ผลของการพอกเมล็ดด้วยเมทิลไฮดรอกซีเอทิล เซลลูโลส และ คาร์บอกซีเมทิล เซลลูโลส ต่อลักษณะทางกายภาพและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม

Main Article Content

เพชรรัตน์ จี้เพชร
จักรพงษ์ กางโสภา

บทคัดย่อ

     เมล็ดพันธุ์ผักกาดหอมมีขนาดเล็ก และมีอาหารสะสมในเมล็ดน้อย เมื่อนำไปเพาะต้นกล้ามีความงอกและความแข็งแรงต่ำ เกษตรกรจึงนำเข้าเมล็ดที่ผ่านการพอกจากต่างประเทศ การสร้างสูตรสารพอกขึ้นใช้เองภายในประเทศจึงมีความสำคัญต่อการยกระดับการเพาะปลูกผักกาดหอมในประเทศไทย ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาชนิดและความเข้มข้นของวัสดุประสานที่เหมาะสมสำหรับการพอกเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอมเรดโอ๊ค วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 4 ซ้ำ โดยมีกรรมวิธีดังนี้คือ การพอกเมล็ดด้วย Methyl hydroxylethyl cellulose (MHEC) และ Carboxylmethyl cellulose (CMC) ที่ความเข้มข้นแตกต่างกัน 5 ระดับเช่นเดียวกันคือ 0.3%, 0.4%, 0.6%, 0.8% และ 1.0% (w/v) ตามลำดับ โดยใช้ zeolite เป็นวัสดุพอก ที่อัตรา 130 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม 10 กรัม โดยมีผลการทดลองดังนี้ การพอกเมล็ดด้วย MHEC และ CMC ที่ความเข้มข้นเท่ากันคือ 0.3% และ 0.4% (w/v) ทำให้การขึ้นรูปก้อนพอกเมล็ดอยู่ที่ระดับง่ายที่สุด และง่าย ตามลำดับ เมื่อตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์หลังการพอกเมล็ดพบว่า การพอกเมล็ดด้วย CMC ที่ความเข้มข้น 0.4%, 0.6% และ 0.8% (w/v) มีความเร็วในการงอกสูงและแตกต่างทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น ๆ หลังทดสอบในสภาพห้องปฏิบัติการ ส่วนการพอกเมล็ดด้วย CMC ที่ความเข้มข้น 0.4% (w/v) มีความยาวรากและความยาวต้นกล้ามากกว่าและแตกต่างทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดที่ไม่ได้ผ่านการพอก การพอกเมล็ดด้วย CMC ที่ความเข้มข้น 0.4% (w/v) เป็นชนิดและความเข้มข้นที่เหมาะสมสำหรับใช้พอกร่วมกับเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอมพันธุ์เรดโอ๊คมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

จักรพงษ์ กางโสภา, สาขาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ชื่อ: อาจารย์ ดร.จักรพงษ์ กางโสภา (Lecturer Dr. Jakkrapong Kangsopa)

คุณวุฒิ :
1. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พืชไร่), มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พืชไร่), มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3. วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์), มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ตำแหน่ง: อาจารย์ประจำ สาขาวิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ที่อยู่หน่วยงาน: สาขาวิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290

ความเชี่ยวชาญ: seed plants, seed technology, seed science, seed priming, seed coating, priming, การผลิตเมล็ดพันธุ์, เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์, การเคลือบเมล็ดพันธุ์, การพอกเมล็ดพันธุ์, การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์, การปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์, การไพร์มเมล็ด, วิทยาการเมล็ดพันธุ์, กระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวพืชไร่

E-mail: [email protected], [email protected]

เบอร์โทรติดต่อ: 094-7374598

 

References

กุณฑิกา ดํารงปราชญ์ และเกศรา ชูคําสัตย์. 2549. อิทธิพลของพลาสทิไซเซอร์ต่อการปลดปล่อยยาที่ละลายน้ำได้ดีจากเม็ดยาออสโมติกปั๊มชนิดรูพรุน. โครงการพิเศษปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

จวงจันทร์ ดวงพัตรา. 2529. เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

จักรพงษ์ กางโสภา และบุญมี ศิริ. 2556. ผลของการพอกเมล็ดด้วย pumice zeolite และ bentonite ต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ยาสูบพันธุ์เวอร์จิเนีย. วารสารแก่นเกษตร 41(พิเศษ 1): 257-262.

