ระยะที่เหมาะสมของช่อดอกเพศเมียต่อการติดผลของต้นอินทผลัม

Main Article Content

ศิริลักษณ์ อินทะวงศ์
อาณัติ ดิษฐ์กระจัน

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะที่เหมาะสมของช่อดอกอินทผลัมเพศเมียที่สามารถผสมติดผลมากที่สุด เพื่อให้เกษตรกรสามารถวางแผนการถ่ายละอองเรณูได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำการทดลอง กับต้นอินทผลัมเพศเมียพันธุ์ KL1 อายุ 8 ปี ที่ปลูกในพื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่ ตำบลโป่งนํ้าร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในเดือนมกราคม - มีนาคม ปี พ.ศ. 2562 และ 2563 วางแผน การทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) ประกอบด้วย 5 กรรมวิธี 4 ซํ้า ได้แก่ การถ่ายละอองเรณูด้วยมือโดยใช้ละอองเรณูจากช่อดอกอินทผลัมเพศผู้พันธุ์ KL1 ที่บานเต็มที่ ลงบนช่อดอกเพศเมีย 5 ระยะ คือ ในวันที่กาบช่อดอกเริ่มแตก และหลังจากกาบช่อดอกแตก 2, 4, 6 และ 8 วัน แล้วบันทึกเปอร์เซ็นต์การติดผลหลังจากถ่ายละอองเรณูแล้ว 3 เดือน โดยเก็บข้อมูลการติดผลปีละ 1 ครั้ง พบว่า ช่อดอกเพศเมีย 2 ระยะ ได้แก่ วันที่กาบช่อดอกเริ่มแตก และหลังจากกาบช่อดอกแตก 2 วัน พบเปอร์เซ็นต์การติดผลของอินทผลัมสูงที่สุดอยู่ในช่วง 77.5- 83.5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนช่อดอกเพศเมียที่ถ่ายละอองเรณูหลังจากกาบช่อดอกแตกไปแล้ว 4, 6 และ 8 วัน มีเปอร์เซ็นต์การติดผลลดลงตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุฉัตร เขนยทิพย์. 2558. วิจัยและพัฒนาพันธุ์อินทผลัม. รายงานโครงการวิจัย กรมวิชาการเกษตร.

ศิริลักษณ์ อินทะวงศ์. 2563. ทำความรู้จักอินทผลัม. กสิกร 93(6): 6-11.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2563. ‘อินทผลัม’ พืชเศรษฐกิจมาแรง สร้างรายได้งามกว่า 3 แสนบาท/ไร่. แหล่งข้อมูล http://www.oae.go.th//assets/portals/1/fileups/publiccenter/files/News/radio/2020/10_07_63.pdf (19 ตุลาคม 2563)

Ahmad, N., Z. Hussain, D. Rahm and N. Muhammad. 2015. Effect of pollination times on fruit characteristics and yield of Begum Jangi date palm. Life Sci. Int. J. 9(1,2,3 & 4): 3093-3097.

Bacha, M.A.A., M.A.Aly, R.S. Al-Obeed and A.O. Abdul-Rahman. 2000. Compatibility relationships in some date palm cultivars (Phoenix dactylifera L.). J. King Saud Univ. Agric. Sci. 12(2): 81-95.

Chihcheng, T. C. and K. R. Robert. 2007. The date palm (Phoenix dactylifera L.): Overview of biology, uses, and cultivation. HortScience 42(5): 1077-1082.

Djerouni, A., A. Chala, A. Simozraga, R. Benmehaia and M. Baka. 2015. Evaluation of male palms used in pollination and the extent of its relationship with cultivars of datepalms (Phoenix dactylifera L.) grown in region of Oued Righ, Algeria. Pak. J. Bot. 47(5): 2295-2300.

Iqbal, M., M. Niamatullah and M. Munir. 2012. Effect of various Dactylifera males pollinizer on pomological traits and economical yield index of cv’s Shakri, Zahidi and Dhakki date palm (Phoenix dactylifera L.). J. Anim. Plant Sci. 22: 376-383.

Moustafa, A.A. 1998. Studying on the pollination of the date palms. The 1st Int. Conf. on Date Palm. 39-48.

Zaid, A. and P.F de Wet. 2002. Date palm cultivation. Available: http://www.fao.org/3/y4360e0c.htm (October 19,2020)