การปฏิบัติตามระบบมาตรฐานเกษตรที่ดีและเหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน การปฏิบัติการผลิตมะม่วงในระบบมาตรฐานเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติการผลิตมะม่วง GAP ตลอดจนปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ศึกษาในเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง GAP ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 195 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์พหุถดถอยด้วยวิธี Enter
ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (66.70 %) อายุเฉลี่ย 56.93 ปี จบชั้นประถมศึกษา รายได้ทั้งหมดและจากการผลิตมะม่วงเฉลี่ย 510,076.29 และ 379,835.90 บาท/ปี มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.97 คน แรงงานเฉลี่ย 3.01 คน หนี้สินในครัวเรือนเฉลี่ย 13,661.54 บาท มีพื้นที่ปลูกมะม่วงเฉลี่ย 7.44 ไร่ ได้รับข้อมูลข่าวสารด้าน GAP เฉลี่ย 2.78 ครั้ง/เดือน มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงเฉลี่ย 1.92 และ 1.90 ครั้ง/ปี เกษตรกรส่วนใหญ่เข้ารับการอบรม GAP เฉลี่ย 1.37 ครั้ง/ปี และมีประสบการณ์ในการผลิตมะม่วง GAP เฉลี่ย 7.48 ปี โดยเกษตรกรมีความรู้ในการผลิตมะม่วง GAP ในระดับมาก ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตมะม่วง GAP ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือน และความรู้ในการผลิตมะม่วง GAP สำหรับปัญหาในการปฏิบัติการผลิตมะม่วง GAP ของเกษตรกร พบว่า มีข้อกำหนดที่เคร่งครัดในการใช้วัตถุอันตรายเข้มข้นทางการเกษตร และในช่วงการแพร่เชื้อโควิด-19 ทำให้การติดต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมและการตรวจสุขภาพค่อนข้างลำบาก เกษตรกรมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการจัดทำข้อกำหนดมาตรฐานที่ปฏิบัติง่ายโดยเฉพาะการบันทึกข้อมูล และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในด้านราคา และจัดอบรมการผลิตมะม่วง GAP อย่างต่อเนื่อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กังสดาล กนกหงส์ นฤเบศร์ รัตนวัน และปภพ จี้รัตน์. 2561. การยอมรับวิธีการปลูกพืชภายใต้ มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) ของเกษตรกรศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 36(1): 75-84.
ดนุวัศ สาคริก และปนันดา จันทร์สุกร. 2561. ผลกระทบของปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม สถาบัน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อรายได้และรายจ่ายในภาคการเกษตรของเกษตรกร ไทย. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ 16(2): 57-85.
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ. 2561. สถานการณ์มะม่วงภาคเหนือตอนบนปีการผลิต 2561/62จะเป็นฉันใด. แหล่งที่มา https://www.carsr.agri.cmu.ac.th/?p=2751 (5 ตุลาคม 2564).
สุจิกา ฉิมอ่อง. 2557. เจตคติของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ที่มีต่อมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม และการผลิตแบบมีสัญญาซื้อขายในอ้าเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสาร Veridian E-Journal Silpakorn University 7(1): 561-585.
สุพัฒตรา คณานิตย์ ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล และชัยชาญ วงษ์สามัญ. 2560. ความต้องการของ เกษตรกรต่อการได้รับการพัฒนาการเกษตรจากองค์การบริหารส่วนตำบลหว้าทอง อำเภอภู เวียง จังหวัดขอนแก่น. วารสารแก่นเกษตร 45(ฉบับพิเศษ1): 1515-1521.
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. 2563. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี. ศูนย์ข้อมูลความรู้อาเซียน แหล่งข้อมูล https://alro.go.th/asean_data/ewt_dl_link.php?nid=232&filename=index (10 กรกฎาคม 2563)
สำนักงานข่าวกรมประชาสัมพันธ์. 2561. อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ผลิตมะม่วงคุณภาพ เล็งเพิ่มโอกาสในตลาดโลก. แหล่งข้อมูล https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TNEVN6107040010006 (25 ตุลาคม 2564)
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2558. มาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ. 5-2558). สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
มนัญชยา เรืองวงศ์โรจน์. 2558. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ของเกษตรกรผู้ผลิตพืช เทศบาลตำบลเกษตรพัฒนา อำเภอแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม 14(2): 18-25.
เมดไทย. 2560. มะม่วง. แหล่งข้อมูล https://medthai.com/มะม่วง/ (12 มิถุนายน 2563).
เรืองไร อินซากองและวรทัศน์ อินทรัคคัมพร. 2559. ความรู้ความเข้าใจและการปฏิบัติตนของเกษตรกร เกี่ยวกับภัยพิบัติทางการเกษตรในตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(1): 98-108.
Posttoday. 2561. เกษตรไทยระวัง! เอลนีโญแผลงฤทธิ์ทำมะม่วงปินส์ล้นตลาด. แหล่งข้อมูล https://www.posttoday.com/world/591241 (15 ตุลาคม 2564)
Torzkrub. 2018. แง้มดู ยุทธศาสตร์ “การค้าผลไม้ครบวงจร” ของรัฐบาลลุงตู่…จะทำไรบ้าง ?. เกษตรก้าวไกล. แหล่งข้อมูล https://www.kasetkaoklai.com/home/2018/02/การค้าผลไม้ครบวงจร/ (15 กรกฎาคม 2563).
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analys. 3rd. New York: Harper and Row Publication.