ผลกระทบทางสังคมของเกษตรกรจากการผลิตลำไยนอกฤดู ในอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน

Main Article Content

สามารถ ใจเตี้ย
สิวลี รัตนปัญญา
อรอนงค์ ต๊ะอ๊อด

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบทางสังคมของเกษตรกรจากการผลิตลำไยนอกฤดู 2) เพื่อพยากรณ์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลกระทบทางสังคมในกลุ่มเกษตรกร และ 3) เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับการแก้ไขผลกระทบทางสังคมจากการผลิตลำไยนอกฤดู ใช้วิธีการศึกษาแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นเกษตรกรผู้ผลิตลำไยนอกฤดู ในพื้นที่อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน จำนวน 330 ราย รวมถึงตัวแทนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 12 คน รวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบทางสังคมจากการผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76) เมื่อวิเคราะห์อำนาจการพยากรณ์ผลกระทบทางสังคมจากการผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกร มีตัวแปรที่สามารถอธิบายความผันแปรของผลกระทบทางสังคม 2 ตัวแปรย่อย ได้แก่ จำนวนแรงงาน ภาคเกษตรในครัวเรือน และจำนวนพื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตร โดยร่วมกันพยากรณ์ผลกระทบทางสังคม จากการผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกร ได้ร้อยละ 34.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (p – value = 0.014 และ 0.000 ตามลำดับ) ทั้งนี้กระบวนการสัมมนาเชิงปฏิบัติการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เสนอ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการแก้ไขผลกระทบทางสังคมจากการผลิตลำไยนอกฤดู โดยการลดต้นทุนการผลิต การจัดการแรงงานข้ามชาติ และการจัดการทรัพยากรนํ้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เดชรัตน์ สุขกำเนิด วิชัย เอกพลากร และปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. 2545. การประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อการสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ: แนวคิด แนวทาง และแนวปฏิบัติ. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, นนทบุรี.

ธีรนุช เจริญกิจ ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์ วิยะดา ชัยเวช พาวิน มะโนชัย นพดล จรัสสัมฤทธิ์ และยุทธนา เขาสุเมรุ. 2556. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไยนอกฤดู. มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

ปรียาภรณ์ หมื่นลาด และลิวา ผาดไทสง. 2560. ผลกระทบจากแรงงานข้ามชาติในภาคเกษตรกรรม: กรณีศึกษา แรงงานกัมพูชาในพื้นที่สวนลำไย จังหวัดลำพูน. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ 10(2): 558-571.

รุ่งทิพย์ ชัยพรม เกตุมณี มากมี และเสริมศักดิ์ นันทิทรรภ. 2558. กระบวนการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย 6(1): 165-175.

วีระพร ศุทธากรณ์ ธานี แก้วธรรมานุกูล และกัลยาณี ตันตรานนท์. 2561. สิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานในกลุ่มผู้ปลูกลำไย. พยาบาลสาร 45(2): 135-147.

สายสกุล ฟองมูล และกังสดาล กนกหงษ์. 2560. การจัดการแรงงานภาคเกษตรของเกษตรกรชาวสวนลำไย จังหวัดเชียงใหม่.วารสารวิจัยและส่งเสริมการเกษตร 34(3): 73-78.

สามารถ ใจเตี้ย. 2564. การผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกร อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วารสารวิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ 2(1): 35-44.

สำนักงานการเกษตรจังหวัดลำพูน. 2562. การผลิตลำไยในจังหวัดลำพูน ปี 2562. แหล่งข้อมูล http://www.lamphun.doae.go.th/. (18 มีนาคม 2563)

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรายได้ รายจ่าย การออมหนี้สิน ปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจก่อหนี้และความต้องการกู้ของครัวเรือนเกษตร. แหล่งข้อมูล http://www.oae.go.th/view/1/ภาวะการเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนและแรงงานเกษตร/31803/TH-TH. (22 พฤศจิกายน 2563)

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. ข้อมูลการผลิตการเกษตร. แหล่งข้อมูล http://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/longan%2062%20dit.pdf. (22 พฤศจิกายน 2563)

อรุณี กายฤทธิ์. 2553. การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตลำไยนอกฤดูกาล ในตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจการเกษตร. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Cronbach, L.J. 1951. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika 16: 297-334.

Daniel, W.W. 2010. Biostatistics: basic concepts and methodology for The health sciences (9th ed.). New York: John Wiley & Sons. Grow Asia. 2020. Rapid assessment of fruit value chain in Cambodia 2020. Available: http://exchange.growasia.org/system/files/CPSA_Rapid%20Fruit%20Value%20Chain%20Assessment%20Report.pdf. (June 8, 2020)

Joshi, A., S. Kale, S. Chandel and D.K. Pal. 2015. Likert Scale: explored and explained. British Journal of Applied Science & Technology 7(4): 396-403.

Matthew, B.M., A.H. Michael and S. Johnny. 2014. Qualitative data analysis: a methods sourcebook (3nd ed). Arizona: SAGE Publications, Inc.

Montgomery, D.C., E.A. Peck and G.G. Vining. 2012. Introduction to linear regressionanalysis. 5thed. New Jersey: John Wiley & Sons.

Qiu, D.L. 2014. Longan production and research in China. Acta horticulturae 1029: 39-46.