ความหลากหลายทางพันธุกรรมและปริมาณสารแคปไซซินในพริกพื้นเมืองที่มีศักยภาพของประเทศไทย

Main Article Content

มณเทียน แสนดะหมื่น
สนธิชัย จันทร์เปรม
บุบผา คงสมัย

บทคัดย่อ

     พริกขี้หนูพื้นเมืองผลเล็กเป็นพืชท้องถิ่นที่มีศักยภาพ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในอาหารพื้นบ้านของไทย ปัจจุบันมีการใช้สารสกัดจากพริกเพื่อทำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและยามากขึ้น จำเป็นต้องทำการสำรวจและศึกษาปริมาณสารแคปไซซินที่สำคัญของพริกพื้นเมือง เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความหลากหลายของพันธุ์พ ริกท้องถิ่นและเป็นข้อมูลในการพัฒนาพันธุ์พริกต่อไป ดำเนินการสำรวจและรวบรวมพริกพื้นเมืองผลเล็กจำนวน 42 สายพันธุ์ จาก 16 แหล่งปลูกของประเทศไทย โดยทำการศึกษาสัณฐานวิทยา ตามเอกสารอธิบายของ IBPGR วิเคราะห์โมเลกุลดีเอ็นเอโดยใช้เทคนิค AFLP และการวิเคราะห์ปริมาณของสารแคปไซซินพริกพื้นเมืองที่เก็บรวบรวม นำผลไปทำการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (PCA) และการวิเคราะห์จัดกลุ่ม ซึ่งสามารถจำแนกพริกพื้นเมืองออกเป็นสี่กลุ่มหลักโดยไม่ขึ้นกับชนิดของพริกและแหล่งที่มาของการรวบรวม การวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมระดับชีวโมเลกุลโดยใช้ไพรเมอร์ 10 คู่ ปรากฏแถบดีเอ็นเอ 153 แถบ วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือน Dice Similarity coefficient และจัดกลุ่มด้วยวิธี UPGMA (Unweighted pair group method with arithmetic average) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความคล้ายคลึงกันในช่วง 0.19-0.85 แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ทำการปลูกเปรียบเทียบผลผลิตและปริมาณแคปไซซิน โดยพบว่าพริกพื้นเมืองที่ศึกษาที่มีศักยภาพในการผลิตและพัฒนาพันธุ์ต่อไป จำนวน 10 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์พริกพื้นเมืองที่ให้ผลผลิตสูง 5 สายพันธุ์ ได้แก่ KRIC004, KRIC002, LEIC003,TAKC001 และ NSTC001 และพริกพื้นเมืองที่มีปริมาณสารแคปไซซินสูง จำนวน 5 สายพันธุ์ ได้แก่ MHSC077, MHSC073, PBIC001, MHSC038, PREC001 และ MHSC033

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชลธิชา นิวาสประกฤติ. 2542. การเปรียบเทียบการใช้เทคนิค DNA marker ในการศึกษาเชื้อพันธุกรรมของพริก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน, คณะเกษตร,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิทยา สรวมศิริ. 2551. อุตสาหกรรมพืชเครื่องเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์วนิดาเพรส. เชียงใหม่.

มณีฉัตร นิกรพันธุ์. 2541. พริก. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.

วิลาวัณย์ ใคร่ครวญ. 2558. การปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตพริก. รายงานชุดโครงการวิจัยและพัฒนาพริก กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ.

สุชีลา เตชะวงค์เสถียร และนิวัฒน์ มาศวรรณา. 2549. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์การศึกษาสถานภาพการผลิต และความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อผลผลิตคุณภาพและปริมาณสาร capsaicin ในพริกพันธุ์การค้าในเขตจังหวัดชัยภูมิ เลย นครราชสีมา และเพชรบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ.

อรรัตน์ มงคลพร และสิริกุล วะสี. 2558. การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและการจำแนกพริกพื้นเมืองในประเทศไทย. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Camacho V., T.C., N. Maxted, M. Scholten and B. Ford-Lloyd. 2005. Defining and identifying crop landraces. Plant Genetic Resources: Characterization and Utilization. 3(3): 373-384.

Cardoso, R., C.F. Ruas, R.M. Giacomin, P.M. Ruas, E.A. Ruas, R.L. Barbieri, R. Rodrigues and L.S.A. Gonçalves. 2018. Genetic variability in Brazilian Capsicum baccatum germplasm collection assessed by morphological fruit traits and AFLP markers. PLoS ONE, 13, e0196468 Available: https://doi.org/10.1371/journal.pone.0196468 (October 25, 2021.)

FAOSTAT. 2021. Major food and agricultural commodities and producers. Available:http://faostat.fao.org (October 25, 2021.)

Hammer, Ø., D.A.T. Harper and P.D. Ryan. 2001. PAST: Paleontological statistics software package for education and data analysis. Palaeontologia Electronica. 4(1).

IBPGR Secretariat. 1983. “Genetic resources of Capsicum” International Board for Plant Genetic Resources, AGPG/IBPGR/82/12, Rome.

Kraikruan W., S. Sukprakarn, O. Mongkolporn and S. Wasee. 2008. Capsaicin and dihydrocapsaicin contents of Thai chili cultivar. Kasetsart Journal (Natural Science). 42(4): 611-616.

Krishnamurthy S.L., Y. Prashanth, A. Mohan Rao, K. Madhavi Reddy and R. Ramachandra. 2015. Assessment of AFLP marker based genetic diversity in chilli (Capsicum annuum L. & C. baccatum L.). Indian J. Biotechnol. 14(1): 49-54.

Maga, J.A. 1975. Capsicum. Crit. Rev. Food Sci. Nutr. 6(2): 177-199.

Matthew, C., C.R.O. Lawoko, C.J. Korte, and D. Smith. 1994. Application of canonical discriminant analysis, principal component analysis, and canonical correlation analysis as tools for evaluating differences in pasture botanical composition. New Zealand Journal of Agricultural Research. 37: 509-520.

Othman, Z.A.A., Y.B.H. Ahmed, M.A. Habila and A.A. Ghafar. 2011. Ghafar Determination of capsaicin and dihydrocapsaicin in Capsicum fruit samples using high performance liquid chromatography. Molecules 2011. 16: 8919-8929.

Pla, E. 1986. Análisis multivariado: Método de componentes principales. 94 p. Secretaría General de la Organización de los Estados Americanos, Washington, DC, USA.

Purseglove, J.W. 1968. Tropical Crops Dicotyledons 2. Longmans Green and Co. Ltd., London.

Saitou, N. and M. Nei 1987. The neighborjoining method: A new method for reconstructing phylogenetic trees. Molecular Biology and Evolution. 4: 406-425.

Saliba, V.C.M. Causse, L. Gervais and J. Philouze. 2000. Efficiency of RFLP, RAPD and AFLP markers for the construction of an intraspecific map of the tomato genome. Genome. 43: 29-40.

Sørensen, T. 1948. A method of establishing groups of equal amplitude in plant sociology based on similarity of species and its application to analyses of the vegetation on Danish commons. Kongelige Danske Videnskabernes Selskab. 5(4): 1-34.

Weiss, E.A. 2002. Spice Crops. CABI publishing, London.