การผลิตและการตลาดของเกษตรกรในกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งโพรงไทยในจังหวัดพัทลุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตและการตลาดของเกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งโพรงไทยในจังหวัดพัทลุง จากกลุม่ ตัวอย่างจำนวน 130 ราย เก็บรวบรวมขอ้ มูลโดยแบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งโพรงไทยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 54.65 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีการเลี้ยงผึ้งเป็นอาชีพเสริม จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.88 คนต่อครัวเรือน แรงงานเฉลี่ย 2 คนต่อครัวเรือน มีพื้นที่เฉลี่ย 14.07 ไร่ มีการเลี้ยงผึ้ง 2 รูปแบบ คือ การเลี้ยงผึ้งแบบดั้งเดิมและแบบนวัตกรรม มีการเลี้ยงผึ้งแบบดั้งเดิมมากที่สุด จำนวนครั้งในการเก็บผลผลิตต่อปีเฉลี่ย 1.46 ครั้ง และการเลี้ยงแบบนวัตกรรม จำนวนครั้งในการเก็บผลผลิตต่อปีเฉลี่ย 2.63 ครั้ง สถานที่ตั้งเป็นบริเวณสวนยางพารา มีแหล่งอาหารที่เพียงพอ มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตนํ้าผึ้งด้วยตนเอง ใช้อุปกรณ์ในการป้องกันการจับผึ้ง ผลิตภัณฑ์นํ้าผึ้งจำหน่ายไปยังลูกค้าที่หน้าร้านโดยตรงและแบบออนไลน์ นํ้าผึ้งบรรจุขวดขนาด 750 ลูกบาศก์เซนติเมตร วางจำหน่ายสำหรับขายปลีกราคา 500 บาท และสำหรับขายส่งราคา 350 บาท และนํ้าผึ้งบรรจุขวดขนาด 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร วางจำหน่ายสำหรับขายปลีกราคา 250 บาทและสำหรับขายส่งราคา 230 บาท อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์นํ้าผึ้งนี้ยังไม่มีตราสินค้า นอกจากนี้รายได้จากการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยรูปแบบดั้งเดิมเฉลี่ย 11,905.70 บาทต่อปี และรูปแบบนวัตกรรมเฉลี่ย 18,337.50 บาทต่อปี ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิต การตลาด การแปรรูปผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการเพิ่มหรือสร้างโอกาสให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งได้เรียนรู้ ได้ฝึกฝนให้เกิดทักษะ และมีการพัฒนาด้านการตลาดอย่างต่อเนื่อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2556. องค์ความรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสู่การเป็น smart officer ผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.
นิรมล ตรีตราเพ็ชร ทวีแจ่ม จำรัส และวิทธิลักษณ์ จันทร์ธนสมบัติ. 2564. องค์ประกอบที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงผึ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 6(5): 359-377.
ภรณี มณีโชติ สุรินทร์ อ้นพรม และพสุธา สุนทรห้าว. 2563. การวิเคราะห์โซ่คุณค่าของการเลี้ยงผึ้งแบบธรรมชาติในพื้นที่ป่า: กรณีศึกษาชุมชนห้วยหินลาดใน อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย. วารสารวนศาสตร์ไทย 39(1): 165-175.
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. 2553. ระเบียบการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุดรธานี: อักษรศิลป์การพิมพ์.
สมนึก บุญเกิด และธนานิธ เสือวรรณศรี. 2544. ผึ้งแมลงที่มีแต่ให้. สำนักพิมพ์มติชน, กรุงเทพฯ.
สมฤทธิ์ มากสง. 2559. ความหลากหลายของพืชอาหารของผึ้งในหมู่บ้านทิพุเย ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 24(1): 76-86.
สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง. 2562. ข้อมูลสถิติกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งโพรงไทยในจังหวัดพัทลุง พ.ศ. 2562.
สุมิตร คุณเจตน์ นิสาชล เทศศรี ทัตพล พุ่มดารา และสหัชชา สุทธิผล. (2560). ผลของการลดความชื้นต่อการคงคุณภาพของนํ้าผึ้งชันโรง. วารสารแก่นเกษตร 45(ฉบับพิเศษ 1): 1355-1359.
สุรชัย ศรีนรจันทร์ และบุหงา ชัยสุวรรณ. 2562. กระบวนการสร้างตราสินค้าและการสื่อสารการตลาดออนไลน์สินค้าเกษตรอินทรีย์. วารสารวิชาการเกษตร 37(2): 177-185.
โสภาวรรณ ลักษณา บำเพ็ญ เขียวหวาน และ พรชุลีย์ นิลวิเศษ. 2556. การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยของเกษตรกรตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. 26-27 พฤศจิกายน 2557. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สุโขทัย. น. 1-10.