤทธิ์. 2557. อัตราพันธุกรรมและสหสัมพันธ์ของลักษณะการเจริญเติบโตทางลำต้นและองค์ประกอบผลผลิตในปาล์มนํ้ามันลูกผสมเทเนอรา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ณัฐพล จันทร์สว่าง ธีระ เอกสมทราเมษฐ์ ประมวล หน่อสกูล ชมพูนุท บัวเผื่อน ธีรภาพ แก้วประดับ ประกิจ ทองคำ รุ่งรัตน์ แซ่หยาง และธนนต์ รุ่งนิลรัตน์. 2563. การประเมินศักยภาพของปาล์มนํ้ามันพันธุ์ทรัพย์ ม.อ.1 อายุ 5 ปีในพื้นที่นาร้าง: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา. วารสารผลิตกรรมการเกษตร 2(3): 37-49.

ธนนต์ รุ่ง นิลรัตน์ และธีระ เอกสมทราเมษฐ์. 2558. การทดสอบชั่วรุ่นลูกของปาล์มน้ำมันในจังหวัดสงขลา. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 2(4): 6-10.

ธีระ เอกสมทราเมษฐ์. 2554. การปรับปรุงพันธุ์ปาล์มนํ้ามัน. โอ เอส พริ้นติ้ง เฮาส์, กรุงเทพฯ.

ธีระ เอกสมทราเมษฐ์ และธีระพงศ์ จันทรนิยม. 2558. คู่มือปาล์มนํ้ามัน. หาดใหญ่ ดิจิตอลพริ้นท์, สงขลา.

ธีระ เอกสมทราเมษฐ์ ชัยรัตน์ นิลนนท์ ธีระพงศ์ จันทรนิยม ประกิจ ทองคำ และสมเกียรติ สีสนอง. 2548. เส้นทางสู่ความสำเร็จการผลิตปาล์มนํ้ามัน. สงขลา. คณะทรัพยากรธรรมชาติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์. 2525. พันธุศาสตร์ปริมาณที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช. กรุงเทพฯ. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Burton, G. W. and E. H. De Vane. 1953. Estimating heritability in tall Fescue (Festuca arundinacea.) from replicated clonal material. Agronomy Journal 45: 478-481.

Corley, R. H. V. and P. B. Tinker. 2003. The Oil Palm. Blackwell Science Ltd, Oxford.

Henson, I.E. 1993. Assessing frond dry matter production and leaf area development in young oil palm. Proceedings of the 1991 PORIM International Palm Oil Conference – Module 1 (Agriclture). PORIM, Bangi, Malaysia. pp. 473-478.

Marhalil, M., M.Y. Rafii, M.M.A. Afizi, I.W. Arolu, A. Noh, A. Mohd Din, A. Kushairi, A. Norziha, N. Rajanaidu, M.A. Latif and M.A. Malek. 2013. Genetic variability in yield and vegetative traits in elite germplasm of MPOB-Nigerian dura x AVROS pisifera progenies. Journal of Food, Agriculture and Environment. 11: 515-519.

Office of Agricultural Economics. 2018. The Farmers’ Agenda for farmers on “FTA Funds to prepare 100 million Baht to help palm plantation improve competitiveness”. Bangkok: Office of Agricultural Economics Research, Office of Agricultural Economics, Ministry of Agriculture and Cooperatives.

Okoye, M.N., C.O. Okwuagwu and M.I. Uguru. 2009. Population improvement for fresh fruit bunch yield and yield components in oil palm (Elaeis guineensis Jacq.) American-Eurasian Journal of Scientific Research. 4: 59-63.

Okwuagwu, C.O., M.N. Okoye, E.C. Okdo, C.D. Ataga and M.I. Uguru. 2008. Genetic variability of fresh fruit bunch yield in Deli/dura x tenera breeding populations of oil palm (Elaeis guineensis Jacq.) in Nigeria. Journal of Tropical Agriculture. 46: 52-57.

Yusof, B. 2007. Palm oil production through sustainable plantations. European Journal of Lipid Science and Technology. 109: 289-295.