การพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดสิงห์บุรี

Main Article Content

อรณิชา ฮวบหิน
รุจ ศิริสัญลักษณ์
บุศรา ลิ้มนิรันด์กุล
พรสิริ สืบพงษ์สังข์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดสิงห์บุรี โดยใช้หลักการพึ่งพาตนเองใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านจิตใจและด้านสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจำนวน 51 กลุ่มแต่ละกลุ่มประกอบไปด้วยประธาน เลขานุการ เหรัญญิกและสมาชิก ซึ่งผู้วิจัยใช้แต่ละกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเป็นหน่วยวิเคราะห์ (unit of analysis) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยครั้งนี้ พบว่า ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ร้อยละ 80.50 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 53.65 ปี จบการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษามีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 167,692 บาท/ปี ส่วนใหญ่ร้อยละ 82.20 มีหนี้สิน มีประสบการณ์ในการเข้าร่วมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 5.11 ปี ส่วนใหญ่ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนอยู่ในระดับมาก และมีทัศนคติอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งต่องานวิสาหกิจชุมชน ในด้านการพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดสิงห์บุรี พบว่า กลุ่มมีการพึ่งพาตนเองโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีการพึ่งพาตนเองอยู่ในระดับมากที่สุดในด้านทรัพยากรธรรมชาติและมีการพึ่งพาตนเองอยู่ในระดับมากในด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านเทคโนโลยี ตามลำดับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบางกลุ่มมีปัญหาการดำเนินงานในด้านการเงิน การบริหารจัดการและการตลาดที่ยังเป็นปัญหาหลักและกลุ่มมีข้อเสนอแนะว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้ความรู้แก่กลุ่ม ทั้งในด้านการเงิน การบริหารจัดการและการตลาด ผลักดันให้วิสาหกิจชุมชนมีการพัฒนาสินค้าหรือผลิตสินค้าใหม่ๆ เพื่อสร้างความก้าวหน้าให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ ตรีชั้น. 2558. การดำเนินชีวิตโดยการพึ่งตนเองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริกรณีศึกษา: เกษตรกรบ้านหนองคอไก่ อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. วารสาร Veridian E-Journal, Slipakorn University. 8: 1114 – 1125.

ณรัชช์อร พิพัฒน์ธนากร. 2553. การพึ่งตนเองของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านในเขตเทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม อำเภอสาม พราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ธวัชชัย พินิจใหม่, สุดารัตน์ แช่มเงิน, สาวิตรี รังสิภัทร์, และทิพวัลย์ สีจันทร์. 2560. การพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้านนาโพธิ์ ตำบลท่าแร้ง อำเภอบ้านแหลมจังหวัดเพชรบุรี. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน, 10(3), 70-80.

วิภารัตน์ วงษ์พัง. 2562. การพึ่งพาตนเองและปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์จากแป้งข้าวหอม มะลิในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารแก่นเกษตร 47 ฉบับพิเศษ 1: 1080-1088.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. 2542. ทฤษฎีสังคมวิทยา การสร้าง การประเมินค่า และการใช้ประโยชน์. พิมพ์ครั้งที่ 4. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2559. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. 2548. พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนพ.ศ.2548. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. 2554. รายงานข้อมูลวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี. กรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สำราญ นิลรัตน์ และคณะ. 2550. กลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งฆ้อ ตำบลนาหม่อม อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

เสาวลักษณ์ ผลเจริญ. 2561. การพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.