การศึกษาแนวทางการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพในการผลิตลำไยนอกฤดู

Main Article Content

นพดล จรัสสัมฤทธิ์
มลธิดา ธิศาเวช
วรรณอุษา ผาคำ
บุรินทร์ พิชัยรัตน์

บทคัดย่อ

     การจัดการปุ๋ยที่เหมาะสมตามระยะการพัฒนาของพืช สำหรับการผลิตลำไยเป็นวิธีที่สำคัญเพื่อ ส่งเสริมการเจริญเติบโตกับต้นลำไยนำไปสู่การผลิตลำไยให้ได้ปริมาณและคุณภาพที่ดี การศึกษานี้ใช้ปุ๋ย ทั้งหมด 7 สูตรกับต้นลำไยพันธุ์ดอ อายุ 7-9 ปี เป็นเวลา 3 ปี ระหว่างเดือนมีนาคม 2560 – กรกฎาคม 2563 ผลการทดลอง พบว่า การให้ปุ๋ยทุกกรรมวิธีกับลำไยตลอด 3 ปีที่ศึกษากับจำนวนผลต่อกิโลกรัม ซึ่งในปีที่ 1 อยู่ในช่วง 110.82-121.93 ผล/กิโลกรัม และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในปีที่ 2 (104.10- 120.77 ผล/กิโลกรัม) และปีที่ 3 (91.14-115.31 ผล/กิโลกรัม) ชี้ให้เห็นว่า ผลลำไยมีขนาดเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างกันทางสถิติรวมถึงนํ้าหนักผลผลิตต่อต้นตั้งแต่ปีที่ 1-3 อยู่ในช่วง 24.68-46.28 กิโลกรัม/ต้น, 11.00-35.13 กิโลกรัม/ต้น และ 21.03-46.86 กิโลกรัม/ต้น ตามลำดับ ตลอดจนไม่ส่งผล ให้เกิดความแตกต่างกันทางสถิติกับคุณภาพผลในนํ้าหนักเนื้อ และปริมาณของแข็งที่ละลายนํ้าได้พบว่า น้ำหนักเนื้ออยู่ในช่วง 6.23-6.87 กรัม, 7.33-8.24 กรัม และ 6.16-7.73 กรัม และปริมาณของแข็งที่ละลาย นํ้าอยู่ในช่วง 19.08-21.68 °Brix, 17.61-19.22 °Brix และ 19.19-21.23 °Brix ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรนันท์ เสนาหาญ. 2551. การตอบสนองของลำไยพันธุ์อีดอต่อการจัดการทรงต้นและการจัดการปุ๋ย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน, คณะผลิตกรรมการเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

จีราภรณ์ อินทสาร. 2557. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. ดีพริ้นท์, เชียงใหม่.

นพดล จรัสสัมฤทธิ์ มลธิดา ธิศาเวช วรรณอุษา ผาคำ และบุรินทร์ พิชัยรัตน์. 2562. การศึกษาอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตลำไยนอกฤดู. วารสารผลิตกรรมการเกษตร 1(2): 77-84.

พาวิน มะโนชัย. 2544. ไม้ผลเขตกึ่งร้อน. ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

พาวิน มะโนชัย วรินทร์ สุทนต์ ชาตรี สิทธิกุล เยาวลักษณ์ จันทร์บาง ยุทธนา เขาสุเมรุ และดารณี เกียรติสกุล. 2550. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการ การผลิตลำไยคุณภาพดีต้นทุนตํ่า.รายงานต่อ สกว. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

พิทยา สรวมศิริ และพาวิน มะโนชัย. 2545. การผลิตลำไยนอกฤดูอย่างมืออาชีพ. ธนบรรณการพิมพ์, เชียงใหม่.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2543. ธาตุอาหารพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ยงยุทธ โอสถสภา ศุภมาศ พนิชศักดิ์พัฒนา อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และชัยสิทธิ์ ทองจู. 2541. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ยุทธนา เขสสุเมรุ ชิติ ศรีตนทิพย์ และสันติ ช่างเจรจา. 2545. การจัดการดินและปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อการผลิตลำไย. รายงานผลการวิจัย. ลำปาง: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

สมชาย องค์ประเสิรฐ และพาวิน มะโนชัย. 2543. การให้ปุ๋ยลำไย. น. 50-53. ใน :นพดล จรัสสัมฤทธิ์ พาวิน มะโนชัย นพมณี โทปุญญานนท์ ธีรนุช จันทรชิต วินัย วิริยะอลงกรณ์ พิชัย สมบูรณ์วงศ์ (บ.ก.). การผลิตลำไย. สิรินาฏการพิมพ์, เชียงใหม่.

สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2548. สรีรวิทยาของพืช. จามจุรีโปรดักท์, กรุงเทพฯ.

สุรพล ทองเที่ยง. 2553. การส่งเสริมการผลิตลำไยนอกฤดูในอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2562. รายงานผลการดำเนินงาน. สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน, แม่ฮ่องสอน.

อรุณี วัฒนวรรณ ชูชาติ วัฒนวรรณ ศรีนวล สุราษฎร์ ชนะศักดิ์ จันปุ่ม เกษสิริ ฉันทะพิริยะพูน อานันท์ เลิศรัตน์ และพุฒนา รุ่งระวี. 2554. วิจัยและพัฒนาการผลิตลำไยนอกฤดูคุณภาพเพื่อการส่งออก. น. 475-487. ในการประชุมวิชาการระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 7, 8-10 สิงหาคม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

Changthom, A. and C. Sutisa. 2016. Study on NPK fertilizer rate on flowering and yield of Longan (Dimocapus longan Lour.) in Chanthaburi province. Journal of Agricultural Technology. 12(7.1): 1399-1408.

Khoi, B. X. and M. V. Tri. 2003. Fertilizer recommendations for sustainable production of orchard fruit in the south of Vietnam. ASPAC Food and fertilizer technology center, Vietnam. 535: 1-10.

Paull, R. and D. Odilo. 2011. Tropical Fruits. 2nd Edition, Volume 1. C.A.B. International, USA.

Rai, M. R., P. Dey, K. K. Gangopadhyay, B. Das, V. Nath, N. REDD and H. P. SINGI-F. 2002. Influence of nitrogen, phosphorus and potassium on growth parameters, leaf nutrient composition and yield of litchi (Litchi chinensis). Indian Journal Agricultural. Science. 72(5): 267-70.

Senanan, C., S. Ongprasert, P. Manochai, and S. Ussahatanonta. 2010. The response of longan trees to training system and fertilizer management. Acta Horticulturae. 863: 351-356.

Yan, D. 2002. Longan improving yield and quality. Department of Primary Industries, Queensland Horticulture Institute.