ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนของเกษตรกร ในเมืองคำ แขวงเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

คานตาวัน พมลาชาบุด
พุฒิสรรค์ เครือคำ
สายสกุล ฟองมูล
ปิยะ พละปัญญา

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนของเกษตรกร และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนของเกษตรกรในพื้นที่เมืองคำ แขวงเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ เกษตรกรเมืองคำ แขวงเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว จำนวน 279 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
     ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 42.93 ปี มีสถานภาพสมรส สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 6 คน มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 10.66 ไร่ มีรายได้ในภาคการเกษตรเฉลี่ย 30,252.46 บาทต่อปี มีรายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 11,059.13 บาทต่อปี มีรายจ่ายในครัวเรือนเฉลี่ย 25,802.92 บาทต่อปี มีหนี้สินเฉลี่ย 2,179.82 บาท ส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม เป็นสมาชิกกลุ่มในชุมชนเฉลี่ย 4 กลุ่ม เข้าร่วมฝึกอบรมหรือศึกษาดูงานเฉลี่ย 1.32 ครั้งต่อปี ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเกษตรเฉลี่ย 19.22 ครั้งต่อเดือน เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างความมั่นคงทางอาหารอยู่ในระดับปานกลาง และมีทัศนคติต่อการสร้างความมั่นคงทางอาหารอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรมีการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.46) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติมาก คือ ด้านการใช้ประโยชน์จากอาหาร (ค่าเฉลี่ย 3.53) รองลงมา ได้แก่ ด้านการเข้าถึงอาหาร (ค่าเฉลี่ย 3.52) โดยด้านการมีอาหารเพียงพอ และด้านความมีเสถียรภาพของอาหารมีค่าเฉลี่ยเท่ากันที่ 3.40 ตามลำดับ ในส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติในการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมีจำนวน 8 ตัวแปร โดยเป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกจำนวน 6 ตัวแปร ได้แก่ ระดับการศึกษา รายได้จากภาคการเกษตร รายได้นอกภาคการเกษตร การได้เข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร ความรู้เกี่ยวกับการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และทัศนคติของเกษตรกรเกี่ยวกับการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ในเชิงลบมีจำนวน 2 ตัวแปร ได้แก่ รายจ่ายในครัวเรือน และภาระหนี้สิน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คําสุกขะ ทํามะวง ชนินทร์ วะสีนนท์ ละมัย ร่มเย็น และศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. 2562. ปัจจัยทีส่งผลต่อครัวเรือนยากจน เมืองบัวละพา แขวงคําม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. มนุษยสังคมสาร (มสส.) 17(2): 239-253.

จันทร์ตนาพร วงศ์ชัย ประสงค์ ตันพิชัย สันติ ศรีสวนแตง และวีระฉัตร สุปัญโญ. 2557. ความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ สู่ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนเพียลาด อำเภอสังทอง นครหลวงเวียงจันทน์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal 7(2): 156-172.

ทัตภณ พละไชย นพวรรณ เปียซื่อ และสุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ. 2559. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารของวัยรุ่นในชุมชนชนบท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 34(2): 142-151.

นิคม สีเงิน สุวารีย์ ศรีปูณะ อนัญญา โพธิประดิษฐ์ และผมหอม เชิดโกทา. 2560. รูปแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนด้วยกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาในชุมชนริมน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค 4(1): 120-132.

ประชุม สุวัตถี. 2541. การสุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์ 38(3): 103-130.

ปุณณดา มาสวัสดิ์ ประพิณวดี ศิริศุภลักษณ์ และอิสริยา นิติทัณฑ์ประภาศ บุญญะศิริ. 2559. ปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรือนเกษตรไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ 11(2): 347-356.

เพชรบุญ ฟักเกตุ ชมพูนุท โมราชาติ และ อุทัย อันพิมพ์. 2559. การสร้างความมั่นคงทางอาหารของเกษตรกรอินทรีย์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม 6(2): 96-104.

รณิดา ปิงเมือง มาลี หมวกกุล วาสนา เสภา และธงชัย ลาหุนะ. 2560. ความหลากหลายทางชีวภาพสู่ความมั่นคงทางอาหารของชาติพันธุ์ ในลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำโขง : กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ 10(2): 25-45.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2546. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 12. สามลดา, กรุงเทพฯ.

สุพรรณี ไชยอำพร. 2560. ความมั่นคงทางอาหาร: สิ่งบ่งชี้ต่างวัฒนธรรมในสังคมไทย. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์ 57(1): 200-223.

Kham District Agriculture and Forestry Office. 2019. Report on the export of the non-timber forest products of Muang Kham, Xieng Khwang Province Lao People's Democratic Republic. Xieng Khwang. Kham District Agriculture and Forestry Office.

Ministry of Planning and Investment. 2016. Socio-economic development plan National 5-Year Eighth (2016-2020) At the National Assembly, Vientiane Capital.

Mishra, B. P. 2005. Factors Affecting Food Insecurity at Household Level in Kailali District of Nepal. Doctoral dissertation, Chiang Mai: Graduate School, Chiang Mai University.

Sub-Committees of the General Assembly of Mueang Kham. 2019. Report on the 5-Year Economic and Social Report of Mueang Kham, Xieng Khwang Province Lao People's Democratic Republic. Xieng Khwang. Mueang Kham Governor's Office.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper and Row Publication.