ประสิทธิภาพของชีวมวลอัดเม็ดจากฟางข้าว รำข้าว และแกลบ ในการเป็นวัสดุปลูกผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊ค

Main Article Content

รัชนี พุทธา
ทัศนีย์ สีเสนซุย
ศรัณพงษ์ บัณฑิตภักดิ์
สพล สมนาม
กาญจนา จอมสังข์

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการศึกษาธาตุอาหาร และลักษณะของชีวมวลอัดเม็ดจากฟางข้าว รำขาว และแกลบ และประสิทธิภาพของชีวมวลอัดเม็ดเมื่อใช้เป็นวัสดุปลูกผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊ค วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ แบ่งเป็น 4 ทรีทเมนต์ ทรีทเมนต์ละ 4 ซ้ำ ได้แก่ วัสดุปลูกชีวมวลอัดเม็ด สูตร 1 ฟางข้าว : ปุ๋ยคอก : นํ้า (7 : 2 : 1) สูตร 2 ฟางข้าว : ปุ๋ยคอก : รำข้าว : นํ้า (5 : 2 : 2 : 1) และสูตร 3 ฟางข้าว : ปุ๋ยคอก : แกลบ : นํ้า (5 : 2 : 2 : 1) และวัสดุปลูกไม่อัดเม็ด สูตร 4 (ชุดควบคุม) พีทมอส : ปุ๋ยคอก (8 : 2) วิเคราะห์ธาตุอาหาร และประเมินลักษณะชีวมวลอัดเม็ด และวัดความสูงต้น ความกว้างทรงพุ่ม นํ้าหนักสดต้น ความยาวราก นํ้าหนักสดราก จำนวนใบ ความกว้างใบ ความยาวใบ และสีใบ ( L* a* และ b*) ของผักกาดหอม พบว่า วัสดุปลูกชีวมวลอัดเม็ดทุกสูตร มีผลรวมของธาตุอาหารหลัก (N P และ K) มากกว่าวัสดุปลูกสูตร 4 และสามารถอัดเป็นเม็ดโดยไม่แตกหักและเปื่อย วัสดุปลูกส่งผลให้ทุกลักษณะของผักกาดหอมมีความแตกต่างกันทางสถิติ (p<0.01 และ p<0.001) โดยวัสดุปลูกสูตร 2 ให้ทุกลักษณะดีที่สุด รองลงมาคือ สูตร 4 สูตร 1 และสูตร 3 กล่าวคือ ผักกาดหอมที่ปลูกด้วยสูตร 2 เป็นระยะเวลา 45 วัน มีความสูงต้น 4.8 เซนติเมตร ความกว้างทรงพุ่ม 16.8 เซนติเมตร นํ้าหนักสดต้น 18.8 กรัม นํ้าหนักรากสด 5.2 กรัม จำนวนใบ 15.1 ความกว้างใบ 8.7 เซนติเมตร ความยาวใบ 11.3 เซนติเมตร และมีค่า L* (54.0) ค่า a* (-7.1) และค่า b* (31.5) น้อยหรือสีใบเขียวเข้ม การศึกษานี้สรุปว่า ฟางข้าว : ปุ๋ยคอก : รำข้าว : นํ้า อัตราส่วน 5 : 2 : 2 : 1 เป็นสูตรที่เหมาะสมต่อการทำชีวมวลอัดเม็ดเพื่อใช้เป็นวัสดุปลูกผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊ค

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คงเอก ศิริงาม. 2557. ผลของโพแทสเซียมต่อการตอบสนองทางสรีรวิทยาของผักกาดหอมที่ปลูกในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร 9(1): 16-32.

นิพนธ์ ตันไพบูลย์กุล และธรพร บุศย์นํ้าเพชร. 2559. ลักษณะการขึ้นรูปและตัวประสานที่แตกต่างกันต่อสมบัติของเชื้อเพลิงที่ผลิตจากผักตบชวา. Veridian E-Journal สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3(6): 86-100.

สมชาย โพธิ์พะยอม ธงชัย เครือผือ และพงศธร กันลํ่า. 2560. การพัฒนาเครื่องอัดเม็ดฟางเพื่อใช้สำหรับการผลิตเชื้อเพลิง. วารสารราชมงคลล้านนา 5(2): 73-76.

สุมิตรา สุปินราช และอิศร์ สุปินราช. 2561. ผลของวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตของผักกาดหอมกระถาง. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 49(1: พิเศษ): 47-52.

อรประภา อนุกูลประเสริฐ และภาณุมาศ ฤทธิไชย. 2558. ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงต่อการให้ผลผลิต และคุณภาพของผักกาดหอม. Thai J. Sci. Technol. 4(1): 81-94.

Alahi, A., M.I. Hossain, K. Kabir, M. Shahjahan and S.M.A. Arefin and M.T. Hosain. 2014. Effect of phosphorus and plant spacing on the growth and yield of lettuce. Adv. Agri. Bio. 2(1): 1-7.

Hoque, M.M., H. Ajwa and M. Othman. 2010. Yield and postharvest quality of lettuce in response to nitrogen, phosphorus, and potassium fertilizers. Hortsci. 45(10): 1539-1544.

Islam, M.Z., Y.T. Lee, M.A. Mele, I.L. Choi, D.C. Jang, Y.W. Ko, Y.D. Kim and H.M. Kang. 2019. Effect of modified atmosphere packaging on quality and shelf life of baby leaf lettuce. Qual. Assur. Saf. Crop. 11(8): 749-756.

Li, Q., X. Li, B. Tang and M. Gu. 2018. Growth responses and root characteristics of lettuce grown in aeroponics, hydroponics, and substrate culture. Horticulturae. 4(35): 1-9.

Manojlović, M., R. Čabilovski and M. Bavec. 2010. Organic materials: sources of nitrogen in the organic production of lettuce. Turk. J. Agric. For. 34: 163-172.

Neocleousa, D. and D. Savvas. 2019. The effects of phosphorus supply limitation on photosynthesis, biomass production, nutritional quality, and mineral nutrition in lettuce grown in a recirculating nutrient solution. Sci Hortic. 252: 379-387.

Prajapati, K. and H.A. Modi. 2012. The importance of potassium in plant growth- A review. Indian J. Plant Sci. 1(02-03): 177-186.

Wiangsamut, B. and M. Koolpluksee, 2020. Yield and growth of Pak Choi and Green Oak vegetables grown in substrate plots and hydroponic systems with different plant spacing. Int. J. Agric. Technol. 16(4): 1063-1076.

Zhang, K., S. Song, Z. Chenand and J. Zhou 2020. Effects of brown sugar water binder added by spraying method as solid bridge on the physical characteristics of biomass pellets. Polymers. 12(3): 1-14.