การศึกษาอิทธิพลของการควั่นกิ่งต่อการเสียบยอดมะคาเดเมีย

Main Article Content

อนันต์ ปัญญาเพิ่ม
สมคิด รัตนบุรี
อนุ สุวรรณโฉม
เหรียญชัย เกิดพงษ์

บทคัดย่อ

     การขยายพันธุ์มะคาเดเมีย นิยมใช้วิธีการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ซึ่งวิธีที่นิยมทั่วไปมี 2 วิธีคือ การเสียบกิ่งและทาบกิ่ง มะคาเดเมียเป็นไม้เนื้อแข็งจึงมีความยากในการขยายพันธุ์ ซึ่งความสำเร็จของ การขยายพันธุ์ขึ้นกับหลายปัจจัยทั้งส่วนของกิ่งพันธุ์ดีและต้นตอ เช่น อาหารสะสม ฮอร์โมนของพืช รวมถึงปัจจัยสภาพแวดล้อม จึงได้ทำการศึกษาการเสียบกิ่งมะคาเดเมีย ในช่วงเวลาต่าง ๆ 3 ช่วงเวลา มี 3 การทดลอง คือ 1. การศึกษาการเสียบกิ่งมะคาเดเมียช่วงเดือนพฤษภาคม 2. การศึกษาการเสียบกิ่ง มะคาเดเมียช่วงเดือนกรกฎาคม และ 3. การศึกษาการเสียบกิ่งมะคาเดเมียช่วงเดือนพฤศจิกายน วางแผน การทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) ทำ 4 ซํ้า ซํ้าละ 25 ต้น มี 4 กรรมวิธี คือ 1. ไม่ควั่นกิ่ง (control) 2. ควั่นกิ่ง 4 สัปดาห์ 3. ควั่นกิ่ง 6 สัปดาห์ และ 4. ควั่นกิ่ง 8 สัปดาห์ ดำเนินการ 2 สถานที่ คือ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่แปลงทดลองแม่เหียะ และแปลงทดลองขุนวาง ระหว่างปี 2558-2561 มีผลการทดลองดังนี้ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่แปลงทดลองแม่เหียะ พบว่า การเสียบกิ่งเดือนพฤษภาคม กรรมวิธีที่ 4 ควั่นกิ่ง 8 สัปดาห์มีเปอร์เซ็นต์รอดตายสูงสุด 76% แตกต่าง ทางสถิติกับการไม่ควั่นกิ่ง(control) การเสียบกิ่งเดือนกรกฎาคม พบว่า กรรมวิธีที่ 4 ควั่นกิ่ง 8 สัปดาห์ ให้เปอร์เซ็นต์การรอดตายของกิ่งสูงสุดเช่นกันคือ 85% แตกต่างทางสถิติกับการไม่ควั่นกิ่งซึ่งรอดตาย 47% ส่วนการเสียบกิ่งในเดือนพฤศจิกายน พบว่า กรรมวิธีที่ 4 ให้เปอร์เซ็นต์การรอดตายของกิ่งสูงสุดเช่นกัน คือ 63% แตกต่างทางสถิติกับการไม่ควั่นกิ่งซึ่งรอดตาย 40% สำหรับแปลงทดลองขุนวางให้ผล ทำนองเดียวกับแปลงทดลองแม่เหียะ โดยการเสียบกิ่ง 3 ช่วงเวลาดังกล่าวพบว่ากรรมวิธีที่ 4 ให้เปอร์เซ็นต์ รอดตายสูงสุด 62 65 และ 75% แตกต่างทางสถิติกับ control ซึ่งให้เปอร์เซ็นต์รอดตายตํ่าสุด คือ 38 27 และ 11% ตามลำดับ จากผลการดำเนินการทั้ง 2 สถานที่จะเห็นได้ว่า วิธีการควั่นกิ่งไว้ 8 สัปดาห์ ก่อนตัดมาเสียบ ให้เปอร์เซ็นต์ต้นรอดตายสูงสุด ด้านระยะเวลาการเสียบกิ่ง แปลงทดลองแม่เหียะ การเสียบกิ่งช่วงเดือนกรกฎาคมมีเปอร์เซ็นต์ต้นรอดตายสูงสุด ส่วนแปลงทดลองขุนวาง พบว่า การเสียบกิ่ง ช่วงเดือนพฤศจิกายนมีเปอร์เซ็นต์ต้นรอดตายสูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จำลอง ดาวเรือง. 2544. การขยายพันธุ์มะคาเดเมีย. ใน: มะคาเดเมีย (MACADAMIA NUTS) ประจำปี 2554. น. 53-57. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 เชียงใหม่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ธีรวุธ ปัทมาศ สุรินทร์ นิลสำราญจิต และจตุรพร รักษ์งาร. 2551. ผลของการควั่นกิ่งและไฮโดรเจนไซยานาไมด์ต่อการแตกตาและคุณภาพผลของกีวีฟรุต. น. 81-845. ในการประชุมทางวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พืชสวนไทยใต้ร่มพระบารมี 26-30 พฤษภาคม 2551. โรงแรมอัมรินทร์ลากูนพิษณุโลก. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 เชียงใหม่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

