ผลของการพอกเมล็ดด้วยชนิดวัสดุพอกที่แตกต่างกันต่อลักษณะทางกายภาพและคุณภาพเมล็ดพันธุ์แครอท

Main Article Content

จักรพงษ์ กางโสภา
เพชรรัตน์ จี้เพชร
อรัญญา สิงโสภา
นรารัตน์ ทาวงศ์
สุรีมาศ จันต๊ะอินทร์

บทคัดย่อ

     การเพาะปลูกในเชิงการค้าส่วนใหญ่นําเข้าเมล็ดพันธุ์แครอทที่ผ่านการพอกเมล็ดจากต่างประเทศ จึงทําให้เกษตรกรมีต้นทุนการเพาะปลูกสูง ดังนั้น การศึกษานี้จึงได้ศึกษาผลของการพอกเมล็ดด้วยชนิด วัสดุพอกที่แตกต่างกันต่อลักษณะทางกายภาพและคุณภาพเมล็ดพันธุ์แครอท วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design จํานวน 4 ซํ้า ประกอบด้วยกรรมวิธีดังนี้ เมล็ดไม่พอก, การพอก เมล็ดด้วย calcium sulfate, zeolite, bentonite และ pumice อัตรา 30 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์แครอท 3 กรัม ผลการทดลองพบว่า การพอกเมล็ดด้วย calcium sulfate สามารถขึ้นรูปก่อนพอกเมล็ดพันธุ์ แครอทได้ง่าย อีกทั้งก่อนพอกสามารถละลายนํ้าได้ดี และมีลักษณะของต้นกล้าผิดปกติเพียงเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับการพอกเมล็ดด้วยวัสดุพอกชนิดอื่น ๆ นอกจากนี้ calcium sulfateยังมีความงอกสูงคือ 90 เปอร์เซ็นต์ และแตกต่างกันในทางสถิติกับเมล็ดที่ไม่ผ่านการพอก อีกทั้ง calcium sulfate ยังมีแนวโน้ม ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นกล้าคือ ความยาวต้น ความยาวราก และความยาวต้นกล้าสูงมากกว่า เมล็ดไม่พอกและการพอกเมล็ดด้วยวัสดุพอกชนิดอื่น ๆ ดังนั้น calcium sulfate เป็นชนิดวัสดุพอกที่มี ความเหมาะสมสําหรับการพอกร่วมกับเมล็ดพันธุ์แครอทมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

จักรพงษ์ กางโสภา, สาขาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ชื่อ: อาจารย์ ดร.จักรพงษ์ กางโสภา (Lecturer Dr. Jakkrapong Kangsopa)

คุณวุฒิ :
1. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พืชไร่), มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พืชไร่), มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3. วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์), มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ตำแหน่ง: อาจารย์ประจำ สาขาวิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ที่อยู่หน่วยงาน: สาขาวิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290

ความเชี่ยวชาญ: seed plants, seed technology, seed science, seed priming, seed coating, priming, การผลิตเมล็ดพันธุ์, เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์, การเคลือบเมล็ดพันธุ์, การพอกเมล็ดพันธุ์, การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์, การปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์, การไพร์มเมล็ด, วิทยาการเมล็ดพันธุ์, กระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวพืชไร่

E-mail: jakkrapong_ks@mju.ac.th, jakkrapongkangsopa@gmail.com

เบอร์โทรติดต่อ: 094-7374598

 

References

จักรพงษ์ กางโสภา และบุญมี ศิริ. 2557. ผลของชนิดสารพอกเมล็ดต่อความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ยาสูบ. วารสารแก่นเกษตร 42(3): 283-292.

จักรพงษ์ กางโสภา. 2563. วัสดุประสานสำหรับการพอกเมล็ดพันธุ์. วารสารแก่นเกษตร 48(1): 119-130.

บุญมี ศิริ. 2558. การปรับปรุงสภาพและการยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์. คลังนานาวิทยา, ขอนแก่น.

