การปรับตัวของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อรองรับผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรี

Main Article Content

พิกุล ประวัติเมือง
ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล
สุรพล เศรษฐบุตร
ทศพล มูลมณี

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธก์ ับการปรับตัวของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อรองรับผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรี กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกร ผู้เลี้ยงโคนม จำนวน 164 คน ที่เป็นสมาชิกสหกรณ์โคนมในจังหวัดเชียงใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม พ.ศ. 2563 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบวิธีคัดเลือกเข้าทั้งหมด ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 50.34 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษาและมีประสบการณ์การเลี้ยงโคนมเฉลี่ย 14.46 ปี ในปี พ.ศ. 2563 เกษตรกรมีรายได้จากการเลี้ยงโคนมเฉลี่ย 90,817.07 บาทต่อเดือน มีภาระหนี้สินคงค้างเฉลี่ย 499,330.77 บาท และได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดเขตการค้าเสรีเฉลี่ย 4.48 ครั้งต่อเดือนผ่านเจ้าหน้าที่สหกรณ์โคนมเป็นหลัก ทั้งนี้เกษตรกรมีระดับการรับรู้เกี่ยวกับการเปิดเขตการค้าเสรีและระดับการปรับตัวเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรีอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระดับการศึกษาและระดับการรับรู้เกี่ยวกับการเปิดเขตการค้าเสรีของเกษตรกรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการปรับตัวเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรีของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดเชียงใหม่ อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (P < 0.01)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมปศุสัตว์. 2560. แผนยุทธศาสตร์โคนม. แหล่งข้อมูล http://planning.dld.go.th. (15 เมษายน 2563).

กองสารวัตรและกักกัน. 2560. พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558. แหล่งข้อมูล https://ag2.kku.ac.th. (23 มิถุนายน 2564).

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2540. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. เจริญผล, กรุงเทพฯ.

ปฐมพงศ์ ฤกษ์ดี วรทัศน์ อินทรัคคัมพร ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล และมนตรี ปัญญาทอง. 2563. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เปลือกข้าวโพดหมักในการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารแก่นเกษตร 48(ฉบับพิเศษ1): 401-408.

ปรีติญา นิยมราษฎร์. 2552. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใชเ้ ทคโนโลยีสารสนเทศองค์ความรู้เรื่องข้าวของเกษตรกร: กรณีศึกษากลุ่มโรงเรียนชาวนา จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์เกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พจนา วัฒนเพ็ญ. 2551. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการผลิตนํ้านมดิบและการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมของประเทศไทย. ภาคนิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

เพ็ญฑิตา เอี่ยมชม เฉลิมพล จตุพร พัฒนา สุขประเสริฐ และสุวิสา พัฒนเกียรติ. 2560. การปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวต่อสถานการณ์ภัยแล้งในอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. วารสารเกษตรพระวรุณ 14(2): 191-198.

ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล. 2552. ความรู้และการปฏิบัติในการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47. กรุงเทพฯ. แหล่งข้อมูล https://kukr.lib.ku.ac.th/. (4 พฤษภาคม 2563).

ยุคลธร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา. 2549. การรับรู้ด้านผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและการปรับตัวของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมต่อการเปิดเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย กรณีศึกษา: สมาชิกสหกรณ์โคนมกำแพงแสน จำกัด. วิทยานิพนธ์พัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. แหล่งข้อมูล https://dric.nrct.go.th/Search/ShowFulltext. (20 พฤษภาคม 2563).

วินีกาญจน์ คงสุวรรณ วันดี สุทธรังสี และวิลาวรรณ คริสต์รักษา. 2558. การปรับตัวในการเผชิญภาวะวิกฤตจากอุทกภัยของผูป้ ระสบอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 27(3): 105-118.

สำนักงานปศุสัตว์ เขต 5 กรมปศุสัตว์. 2563. แหล่งข้อมูล http://region5.dld.go.th. (27 เมษายน 2563).

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2546. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. เอกสารวิชาการ. เลี่ยงเชียง, กรุงเทพฯ.

เสกสรร ดวงสิงห์ธรรม ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล สุรพล เศรษฐบุตร พรสิริ สืบพงษ์สังข์ และ อภิญญา รัตนไชย. 2564. ความรู้และการปฏิบัติในการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารแก่นเกษตร 48(ฉบับพิเศษ1): 214-220.