จักรพงษ์ กางโสภา และบุญมี ศิริ. 2558. ศักยภาพของการใช้ carboxymethyl cellulose และ hydroxypropyl methylcellulose เป็นวัสดุประสานสำหรับการพอกเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม. วารสารแก่นเกษตร 43(พิเศษ 1): 268-273.

จักรพงษ์ กางโสภา. 2563. วัสดุประสานสำหรับการพอกเมล็ดพันธุ์. วารสารแก่นเกษตร 48(1): 119-130.

ดวงกมล ศรีราจันทร์ และเตชิษฐ์ ประสิทธิ์วุฒิเวช. 2549. การพัฒนาตำรับพญายอสำหรับใช้ภายนอก. โครงการพิเศษ ปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุญมี ศิริ. 2558. การปรับปรุงสภาพและการยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์. คลังนานาวิทยา, ขอนแก่น.

ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร. 2564. รายงานข้อมูลภาวะการผลิตพืชจำแนกตามพื้นที่. แหล่งข้อมูล https://bit.ly/2ZZce53 (15 ตุลาคม 2564).

ลดา พันธ์สุขุมธนา. 2552. ปูนปลาสเตอร์กับการนำกลับมาใช้. วารสารเซรามิกส์ 3(3): 34-35.

วันชัย จันทร์ประเสริฐ. 2553. สรีรวิทยาเมล็ดพันธุ์. คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ศศิประภา บัวแก้ว และบุญมี ศิริ. 2561. ลักษณะทางกายภาพและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอมหลังการพอกด้วยวัสดุประสานและวัสดุพอกที่แตกต่างกัน. วารสารแก่นเกษตร 46(3): 469-480.

สันติภาพ ไชยสาร จักรพงษ์ กางโสภา และบุญมี ศิริ. 2561. ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ด้วยวัสดุประสานชนิดแตกต่างกันต่อลักษณะทางกายภาพของก้อนพอกและคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม. วารสารแก่นเกษตร. 46(พิเศษ 1): 36-42.

สันติภาพ ไชยสาร และบุญมี ศิริ. 2562. ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ด้วยวัสดุพอกที่แตกต่างกันต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์และลักษณะทางกายภาพของก้อนพอกมะเขือเทศลูกผสม. วารสารแก่นเกษตร 47(3): 467-478.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564. การนำเข้าและส่งออก. แหล่งข้อมูล http://impexp.oae.go.th/service/ (2 พฤศจิกายน 2564).

สุวารี ก่อเกษตรวิศว์. 2551. ผลของสารเคลือบที่มีต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Anbarasan, R., P. Srimathi, and A. Vijayakumar. 2016. Influence of seed pelleting on seed quality improvement in redgram (Cajanus cajan L.). Legume Res. 39(4): 584–589.

Anderson, R.A., H.F. Conway, V.F. Pfeifer, and E.L. Griffin. 1969. Gelatinization of corn grits by roll and extrusion cooking. Cereal Sci. Today. 14: 4-12.

AOSA. 1983. Seed vigor testing handbook. Association of Official Seed Analysts, New York.

Chindaprasirt, P., K. Boonserm, T. Chairuangsri, W. Vichit-Vadakan, T. Eaimsin, T. Sato, and K. Pimraksa. 2011. Plaster material from waste calcium sulfate containing chemicals, organic fibers and inorganic additive. Constr. Build. Mater. 25: 3193-3203.

ISTA. 2019. International rules for seed testing, Edition 2019. International Seed Testing Association, Bassersdorf.

Rowe, R.C., P.J. Sheskey, and M.E. Quinn. 2009. Handbook of pharmaceutical excipients. 6th Edition. Pharmaceutical Press, London.

Science Notes. 2021. The pH scale of common chemicals. Available: https://sciencenotes.org/the-ph-scale-of-common-chemicals (November 3, 2021).