แนวทางการพัฒนาสื่อเพื่อการถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำนาของชุมชน กรณีศึกษา ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

เอกพล ทองแก้ว
บัญชา สมบูรณ์สุข
อภิญญา รัตนไชย

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาสื่อสำหรับการถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำนาของชุมชน กรณีศึกษาในตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเพื่อรวบรวม องค์ความรู้การทำนา ได้แก่ ประธานและคณะกรรมการกลุ่มโรงสีข้าวชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน คณะกรรมการกลุ่มโรงสีข้าวชุมชน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอยา่งที่ใช้ในการทดลองสื่อ ได้แก่ ประชากรที่อาศัยอยู่ในตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จำนวน 120 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสัมภาษณ์แบบประเมินคุณภาพสื่อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ แบบประเมินความพึงพอใจสื่อ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการจำแนกชนิดข้อมูล การวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้ค่าร้อยละ ค่าความถี่ วิเคราะห์ประสิทธิภาพของสื่อใช้เกณฑ์ E1/E2 เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนความรู้โดยทดสอบ t-test ผลการวิจัยพบว่า สื่อที่ชุมชนต้องการใช้เพื่อการถ่ายทอดความรู้คือ โปสเตอร์ แผ่นพับ และวีดิทัศน์ เมื่อพัฒนาสื่อตามความต้องการแล้ว มีผลการประเมินคุณภาพสื่อจากผู้เชี่ยวชาญในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 ผลการประเมินประสิทธิภาพ ของสื่อประสมเท่ากับ 84.22/85.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 85/85 ส่วนผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ก่อนการใช้สื่อและหลังการใช้สื่อพบว่า คะแนนหลังจากการใช้สื่อสูงกว่าก่อนการใช้สื่อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และความพึงพอใจต่อสื่อประสมสำหรับการถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำนาของชุมชนอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 แสดงว่า สื่อที่ได้พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2556. การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 5(1): 1-19.

ณรงค์ สมพงษ์. 2535. สื่อเพื่องานส่งเสริมเผยแพร่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์, กรุงเทพฯ.

ณัฐเขต สัจจะมโน. 2554. การพัฒนาบทเรียนวีดิทัศน์ เรื่อง การจัดองค์ประกอบการถ่ายภาพสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทรงพล พลเยี่ยม. 2550. การสร้างสื่อวีดิทัศน์ เรื่อง จิตรกรรมฝาผนังอีสานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บำเพ็ญ เขียวหวาน. 2559. หน่วยที่ 12 การวิจัยเชิงคุณภาพในงานส่งเสริมการเกษตร. เอกสารการสอนชุดวิชา การวิจัยการส่งเสริมการเกษตร. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

ปรารถนา ศิริสานต์. 2560. การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี จังหวัดพิษณุโลก. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ 10(3): 736-751.

พรวนา รัตนชูโชค และจุฬาวลี มณีเลิศ. 2561. สื่อประสมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 10: 58-70.

สิน พันธุ์พินิจ. 2553. เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2) แก้ไขเพิ่มเติม. วิทยพัฒน์, กรุงเทพฯ.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. 2555. หลักและทฤษฎีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. ระเบียงทอง, กรุงเทพฯ .

องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู. 2561. แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2561-2565 องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู. สงขลา.: องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู. แหล่งข้อมูล http://www.khuanru.go.th/files/com_strategy/2020-03_0bfef67c0872a85.pdf. (10 เมษายน 2563).

Triandis, H.C. 2007. Culture and psychology. In S. Kitayama & D. Cohen (Eds.), Handbook of cultural psychology. Guilford, New York.