ศักยภาพการเลี้ยงไก่พื้นเมืองตามหลักเกษตรที่ดี (GAP) ของเกษตรกรในเมืองหลา แขวงอุดมซัย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

อัมพร ผาสุก
พหล ศักดิ์คะทัศน์
พุฒิสรรค์ เครือคำ
สายสกุล ฟองมูล

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการเลี้ยงไก่พื้นเมืองตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) โดยทำการศึกษาศักยภาพใน 2 ประเด็นคือ ความรู้ และการปฎิบัติได้ ของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองของเกษตรกรในเมืองหลา แขวงอุดมซัย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองในเมืองหลาแขวงอุดมชัย จำนวน 319 คน โดยใช้แบบทดสอบเพื่อวัดความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่พื้นเมือง และใช้แบบสอบถามเพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่พื้นเมืองของเกษตรกร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 31.07 ปี สำเร็จการศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่า อยู่ในสถานภาพสมรส เกษตรกรมีระดับของความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่พื้นเมืองอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} =  10.6 คะแนน จากทั้งหมด 21 คะแนน) ในด้านแนวทางการปฏิบัติตามแนวทางเกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับฟาร์มไก่พื้นเมืองโดยใช้การวัด 5 ระดับตามแบบของ Likert’s scale พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้านอยู่ระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 2.89) โดยเรียงค่าเฉลี่ยแต่ละด้านจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านการจัดการน้ำ ด้านองค์ประกอบฟาร์ม ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และด้านการจัดการอาหาร อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 3.50, 3.43, 3.22 และ 3.00 ตามลำดับ) ด้านการจัดการฟาร์ม ด้านสุขภาพสัตว์ และด้านสวัสดิภาพสัตว์ อยู่ในระดับน้อย (gif.latex?\bar{x} = 2.40, 2.39 และ 2.19 ตามลำดับ)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนนันท์ ศุภกิจจานนท์ และวราภรณ์ จันทร์วงศ์. 2556. รายงานการวิจัย เรื่อง การส่งเสริมการเลี้ยงไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำเชียงใหม่เพื่อสร้างเป็นอาชีพของเกษตรกรในตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ปราณี รอดเทียน สุวิทย์โชตินันท์ ชัยวัฒน์ ศรีทองอินทร์ และ ทรงศักดิ์ ศรีอำพร. 2556. รายงานการวิจัย เรื่อง การส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำเชียงใหม่เป็นอาชีพหลักในรูปแบบเครือข่ายอย่างยั่งยืนในอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัชระ แลน้อย วีรพงษ์ กันแก้ว กฤตภาค บูรณวิทย์ และบรรจง อาจคำ. 2558. ระบบการเลี้ยงและศักยภาพในการผลิตไก่พื้นเมืองของเกษตรกรในจังหวัดพะเยา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต.

สุวิทย์ คุ้มคงสินธุ์ จินดา ขลิบทอง และศิริลักษณ์ วงศ์พิเชษฐ์. 2556. การเลี้ยงไก่พื้นเมืองของเกษตรกร หมู่ที่ 3 ตำบลวังตะเคียน อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท. เอกสารประกอบการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 3 วันที่ 3–4 กันยายน 2556 มหาวิทยาลัยสุโขทัย

ธรรมาธิราช.

Agricultural and Forestry Office La District. 2019. Implementation of the Action Plan for Agriculture and Rural Development, La District. 27: 8-9

Bountong, B. 2000. Published by the National Agriculture and Forestry Research. Lao journal of Agriculture and Forestry. 10: 2-3

Laos Extension for Agriculture Project. 2003. Rearing native chicken. Vientiane, Lao P.D.R.

Livelihood Improvement Project for Southern Mountainous and Plateau Areas of Lao PDR. 2014. Relive the history of the local chickens in Laos. 34: 5-8.

Planning and Investment Office La District. 2019. Social Economic Development Plan 5 years (2020-2024) La District Oudomsay province 2019. 75: 2-9.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. New york: Harper and Row Publication.