ผลของการใช้นํ้าไหลผ่านสนามแม่เหล็กต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวเหนียวลืมผัว
Main Article Content
บทคัดย่อ
สำหรับการใช้เทคโนโลยีด้านสนามแม่เหล็กเพื่อปรับสภาพนํ้าสำหรับพืชในการนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้นนั้น ในการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้เทคนิคแบบนํ้าไหลผ่านสนามแม่เหล็ก เพื่อทดสอบการกระตุ้นการงอกการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตข้าวเหนียวลืมผัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์มีทั้งหมด 4 สิ่งทดลอง โดยเป็นการใช้นํ้าไหลผ่านสนามแม่เหล็กที่สร้างจากแม่เหล็กที่แตกต่างกัน 3 ชนิด คือ 1) แม่เหล็กเฟอร์ไรท์ 2) แม่เหล็กนีโอไดเมียม 3) แม่เหล็กซามาเรียม และ 4) นํ้าเปล่า ผลการวิจัยพบว่า นํ้าไหลผ่านสนามแม่เหล็กมีผลทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่างของนํ้าเพิ่มขึ้น ในส่วนค่าการนำไฟฟ้าค่าของแข็งที่ละลายนํ้าทั้งหมด มีเพียงนํ้าที่ไหลผ่านแม่เหล็กซามาเรียมที่มีค่าสูงกว่านํ้าเปล่า แต่คุณสมบัติของนํ้าที่เปลี่ยนไปไม่สามารถเพิ่มร้อยละความงอกและระยะเวลาในการงอก สำหรับการเจริญเติบโตในระยะแตกกอจนถึงการเก็บเกี่ยวพบว่า ความสูงต้น และค่าความเขียวของใบไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติการใช้นํ้าไหลผ่านแม่เหล็กซามาเรียมให้ค่าประสิทธิภาพการใช้แสงของระบบ PSII สูงกว่าการใช้นํ้าเปล่าในช่วง 103 วันหลังหยอดเมล็ด ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ปริมาณของอัตราการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอน มีปริมาณสูงในช่วง 61 และ 117 วัน หลังหยอดเมล็ด และคุณภาพผลผลิตนั้นไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คำหล้า แสงรัศมี. 2558. ผลกระทบของการอาบสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กคงที่ต่ออัตราการงอกและการเจริญเติบโตของข้าวเจ้าแดงจาก สปป.ลาว. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐพล ภู่ระหงษ์ วรชัย ศรีสมุดคำ และการันต์ ผึ่งบรรหาร. 2563. ระบบนํ้าพลังงานสนามแม่เหล็กเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของผักไฮโดรโปนิกส์. ใน The 7th NEU National Conference 2020 (NEUNC 2020) May 30, 2020 North Eastern University. 655-664.
ณัทปภา จันทร์โสม ณัฐวุฒิ สุวรรณทา และวรวัฒน์ เสงี่ยมวิบูล. 2556. การกระตุ้นด้วยสนามแม่เหล็กถาวรที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของถั่วงอก. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5: 26-33.
ปทุมทิพย์ สังขพันธุ์. 2550. การศึกษาผลกระทบของสนามแม่เหล็กต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ร่มฉัตร ยูรประถม. 2540. ผลกระทบของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีต่อการเจริญเติบโตของเมล็ดถั่วเขียว. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วนิดา สงสัยเกตุ. 2557. ผลของสนามแม่เหล็กต่อการเจริญเติบโตและการดูดกลืนธาตุอาหารของข้าวหอมไชยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี.
วัลลภ สันติประชา. 2550. บทปฏิบัติการเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์. ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่, สงขลา.
วิญญู ศักดาทร. 2560. การพัฒนาอุปกรณ์พัฒนาคุณภาพนํ้าผึ้งโดยใช้สนามแม่เหล็ก. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการออกแบบและผลิตแบบบูรณาการ, คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
สำนักงานเกษตรอำเภอเขาค้อ. 2560. ข้าวเหนียวลืมผัว. มปท. แหล่งข้อมูล http://khaokho.phetchabun.doae.go.th/pictrue/rice%20back.pdf (6 กันยายน 2560).
อภิชาติ เนินพลับ อัจฉราพร ณ ลำปาง เนินพลับ สุรีย์ ศรีวันทนียกุล นลินี เจียงวรรธนะ สุพัตรา สุวรรณธาดา สอาง ไชยรินทร์ ดวงอร อริยพฤกษ์ พงศา สุขเสริม ภมร ปัตตาวะตัง ควพร พุ่มเชย พรสุรี กาญจนา เจตน์ คชฤกษ์ พจน์ วัจนภูมิ เยาวลักษณ์ กันยะมี สุธีรา มูลศรี ศิลาวัน จันทรบุตร ธิติมา ขันติยวิชย์ จรัญจิต เพ็งรัตน์ และสุภาณี จงดี. 2559. ข้าวเหนียวพันธุ์ลืมผัว. วารสารวิชาการข้าว 7(2): 47-62.
อาภรณ์ ติวิธมไหศูรย์. 2544. การกำจัดอิออนจากนํ้าบาดาลโดยใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าและสนามไฟฟ้าสถิต. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
De Souza, A., D. García, L. Sueiro and F. Gilart. 2014. Improvement of the seed germination, growth and yield of onion plants by extremely low frequency non-uniform magnetic fields. Scientia Horticulturae. 176: 63-69.
Jaime, A.T. and J. Dobranszki. 2016. Magnetic fields: how is plant growth and development impacted. Protoplasma. 253: 231-248.
Mahdi, O.K., M.D. Ahmed and S.M.A. Al-Ani. 2019. Magnetic field influence on the properties of water treated by reverse osmosis. Engineering, Technology & Applied Science Research. 9(4): 4433-4439.
Selim, A.F.H. and M.F. El-Nady. 2011. Physioanatomical responses of drought stressed tomato plants to magnetic field. Acta Astronautica. 69(7-8): 387-396.
Vashisth, A. and S. Nagarajan. 2010. Effect on germination and early growth characteristics in sunflower (Helianthus annuus) seeds exposed to static magnetic field. Journal of Plant Physiology. 167(2): 149-156.