ปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรบนพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

กริช สุริยะชัยพันธ์
พหล ศักดิ์คะทัศน์
สายสกุล ฟองมูล
สถาพร แสงสุโพธิ์

บทคัดย่อ

     การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และความพร้อมเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร และ 4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรบนพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ เกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์และอาศัยอยู่บนพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 276 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน (Two-stage sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบคัดเลือกเข้า
    ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 45 ปี อยู่ในสถานภาพสมรส สำเร็จการศึกษาสูงสุดในระดับประถมศึกษาหรือตํ่ากว่า มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2 คน มีรายได้ในภาคเกษตรอินทรีย์เฉลี่ย 45,984 บาทต่อปี มีพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์ เฉลี่ย 3.5 ไร่ ชนิดพืชที่ปลูกเป็นหลัก คือ พืชผัก มีประสบการณ์ในการทำเกษตรอินทรีย์เฉลี่ย 11 ปี เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มในชุมชนเฉลี่ย 2 กลุ่ม ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์เฉลี่ย 6 ครั้งต่อปี เข้าร่วมฝึกอบรม ด้านเกษตรอินทรีย์เฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี เข้าร่วมศึกษาดูงานเกษตรอินทรีย์เฉลี่ย 0.4 ครั้งต่อปี ได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์เฉลี่ย 31 ครั้งต่อปี อีกทั้งเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์อยู่ในระดับมาก มีทัศนคติต่อการทำเกษตรอินทรีย์อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก มีความพร้อมต่อการทำเกษตรอินทรีย์อยู่ในระดับพร้อมมาก สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรอินทรีย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางบวก ได้แก่ สถานภาพ รายได้จากการทำเกษตรอินทรีย์ การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ทางการเกษตร การรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ ทัศนคติเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ ความพร้อมเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ และความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ นอกจากนั้นยังมีปัจจัยที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางลบ ได้แก่ ระดับการศึกษาสูงสุด ประสบการณ์ในการทำเกษตรอินทรีย์ และการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มในหมู่บ้านสำหรับปัญหาในการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรที่สำคัญ ได้แก่ พื้นที่ทำกินอยู่ในเขตป่าสงวน ไม่สามารถครอบครองเป็นกรรมสิทธิ์ได้ เกษตรกรขาดแคลนทุนทรัพยใ์ นการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการทุ่นแรงที่จำเป็น กล้าพันธุ์พืชมีราคาแพงและไม่สมบูรณ์ ขาดความรู้ในการจัดการโรคพืช ศัตรูพืช และแมลงศัตรูพืช ผลผลิตที่ได้รับไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการของตลาด การขนส่งที่ยากลำบากบนพื้นที่สูง และช่องทางการตลาดที่ไม่เพียงพอ ส่วนข้อเสนอแนะ คือ ควรจัดการให้เกษตรกรได้รับสิทธิในที่ดิน สนับสนุนแหล่งทุนเบี้ยต่ำเพื่อหนุนเสริมการจัดซื้อเครื่องทุ่นแรงที่จำเป็น และการสนับสนุนองค์ความรู้และวิทยาการใหม่ในการทำเกษตรอินทรีย์อย่างครบวงจรตั้งแต่กระบวนการผลิต การแปรรูป และการตลาด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ. 2563. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติฉบับที่ 1 พ.ศ. 2551-2554.

จักรพงษ์ พวงงามชื่น พูนพัฒน์ พูนน้อย และทองเลียน บัวจูม. 2559. ความพร้อมและความต้องการของเกษตรกรในการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์อินทรีย์ สำหรับโรงงานอาหารสัตว์อินทรีย์ภาคเหนือตอนบน. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 33(3): 35-45.

นราศิณี แก้วใหลมา สุรพล เศรษฐบุตร บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล และประทานทิพย์ กระมล. 2560. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร ตำบลแม่หอพระอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 33(3): 387-395.

ปภพ จี้รัตน์ พุฒิสรรค์ เครือคำ พหล ศักดิ์คะทัศน์ และสายสกุล ฟองมูล. 2561. ปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 36(1): 55-67.

ประชุม สุวัตถี. 2541. การสุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. วารสารพัฒนาบริหารศาสตร์ 38(3): 103-130.

พหล ศักดิ์คะทัศน์ และพุฒิสรรค์ เครือคำ. 2560. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกทำการเกษตรแบบเคมีหรือแบบอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 34(2): 66-77.

พุฒิสรรค์ เครือคำ ทวีชัย คำทวี และปภพ จี้รัตน์. 2562. ปัจจัยที่สัมพันธ์์กับทัศนคติต่อการถ่ายทอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรชนเผ่าบนพื้นที่สูงในพื้นที่โครงการหลวง. วารสารผลิตกรรมการเกษตร 1(1): 29-41.

วนิดา วาดีเจริญ รังสรรค์ เลิศในสัตย์ และสมบัติ ทีฆทรัพย์. 2560. ระเบียบวิธีวิจัย จากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. ซีเอ็ดยูเคชั่น, กรุงเทพฯ.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. 2553. สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. สุวีริยาสาส์น, กรุงเทพฯ.

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 2562. แผนการวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2545. การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง, กรุงเทพฯ.

อภิเดช ชัยพิริยะกิจ สายสกลุ ฟองมูล พุฒิสรรค์ เครือคำ ปภพ จี้รัตน์ นภารัศม์ เวชสิทธิ์นิรภัย และทวีชัย คำทวี. 2562. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารผลิตกรรมการเกษตร 1(1): 43-53.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. Harper and Row Publication, New York.