การพัฒนาสูตรชาที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากพืชอินทรีย์และการประเมินคุณภาพ

Main Article Content

วุฒิพงค์ ครอบบัวบาน
วิลาวรรณ์ เชื้อบุญ

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรชาผสมจากพืชอินทรีย์ 5 ชนิดที่มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระโดยมีส่วนผสมพืชหลัก ได้แก่ ใบหม่อน บัวบก ปัญจขันธ์ พรมมิ และหญ้าหวาน ซึ่งสามารถพัฒนาสูตรชาผสมจากพืชอินทรีย์ จำนวน 5 สูตร โดยศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี การวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ด้วยวิธีการทำลายอนุมูลอิสระดีพีพีเอช (diphenyl-picryhydrazyl (DPPH) radical scavenging assay) ความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริกของสารต้านอนุมูลอิสระ (Ferric ion reducing antioxidant power: FRAP) และการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยการฟอกสีอนุมูลอิสระ (ABTS radical cation decolorization assay) ในน้ำชาจากพืชอินทรีย์ทั้ง 5 สูตร ที่พัฒนาขึ้น พบว่าชาจากพืชอินทรีย์ทั้ง 5 สูตร มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระไปในทิศทางเดียวกัน โดยสูตรที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุด (P≤0.05) คือ สูตรที่ 5 มีอัตราส่วนผสมของพืชอินทรีย์ คือ  ใบหม่อน : พรมมิ : บัวบก : ปัญจขันธ์ : หญ้าหวาน (0.35 : 0.35 : 0.20 : 0.10 : 0.25 กรัม) มีปริมาณฟีนอลิกรวม, DPPH, FRAP และ ABTS เท่ากับ 18.21±0.86  มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิก/กรัมของน้ำหนักแห้ง 52.64±1.84 มิลลิกรัมสมมูลของโทรลอกซ์/กรัมของน้ำหนักแห้ง 83.84±1.41 มิลลิกรัมสมมูลของโทรลอกซ์/กรัมของน้ำหนักแห้ง และ 48.52±1.67 มิลลิกรัมสมมูลของไอร์ออนทู/กรัมของน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ รองลงมาคือสูตรที่ 2 สูตรที่ 3 สูตรที่ 1 และสูตรที่ 4 ตามลำดับ
     การประเมินคุณภาพและอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ชาจากพืชอินทรีย์ พบว่า การเปลี่ยนแปลงคุณภาพทางจุลินทรีย์ของผลิตภัณฑ์ชาจากพืชอินทรีย์ในระหว่างการเก็บรักษาเป็นเวลา 60 วัน ที่อุณหภูมิ 35 45 และ 55 องศาเซลเซียส ของผลิตภัณฑ์มีจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดและจำนวนยีสต์และรา ไม่พบการเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลาการเก็บทั้ง 60 วัน ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ของผลิตภัณฑ์ชาจากพืชที่กำหนดไว้ และผลการประเมินอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์โดยวิธีสภาวะเร่ง พบว่าสามารถเก็บผลิตภัณฑ์ที่อุณหภูมิ 55 และ 45 องศาเซลเซียส ได้นาน 36 และ 120 วัน ตามลำดับ และการทำนายอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ที่ 30 พบว่าผลิตภัณฑ์สามารถเก็บได้นาน 721 ซึ่งผลิตภัณฑ์ชาผสมจากพืชอินทรีย์ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพทางเคมี กายภาพ และจุลินทรีย์ เป็นไปตามมาตรฐานชาจากพืช (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 426) พ.ศ. 2564 เรื่อง ชาจากพืช)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกนก องคนินันท์. 2561. พรมมิ สมุนไพรบำรุงความจำ. พิษณุโลก. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์. 2561. พัฒนาอาหารเสริมจากสารสกัดใบหม่อนมีสรรพคุณช่วยเพิ่มความจำ กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นมาสู่เชิงพาณิชย์. แหล่งข้อมูล http://www3.dmsc.moph.go.th/post-view/415 (1 ธันวาคม 2564).

