การศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตข้าวไร่ที่ปลูกในพื้นที่ไร่เลื่อนลอยที่ต่างกัน ในตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วิชญ์ภาส สังพาลี
ยุทธนันท์ พฤกษาพราว
ณัฐดนัย เรืองมาลัย
วัฒนา แสงคำ
สุธีระ เหิมฮึก

บทคัดย่อ

     การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของการปลูกข้าวไร่ในรูปแบบไร่เลื่อนลอย โดยการเปรียบเทียบข้อมูลด้านภูมิประเทศและผลผลิตข้าวไร่ในช่วงชั้นความสูงจากน้ำทะเลที่ต่างกัน จากการศึกษาด้วยวิธีเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล (remote sensing) ด้วยภาพถ่ายดาวเทียมจาก Google earth pro บันทึกภาพช่วงเดือนมกราคม 2564 ร่วมกับข้อมูลผลผลิต และนำข้อมูลวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนด้วยวิธีการ Kruskal wallis test ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการปลูกข้าวไร่ในระบบไร่เลื่อนลอยของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ในชุมชนบ้านทุ่งต้นงิ้ว ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ มีลักษณะการปลูกพืชแบบถางและเผา (slash and burn) ด้วยการใช้พื้นที่ 1 ปี แล้วย้ายให้ช่วงไร่เหล่า (follow period) พักตัว 4-5 ปี แล้วกลับมาซ้ำที่เดิม โดยแต่ละครัวเรือนมีจำนวนคนเฉลี่ย 6±3 คน และมีพื้นที่ไร่เฉลี่ยจำนวนครัวเรือนละ 4.22±1.06 ไร่ พันธุ์ข้าวที่ใช้คือ ข้าวเจ้าบือเทอแมะหรือชื่อกรมการข้าวคือ บือโปะโละ (Bue Po Lo) เมื่อทำการเปรียบเทียบผลผลิต ตามการแบ่งชั้นภูมิของระดับความสูงพบว่า พื้นที่ปลูกข้าวไร่ที่ความสูงมากกว่า 800 เมตร มีผลผลิตมากกว่าช่วงชั้นความสูงอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99 เปอร์เซ็นต์ คือ 354.8 กิโลกรัม/ไร่/ปี โดยทุกช่วงชั้นความสูงมีทิศลาดไปในทิศทางเดียวกันโดยไม่แตกต่างกันทางสถิติ ที่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ถึงทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งผลการศึกษานี้สามารถประยุกต์ใช้ในการศึกษาต่อเนื่องในด้านปัจจัยที่มีผลต่อผลผลิตข้าวไร่บนพื้นที่สูงในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2541. การจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน. แหล่งข้อมูล http://www.ldd.go.th (20 กุมภาพันธ์ 2564)

เกษม จันทร์แก้ว. 2539. หลักการจัดการลุ่มน้ำ. ภาควิชาอนุรักษวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ดอกรัก มารอด และอุทิศ กุฏอินทร์. 2552. นิเวศวิทยาป่าไม้. อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ.

นิพนธ์ ตั้งธรรม. 2545. แบบจำลองคณิตศาสตร์การชะล้างพังทลายของดินและมลพิษตะกอนในพื้นที่ลุ่มน้ำ. ภาควิชาอนุรักษ์วิทยา, คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เนตรนภา ไชยเป็ง. 2551. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อศึกษาผลกระทบของระบบการปลูกพืชแบบไร่หมุนเวียนต่อริมาณมวลชีวภาพของป่าไม้ และคุณสมบัติของดิน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปฐพีศาสตร์, คณะเกษตร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประภากร วงศ์ษา สายบัว เข็มเพชร และศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา. 2561. การวิเคราะห์พื้นที่และระบบการผลิตข้าวไร่ที่สัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารระดับครัวเรือน ของชุมชนห้วยลอย จังหวัดน่าน. วารสารแก่นเกษตร 46(6): 1223-1232.

พิชัย สุรพรไพบูลย์ พิกุล สุรพรไพบูลย์ สุเมธ ต๊ะวิไชย และสริตา ปิ่นมณี. 2558. การทดสอบผลผลิต พันธุ์ข้าวไร่ในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงสะเนียน จังหวัดน่าน. วารสารวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี 23(6) (พิเศษ): 933-938.

วสันต์ จารุชัย ธีระวัช สุวรรณนวล และจิรวัฒน์ สนิทชน. 2552. ศักยภาพผลผลิตและ ลักษณะทางการเกษตรของข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองปลูกในระบบการปลูกข้าวไร่ก่อนปลูกอ้อย. แก่นเกษตร 32 (พิเศษ): 93-98

สถานภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2560. การถ่ายภาพจาก Google earth pro. แหล่งข้อมูล http//www. cgistln.nu.ac.th (22 กุมภาพันธ์ 2564)

สุระ พัฒนเกียรติ. 2561. ภาพถ่ายทางอากาศ การประยุกต์ใช้ด้านป่าไม้. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

สำนักวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าว กรมการข้าว. ม.ป.ป. องค์ความรู้เรื่องข้าว พันธุ์ข้าวที่สูง. แหล่งข้อมูล http://www.ricethailand.go.th (17 กุมภาพันธ์ 2564)

แหลมไทย อาษานอก ดอกรัก มารอด และอัมพร ปานมงคล. 2555. การฟื้นฟูป่าดิบเขาในประเทศไทย: กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ – ปุย. รายงานฉบับสมบูรณ์. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

Boonkid, S., E.C.M. Fernandes and P.K.R. Nair. 1984. Forest villages: an agroforestry approach to rehabilitating forest land degraded by shifting cultivation in Thailand. Agrofor. Syst. 2(2): 87-102.

Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO). 2006. Guidelines of soil description. Publishing Management Service. FAO. Rome.

Gafur, A., J.R. Jensen, O.K. Borggaard and L. Petersen. 2003. Runoff and losses of soil and nutrients from small watersheds under shifting cultivation (Jhum) in the Chittagong Hill Tracts of Bangladesh. Hydro. 279: 293-303.

Hermhuk, S., A. Chaiyes, S. Thinkampheang, N. Danrad, and D. Marod. 2020. Land use and above-ground biomass changes in a mountain ecosystem, northern Thailand. J. For. Res 31: 1733-1742.

Kliegr, T., K. Chandramouli, J. Nemrava, V. Svatek and E. Izquierdo. 2008. Combining image captions and visual analysis for image concept classification. Proceedings of the 9th International Workshop on Multimedia Data Mining: held in conjunction with the ACM SIGKDD 2008. pp. 8-17.

Kupfer, J.A., A.L. Webbeking and S.B. Franklin. 2004. Forest fragmentation affects early successional patterns on shifting cultivation fields near Indian Church, Belize. Agr. Ecol. and Env. 103: 509-518.

Marod, D., S. Hermhuk, S. Sungkaew, S. Thinkampheang, T. Kamyo, T. and W. Nuipakdee. 2019. Species composition and spatial distribution of dominant trees in the forest ecotone of a mountain ecosystem, northern Thailand. Environ. Nat. Resour. J. 17(3): 40-49.