ผลของ IBA ต่อการเกิดรากของหน่ออินทผลัม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาผลของ IBA ต่อการเกิดรากของหน่ออินทผลัมพันธุ์ KL1 ขณะติดกับต้นแม่ ดำเนินการที่แปลงของเกษตรกร อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนตุลาคม 2562 ถึงมิถุนายน 2563 วางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 4 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 5 ซ้ำ โดยพ่นสาร IBA ที่โคนหน่ออินทผลัม มีความเข้มข้น 4 ระดับ คือ 0 1,000 3,000 และ 5,000 มก./ล. ผลการทดลองพบว่า การใช้สาร IBA ความเข้มข้น 1,000 มก./ล. สามารถเพิ่มจำนวนรากที่เกิดขึ้นใหม่ (71.83 ราก) เส้นผ่านศูนย์กลางรากขนาดใหญ่ (6.45 มล.) และมีการรอดชีวิตเท่ากับ 100 % เมื่อเทียบกับกรรมวิธีอื่นและการพ่นน้ำเปล่า สำหรับหน่ออินทผลัมที่ได้รับ IBA ความเข้มข้น 3,000 มก./ล. มีผลทำให้ความยาวรากสูงที่สุด (20.25 ซม.) ขณะใช้เวลาในการออกรากของหน่อมีค่าใกล้เคียงกันทั้งการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต IBA และน้ำเปล่าเท่ากับ 52.50-66.00 วัน ซึ่งไม่มีความแตกต่างทางสถิติ เช่นเดียวกับการเติบโตด้านเส้นรอบวงและความยาวของหน่อมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลา 8 เดือน ดังนั้น สาร IBA ความเข้มข้น 1,000 หรือ 3,000 มก./ล. มีความเหมาะสมในการชักนำให้เกิดรากของหน่ออินทผลัมพันธุ์ KL1 ที่ผิวดินขณะติดอยู่กับต้นแม่พันธุ์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ภูวนาถ นนทรีย์. 2532. การใช้ฮอร์โมนกับไม้ผลบางชนิด. โครงการหนังสือเกษตรชุมชน, กรุงเทพฯ.
ลิลลี่ กาวีต๊ะ มาลี ณ นคร ศรีสม สุวรรณวงศ์ และสุริยา ตันติวิวัฒน์. 2556. สรีรวิทยาของพืช. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วิเชษฐ ค้าสุวรรณ. 2546. การขยายพันธุ์พืช. ไทยวัฒนาพานิช, กรุงเทพฯ.
ศศิภา เทียนคา เจนจิรา ชุมภูคา และอารยา อาจเจริญ เทียนหอม. 2557. ผลของออกซินต่อการขยายพันธุ์สับปะรดปัตตาเวียด้วยจุก. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 45(2)(พิเศษ): 89-92.
สนั่น ขำเลิศ. 2541. หลักและวิธีปฏิบัติการขยายพันธุ์พืช. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Afzal, M., M.A. Khan, M.A. Pervez and R. Ahmed. 2011. Root induction in the aerial offshoots of date palm (Phoenix dactylifera L.) cultivar, Hillawi. Pak. J. Agri. Sci. 48(1): 11-17.
Al-Mana, F.A., M.A. Ed-Hamady, M.A. Bacha and A.O. Abdelrehman. 1996. Improving root development on ground and aerial date palm offshoots. Principes. 40(4): 179-181, 217-219.
Al-Ghamdi, A. 1988. Rooting of date palm offshoots as affected by offshoot size, cultivar and indole butyric acid injection. Acta. Hort. 226: 379-388.
Bitar, A.D., H.A. Abu-Qaoud and H.M. Isaid. 2019. Studies on date palm propagation by offshoots. PJTAS. 2: 61-68.
Darwesh, R.S., E.A. Adbolly and E.G. Gadalla. 2013. Impact of indole butyric acid and paclobutrazol on rooting of date palm (Phoenix dactylifera L.) off-shoots cultivar Zaghloul. J. Hort. Sci. Orn. Plants. 5(3): 145-150.
FAO. 2018. Crops. Available: http://www.fao.org/faostat/en/#data/QC (September 30, 2020.)
Haseeb, G.M.M., S.E. El-Kosary, H.A. Abd Elkareem and M.A.M. Bakir. 2018. Induction of roots on young date palm offshoots using growth regulators injection. In VI International Symposium on Tropical and Subtropical Fruits. 1216: 115-126.
Hodel, D.L. and D.R. Pittenger. 2003a. Studies on the establishment of date palm (Phoenix dactylifera Deglet Noor) offshoots. Part I. Observations on root development and leaf growth. Palms. 47(4): 191-200.
Hodel, D.L. and D.R. Pittenger. 2003b. Studies on the establishment of date palm (Phoenix dactylifera Deglet Noor) offshoots. Part II. Size of offshoot. Palms. 47(4): 201-205.
Hodel, D.R., A.J. Downer and D.R. Pittenger. 2009. Transplanting palms. HortTechnology. 19(4): 686-689.
Jamro, M.M., A.N. Shah and F.K. Nizamani. 2018. Effects of IBA and NAA on integrated root development in aerial offshoots of Phoenix dactylifera L.. Bangladesh J. Bot. 47(2): 287-292.
Reja, T.H. 2007. Affection of some treatment on rooting of small attached date palm (Phoenix dactylifera L.) offshoots (Braim and Khastawi cvs). AJAS. 5(1): 149-162.