พัชรียา บุญกอแก้ว. 2560. สารควบคุมการเจริญเติบโตในพืชสวน. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. 2562. มะคาเดเมีย: ปีเพาะปลูก 2561. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมการเกษตร.

สถาบันวิจัยพืชสวน. 2563. เอกสารวิชาการการจัดการความรู้ “เทคโนโลยีการผลิตมะคาเดเมีย”. สถาบันพืชสวน กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ.

อุทัย นพคุณวงศ์ จำรอง ดาวเรือง และฉัตรนภา ข่มอาวุธ. 2551. การขยายพันธุ์มะคาเดเมีย. ใน: มะคาเดเมีย ประจำปี 2551. น. 49-53. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 เชียงใหม่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

Beaumont J.H. and R.H. Moltzau. 1937. Nursery propagation and topworking of the macadamia. Hawaiian Agric Exp StnCirc.

Bennell, M. R. 1984. Aspects of the Biology and Culture of the Macadamia. A Thesis submitted in partial fulfilment of the requirements for the Degree of Master of Agriculture. Department of Agronomy University of Sydney and Horticultural Science.

Cho, A. and A. Kawabata. 2016. Grating Macadamia Trees in Hawaii. Available: www.etahr.hawaii.edu. (February 9, 2021)

Fukunaga, E. T. 1951. Grafting and topworking the macadamia. University of Hawaii Agricultural Extension. Circ.

Menzel, C.M. and B.F. Paxton. 1987. The effect of cincturing on growth and flowering of lychee several season in subtropical Queensland. Aust. J of Exp. Agri. 27: 733-738.

Nagao, M.A. and H. H. Hirae. 1992. Macadamia: Cultivation and physiology. Critical Reviews in Plant Sciences. p 441-470.

Rodrigues, J., G.F. Ryan, and E.F. Frolich. 1960. California Avocado Society, University of California, Los Angeles: p. 89-92.

SAMAC. 2020. Macadamia South Africa NPC. Available: https://www.samac.org.za/(February 17, 2021)

Southern African Macadamia Grower Association. 2018. STATISTICS ON THE SOUTHERN AFRICAN MACADAMIA INDUSTRY. Updated 14 May 2018. Available: https://samac.org.za/industry-statistics-southern-africanmacadamia-industry. (July 26, 2018).

Weaver, R. J. 1972. Plant Growth Substances in Agriculture. W. H. Freemann and Company, San Francisco.

Xavier T. P., T. S. Lira, J. M. A. Schettino and M. A. S. Barrozo. 2016. A study of pyrolysis of macadamia nut shell: parametric sensitivity analysis of the IPR model. Brazilian Journal of Chemical Engineering 33(1): 115-122.