ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ศุภกิจ สิทธิวงค์
ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล
วรทัศน์ อินทรัคคัมพร
พัชรินทร์ ครุฑเมือง

บทคัดย่อ

     การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรผู้ใช้จุลินทรีย์กำจัดศัตรูพืชและเป็นสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 265 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 57.22 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสบการณ์ในการทำการเกษตรเฉลี่ย 18.84 ปี และมีประสบการณ์ในการใช้เชื้อจุลินทรีย์กำจัดศัตรูพืชเฉลี่ย 4.75 ปี โดยในปี พ.ศ.2563 เกษตรกรมีพื้นที่ถือครองทำการเกษตรเฉลี่ย 7.29 ไร่ และมีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 56,119.29 บาทต่อปี อีกทั้งเกษตรกรมีการติดต่อเจ้าหน้าที่เกษตรเฉลี่ย 3.09 ครั้ง และได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดศัตรูพืชเฉลี่ย 6.32 ครั้ง นอกจากนี้เกษตรกรยังมีความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดศัตรูพืชในระดับสูง โดยภาพรวมเกษตรกรมีการยอมรับการใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดศัตรูพืชในระดับสูง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดศัตรูพืชมีความสัมพันธ์เชิงบวกทั้งหมด ได้แก่ อายุและระดับการศึกษา มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ ระดับความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้เชื้อจุลินทรีย์ของเกษตรกร มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. 2557. องค์ความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม.

กรมวิชาการเกษตร. 2562. ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร ปี 2551 – 2561. แหล่งข้อมูล www.oae.go.th/view/1/ปัจจัยการผลิต/TH-TH. (24 สิงหาคม 2563).

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2558. การจัดการศัตรูพืชในงานส่งเสริมการเกษตร. คณะทำงานผลิตหลักสูตรการจัดการศัตรูพืชในงานส่งเสริมการเกษตร.

เกรียงไกร แสนพลหาญ. 2560. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลส่งออกในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและพัฒนาชนบท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

แก้วตา อนันต์วิไล. 2560. ความรู้และการปฏิบัติของเกษตรกรต่อการใช้สารเคมีฆ่าแมลงของพริกหวาน ในตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฏฐ์พณิชา สุภานันท์. 2560. ความรู้และการปฏิบัติของเกษตรกรในการควบคุมศัตรูพืชโดยใช้สารชีวภัณฑ์ ในพื้นที่อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทิพวรรณ เทพบุรี. 2563. การยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการควบคุมโรคพืชในปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร) สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

นฤเบศร์ รัตนวัน. 2560. ความรู้และการปฏิบัติในการใช้สารเคมีที่ถูกต้องของเกษตรกรผู้ปลูกฟักทองญี่ปุ่น ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและพัฒนาชนบท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิพนธ์ ทวีชัย. 2553. โรคพืชและการจัดการด้วยวิธีชีวภาพ. ในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ. น. 129 – 159.

เปลวเทียน ไชยวงศ์. 2559. การยอมรับของผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อควบคุมโรคพืช อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและพัฒนาชนบท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิวัฒน์ เสือสะอาด, พิมพรรณ สมมาตย์, ปวีณา บูชาเทียน, อาภรณ์ ปั้นทองคำ และรัตติรส เชียงสิน. 2551. การประเมินประสิทธิภาพของเชื้อราขาว (Beauveria bassiana) ในการเข้าทำลายแมลงศัตรูพืชเศรษฐกิจ. น. 161 – 168.

ศิวิลัย สิริมังครารัตน์. 2546. โรควิทยาของแมลง. ภาควิชากีฏวิทยา, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2563. สรุปผลการสำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากร เดือนธันวาคม 2563. แหล่งข้อมูล www.nso.go.th/sites/2014/doclib13/ด้านสังคม/สาขาแรงงาน/ภาวะการทำงานของประชากร /2563/ Report_08_63.pdf (3 มกราคม 2564).

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2546. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สุอาภา ดิสถาพร. 2537. การส่งเสริมการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี. การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช. การส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

อนุรุท อินทวงค์. 2560. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของเกษตรกรตามมาตรฐานข้าวอินทรีย์ส่งออกในภาคเหนือของประเทศไทย. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและพัฒนาชนบท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อนุสรา สมสัก. 2560. ความรู้และการปฏิบัติของเกษตรกรผู้เข้าอบรมการลดการเผาตอซังพืชในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและพัฒนาชนบท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Yamane, T. 1967. Statistics: An Introductory Analysis. 2nd Edition, Harper and Row, New York.