ศศิประภา บัวแก้ว และบุญมี ศิริ. 2561. ลักษณะทางกายภาพและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอมหลังการพอกด้วยวัสดุประสานและวัสดุพอกที่แตกต่างกัน. วารสารแก่นเกษตร 46(3): 469-480.

สันติภาพ ไชยสาร และบุญมี ศิริ. 2562. ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ด้วยวัสดุพอกที่แตกต่างกันต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์และลักษณะทางกายภาพของก้อนพอกมะเขือเทศลูกผสม. วารสารแก่นเกษตร 47(3): 467-478.

Anderson, R.A., H.F. Conway, V.F. Pfeifer, and E.L. Griffin. 1969. Gelatinization of corn grits by roll and extrusion cooking. Cereal Science Today. 14: 4-12.

Abdul-Baki, A.A. and J.D. Anderson. 1973. Vigor determination in soybean seed by multiple criteria. Crop Sci. 13(6): 630–633.

AOSA. 1983. Seed vigor testing handbook. Association of Official Seed Analysts, New York.

Barker, A.V., and D.J. Pilbeam. 2007. Handbook of plant nutrition. Taylor & Francis, Boca Raton.

Bouabid, R., M. Badraoui, and P.R. Bloom. 1991. Potassium fixation and charge characteristics of soil clays. Soil Sci. Soc. Am. J. 55: 1493–1498.

Davies, J.E.D., and N. Jabeen. 2002. The adsorption of herbicides and pesticides on clay minerals and soils. Part 1. Isoproturon. J. Incl. Phenom. Macrocycl. Chem. 43: 329–336.

Genç, N., and E.C. Dogan. 2013. Adsorption kinetics of the antibiotic ciprofloxacin on bentonite, activated carbon, zeolite, and pumice. Desalin. Water Treat. 53: 785–793.

Hill, H.J. 1999. Advances in seed technology. Original of new seeds. The Haworth Press, Inc., Philadelphia, Pennsylvania.

ISTA. 2013. International rules for seed testing, Edition 2003. International Seed Testing Association, Bassersdorf.

Kirkpatrick, T., and J.S. Bailey. 2007. Calcium sulphate versus lime as fertilizer filler: Effects on ammonium and nitrate uptake by perennial ryegrass. Commun. in Soil Sci. Plant Anal. 37(5): 733-750.

Konstantinov, G. 1983. Transplantless growing of cv. Drouzhba tomatoes using pelleted seeds. Gradinarska Ii Lozarska Nauka. 20(4): 53-57.

Liu, T.W., F.H. Wu, W.H. Wang, J. Chen, Z.J. Li, X.J. Dong, J. Patton, Z.M. Pei, and H.L. Zheng. 2011. Effects of calcium on seed germination, seedling growth and photosynthesis of six forest tree species under simulated acid rain. Tree Physiol. 31(4): 402-413.

Ramesh, K., and D.D. Reddy. 2011. Zeolites and their potential uses in agriculture. pp. 219-241. In: Sparks, D.L. (eds). Advances in Agronomy Vol.113. Elsevier, Amsterdam.

Sahin, U., O.R.S. Selda, S. Ercisli, O. Anapali, and A. Esitken. 2005. Effect of pumice amendment on physical soil properties and strawberry plant growth. J. Cent. Eur. Agric. 6(3): 361-366.

Saint-Gobain Formula. 2009. The benefits of calcium sulfate use in soil & agriculture. Available: http://goo.gl/E7OI27. (May 1, 2016).

Sharma, H.K. 2018. Carrots production, processing, and nutritional quality. pp. 589-608. In: Siddiq, M. and M.A. Uebersax (eds). Handbook of Vegetables and Vegetable Processing, Second Edition. John Wiley & Sons Ltd., New Jersey.

Smith, A.E., and R. Miller. 1987. Seed pellets for improved seed distribution of small seeded forages crops. J. Seed Technol. 11: 42–51.

Taylor, A.G., P.S. Allen, M.A. Bennett, K.J. Bradford, J.S. Burris, and M.K. Misra. 1998. Seed enhancements. Seed Sci. Res. 8: 245–256.

Zenk, P. 2004. Seed coatings get serious. Available: http://goo.gl/zpRR8j (February 1, 2004).