การเปรียบเทียบใช้สารอินทรีย์เพื่อการเจริญเติบโตของต้นอ่อนกล้วยไม้ไทยสกุลหวาย 2 ชนิดในสภาพปลอดเชื้อ

Main Article Content

เบ็ญจา บำรุงเมือง
นวลทิพย์ ชัยลิ้นฟ้า

บทคัดย่อ

     วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาสูตรอาหารดัดแปลงที่เหมาะสำหรับเลี้ยงต้นอ่อนกล้วยไม้ไทย สกุลหวายในสภาพปลอดเชื้อที่มีต้นทุนถูกและทำได้ง่าย โดยการนำสารอินทรีย์ ได้แก่ มันฝรั่ง (150 กรัม/ ลิตร) มะเขือเทศ (75 กรัม/ลิตร) ปุ๋ยนํ้าหมักปลา (2 มิลลิกรัม/ลิตร) มาใช้เป็นส่วนผสมในอาหารที่ไม่เติม และเติม KNO3 (1.25 กรัม/ลิตร) สำหรับการเตรียมสูตรอาหารดัดแปลง ซึ่งในการทดลองได้นำสูตรอาหาร ดัดแปลงมาเปรียบเทียบกับสูตรอาหาร VW (Vacin & Went) ในการเลี้ยงต้นอ่อนกล้วยไม้ไทยสกุลหวาย จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ กล้วยไม้เอื้องจำปา “ Dendrobium moschatum (Buch.-Ham.) Sw.” และ เอื้องสายนํ้าผึ้ง “ Dendrobium primulinum Lindl.” เพื่อดูการเจริญเติบโตของต้นอ่อนเป็นระยะเวลา 3 เดือน ผลพบว่า กล้วยไม้ทั้ง 2 ชนิด ที่เลี้ยงในสูตร VW มีการเจริญเติบโตดีกว่าสูตรอื่นๆ และสามารถเลี้ยงไว้ในขวดอาหารได้เป็นเวลานาน แต่มีค่าใช้จ่ายในการเตรียมอาหารสูง คือ 60 บาทต่อลิตร ส่วนสูตรอาหารดัดแปลงที่มีมันฝรั่งเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ สูตรที่มีส่วนประกอบของ มันฝรั่ง 150 กรัม/ลิตร + KNO3 1.25 กรัม/ลิตร, สูตรที่มีส่วนประกอบของ มันฝรั่ง 150 กรัม/ลิตร + มะเขือเทศ 75 กรัม/ลิตร + ปุ๋ยปลา 2 มิลลิกรัม/ลิตร และ สูตรที่มีส่วนประกอบของมันฝรั่ง 150 กรัม/ลิตร + ปุ๋ยปลา 2 มิลลิกรัม/ ลิตร + KNO3 1.25 กรัม/ลิตร ให้ผลการเจริญเติบโตดีไม่ต่างกันกับสูตร VW โดย สูตรอาหารดัดแปลง มีค่าใช้จ่ายในการเตรียมอาหารถูกกว่า คือ 25-28 บาทต่อลิตร แต่สูตรอาหารดัดแปลงยังมีข้อจำกัดเรื่อง ระยะเวลาในการเลี้ยงแบบระยะยาว แต่อย่างไรก็ตามสูตรอาหารดัดแปลงดังกล่าวสามารถนำมาประยุกต์ ใช้เลี้ยงต้นกล้วยไม้ได้เนื่องจากมีประโยชน์ในด้านการเตรียมที่ง่ายและประหยัดต้นทุน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วรรณวิภา อิฐรัตน์. 2540. การปรับปรุงสูตรอาหารสำหรับเพาะเมล็ดและเลี้ยงแคลลัสของกล้วยไม้ด้วยการใช้สารอินทรีย์เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สลิล สิทธิสัจจธรรม. 2549. กล้วยไม้ป่าเมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด. (มหาชน): กรุงเทพมหานคร.

สีวลัย สุเภากิจ. 2537. การสร้างสูตรอาหารอินทรีย์พื้นฐานสำหรับต้นอ่อนและแคลลัสของกล้วยไม้สกุลหวาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Kaur-Sawhney R., H.E. Flores and A.W. Galston. 1980. Polyamine-induced DNA Synthesis and Mitosis in Oat Leaf Protoplasts. Plant Physiology. 65(2): 368-371

Kaur-Sawhney R., L.M. Shin and A.W. Galston. 1982. Relation of polyamines biosynthesis to the inhibition of sprouting in potato tubers. Plant Physiology 69(2): 411-415.