กระทรวงสาธารณสุข. 2564. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 426) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง ชาจากพืช. แหล่งข้อมูล http://food.fda.moph.go.th/law/index.php. (1 ธันวาคม 2564).

นิธิยา รัตนาปนนท์. 2557. เคมีอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 5. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.

วุฒิพงค์ ครอบบัวบาน. 2564. การพัฒนาชาจากพืชอินทรีย์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเกษตรอินทรีย์. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศจี สุวรรณศรี. 2551. หลักการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการประเมินทางประสาทสัมผัส. ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

อนงค์ ศรีโสภา และกาญจนา วงศ์กระจ่าง. 2563. การพัฒนาสูตรชาสมุนไพรใบหม่อนผสมสมุนไพรให้กลิ่นหอมที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านเอนไซม์กลูโคซิเดส. Thai Journal of Science and Technology. 9(2):218-229.

AOAC. 2005. Official Methods of Analysis. 18th ed. The Association of Official Analytical Chemists (AOAC), Washington D.C.

Arun, M., V. Gombar, M. Gupta, S. Sinha and Y. Shamsi. 2017. Effectiveness of Centella asiatica (brahmi) in various illnesses: a review. International journal of current medical and pharmaceutical research. 3(12) :2748-2752.

Benzie, I. and J. Strain. 1996. The ferric reducing ability of plasma (FRAP) as a measure of “Antioxidant Power”: The FRAP Assay. Analytical Biochemistry 239:70-76.

Chan, E., Y. Lim, K. Chong, J. Tan and S. Wong. 2010. Antioxidant properties of tropical and temperate herbal teas. J Food Compos Anal. 2010(23): 185-189.

Chao, S., N. Li, R. Ren., Y. Wang., X. Su., F. Lu., R. Zong., L. Yang and X. Ma. 2021. Review progress in the medicinal value, bioactive compounds, and pharmacological activities of Gynostemma pentaphyllum Molecules. 2021,26,6249 https://doi.org/10.3390/molecules26206249. (December 5, 2021).

Charoensiddhi, S. and P. Anupong. 2008. Bioactive compounds and volatile compounds of Thai baelfruit (Aeglemarmelos (L.) Correa) as a valuable source for functional food ingredients. Int. Food Res. J. 15: 287-295.

Fennema, O. 1996. Water and Ice in Food Chemistry. 3rd ed. Marcel Dekker, New York.

Haida, Z., A. Abdullah and H. Mansor. 2020. Health benefits of Stevia rebaudiana Bertoni as zero calorie natural sweetener: A review. IFRJ. 27(5): 783–789.

Labuza, T. 1982. Shelf-Life Dating of Foods. Food and Nutrition Press, Inc., Westport.

Labuza, T. and M. Schmidl. 1985. Accelerated shelf-life testing of foods. Food Technology 39(9): 57-64.

Maturin, L. and J. Peeler. 2001. Bacteriological Analytical Manual, Chapter 3: Aerobic plate count. (Online).vailable:http://www.fda.gov/Food/FoodScienceResearch/LaboratoryMethods/ucm063346.htm. (December 6, 2021).

Mizrahi, S. 2004. Understanding and Measuring the Shelf Life of Food. F&N Press, Ewstport.

Tarlidgis, B., B. Watts, M. Younathan and L. Dugan. 1960. Determination of thiobarbituric acid value in food. Journal of American Oil Chemists Society 37: 44.

Zaeoung, S., A. Plubrukarn and N. Keawpradub. 2005. Cytotoxic and free radical scavenging activities of Zingiberaceous rhizomes. Songklanakarin J. Sci. Techno. 27(4): 799-812.

Zaidan, U.H., N.I.M. Zen, N.A. Amran, S. Shamsi and S.S.A. Gani. 2019. Biochemical evaluation of phenolic compounds and steviol glycoside from Stevia rebaudiana extracts associated with in vitro antidiabetic potential, Biocat. Agric. Biotechnol. 18: 101049.