การผลิตและการตลาดแพะเนื้อในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตและการตลาดแพะเนื้อในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อและเป็นสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงแพะในพื้นที่ 6 จังหวัด จำนวน 216 คน ซึ่งขนาดกลุ่มตัวอย่างได้จากการคำนวณด้วยสูตรทาโร่ ยามาเน่ และการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีจับสลากตามบัญชีรายชื่อ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร่วมกับการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นชาย อายุเฉลี่ย 51.36 ปี สำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษา เพาะปลูกพืชเป็นอาชีพหลักและเลี้ยงแพะเนื้อเป็นอาชีพเสริม โดยมีความสนใจเลี้ยงแพะและศึกษาจากเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ เพื่อนเกษตรกรที่เลี้ยงแพะอยู่ก่อน และอินเตอร์เน็ต ก่อนจะตัดสินใจเข้าร่วมโครงการฯ ในปี พ.ศ. 2563 ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงแพะเพียง 1 – 2 ปี ด้านการผลิต พบว่า เกษตรกรนิยมเลี้ยงแพะลูกผสมบอร์และใช้ที่ดินของตนเองเพื่อเลี้ยงแพะโดยเฉลี่ย 8.0 ไร่ ใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นหลักเฉลี่ย 1.85 คน ในปัจจุบัน พบว่า เกษตรกรมีจำนวนแพะในฟาร์มโดยเฉลี่ยฟาร์มละ 36.29 ตัว และเลี้ยงแบบกึ่งขังกึ่งปล่อยโดยใช้หญ้าเนเปียร์หรือหญ้าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติเป็นอาหารหยาบหลัก ด้านการตลาด พบว่า เกษตรกรนิยมจำหน่ายแพะแบบมีชีวิตที่น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 20 กิโลกรัม/ตัว ราคารับซื้อเฉลี่ย 110 – 120 บาท/กิโลกรัม โดยมีรูปแบบการจำหน่าย 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) รวมกันจำหน่ายผ่านสำนักงานสภาเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ 2) รวมกันจำหน่ายและติดต่อพ่อค้าคนกลางโดยตรง และ 3) ต่างคนต่างจำหน่ายให้กับพ่อค้าคนกลาง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมปศุสัตว์. 2563. ข้อมูลจำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์และจำนวนสัตว์ปี 2563. แหล่งข้อมูล http://ict.dld.go.th/webnew/index.php/th/service-ict/report/340-report-thailand-livestock/reportservey2563 (3 พฤษภาคม 2563).
ชนะชัย ฤทธิ์ทรง. 2562. แพะ สัตว์เศรษฐกิจใหม่ในอีสาน มข. สำรวจความต้องการและส่งเสริมในชุมชน. แหล่งข้อมูลhttps://m.kku.ac.th/news/content.php?did=N001728&I=th. (26 มิถุนายน 2564).
นิรุจน์ พันธ์ศรี และพิสมัย พงษ์วัน. 2561. ปัจจัยที่มีผลต่อการขยายตัวของการเลี้ยงแพะในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์: สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดบุรีรัมย์.
ภูธฤทธิ์ วิทยาพัฒนานุรักษ์ รักษาศิริ มนัสนันท์ นพรัตนไมตรี จิรวัลย์ โคตรภักดี ศิวพร แพงคำ และปราโมทย์ แพงคำ. 2562. ผลของระดับอาหารข้นและการตอนต่อคุณภาพเนื้อและองค์ประกอบทางเคมีของเนื้อแพะ. วารสารแก่นเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น 47(ฉบับพิเศษ 1): 845-852.
วิภาวี ศรีเจริญ ณัฐชัย จุติอมรเลิศ ณัฐพร จุ้ยจุลเจิม และทวีศิลป์ จีนด้วง. 2563. สภาพการเลี้ยงและความต้องการเลี้ยงแพะเชิงธุรกิจของเกษตรกรในเครือข่ายศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์สุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี.
วีรศักดิ์ หลวงติ๊บ. 2550. การผลิตแพะในภาคเหนือของประเทศไทยและการใช้กระถินสดและเศษผักกาดหอมห่อเป็นอาหารหยาบของแพะรุ่น. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสัตวศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมนึก ลิ้มเจริญ ภรณี ต่างวิวัฒน์ จินดา ขลิบทอง และสุรศักดิ์ คชภักดี. 2563. โมเดลการส่งเสริมเพื่อพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 12(3): 337-360.
Yamane, T. 1973. Statistic: An Introductory Analysis. 3rd. Harper and Row Publication, New York.