การกระจายตัวของอันดับดินในพื้นที่ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” จังหวัดลำพูน

Main Article Content

ธวัชชัย ตาอินทร์
นิวัติ อนงค์รักษ์
ณัฐวุฒิ ลือศักดิ์
ฟ้าไพลิน ไชยวรรณ

บทคัดย่อ

     การศึกษาการกระจายตัวของอันดับดินในพื้นที่ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและศึกษาดิน ประกอบด้วย สัณฐานวิทยาสนามของดิน สมบัติทางกายภาพเคมี และแร่วิทยาของดิน การประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินและความสัมพันธ์การกระจายตัวของดินกับพันธุ์ไม้ผลการศึกษาพบว่าดินมีการกระจายตัว 4 อันดับ (8 กลุ่มย่อย) ได้แก่ อัลทิซอลส์ (พีดอน 1: Typic Paleustults; พีดอน 2: Typic Haplustults), แอลฟิซอลส์ (พีดอน 3: Ultic Paleustalfs; พีดอน 4: Ultic Haplustalfs), อินเซปทิซอลส์ (พีดอน 5: Typic Dystrustepts; พีดอน 6: Typic Haplustepts) และเอนทิซอลส์ (พีดอน 7: Lithic Ustorthents; พีดอน 8: Typic Ustorthents) เป็นดินตื้นมากถึงลึกมากและไม่พบดินล่างในอันดับเอนทิซอลส์ วัตถุต้นกำเนิดเป็นวัสดุตกค้างจาก หินดินดานและหินทราย ดินบนอันดับแอลฟิซอลส์มีปริมาณกรวดน้อยกว่าร้อยละ 15 ในขณะที่อันดับอื่น ๆ มีปริมาณมากกว่า ปฏิกิริยาดิน ดินล่างอันดับอัลทิซอลส์อยู่ในช่วงกรดจัดมากถึงกรดจัด ในขณะที่อันดับอื่นเป็นด่างมากกว่า ดินบนมีปริมาณอินทรียวัตถุในดินและฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์สูงกว่าดินล่าง ดินอันดับแอลฟิซอลส์มีระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินสูงกว่าทุกอันดับและพบว่าเป็นป่าเบญจพรรณ ส่วนอันดับอื่นเป็นป่าเต็งรัง ชั้นแร่วิทยาของพีดอนส่วนใหญ่จำแนกเป็นมิกซ์ (mixed) ยกเว้นพีดอน 4 จำแนกเป็น เคโอลินิติก (kaolinitic) สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อนและปริมาณกรวดในดินล่างมากกว่าร้อยละ 35 และพบว่าเป็นดินไม่เหมาะสมสำหรับการทำการเกษตร ดังนั้นพื้นที่ดังกล่าวจึงสมควรอนุรักษ์เป็นป่าไม้และพื้นที่ปกปักทรัพยากรต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพยากรธรณี. 2550. แผนที่ธรณีวิทยาจังหวัดลำพูน. แหล่งข้อมูล http://www.dmr.go.th/download/pdf/North/Lamphun.pdf (20 ธันวาคม 2564).

กรมแผนที่ทหาร. 2542. แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 จังหวัดลำพูน ระวาง 4846 III ลำดับชุด L7018. กระทรวงกลาโหม, กรุงเทพฯ.

กองสำรวจและจำแนกดิน. 2543. คู่มือการจำแนกความเหมาะสมของดินสำหรับพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2548. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

จักรพงษ์ ไชยวงศ์ สุนทร คำยอง นิวัติ อนงค์รักษ์ ประสิทธิ์ วังภคพัฒนวงศ์ และสุภาพ ปารมี. 2562. คุณสมบัติทางกายภาพเคมีและการกักเก็บคาร์บอนและธาตุอาหารในดินที่เกิดจากหินภูเขาไฟและหินทรายในป่าเต็งรังที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 35(3): 475-486.

ธนากร บั้งเงิน สุนทร คำยอง และนิวัติ อนงค์รักษ์. 2557. การกักเก็บนํ้าในดินอันดับต่าง ๆ ในป่าเต็งรังบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการประชุมทางวิชาการ “สิ่งแวดล้อมนเรศวร” ครั้งที่ 10, มหาวิทยาลัยนเรศวร 30 ตุลาคม. มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก. น. 25-31.

นิวัติ อนงค์รักษ์ ธวัชชัย ตาอินทร์ ธนานิติ ธิชาญ และณัฐวุฒิ ลือศักดิ์. 2564. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการการสำรวจดินในพื้นที่ปกปักทรัพยากร ในศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” จังหวัดลำพูน. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

นิวัติ อนงค์รักษ์ ธีระพงษ์ เสาวภาคย์ ธวัชชัย ตาอินทร์ กรกนก ดีพรมกุล วิษณุ เจียมใจ ธนานิติ ธิชาญ ณัฐวุฒิ ลือศักดิ์ และจตุรงค์ วุฒิ. 2563. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการ การสำรวจดินในพื้นที่ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” จังหวัดลำพูน. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. 2562. พจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา. บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน), กรุงเทพฯ.

อัญชลี สุทธิประการ. 2534. แร่ดินเหนียว เล่มที่ 1,2. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Brady, N.C. and R.R. Weil. 2017. The nature and properties of soils. 15th Edition. Pearson Education, Inc., New Jersey.

Brindley, G. W. and G. Brown. 1980. X-ray diffraction procedures for clay mineral identification. pp. 305-359. In: G. W. Brindley and G. Brown (eds.). Crystal Structures of Clay Minerals and Their X-ray Identification, Mineralogical Society Monograph, No.5. Spottiswoode Ballantyne, Ltd., London.

Buol, S.W., R.J. Southard, R.C. Graham, and P.A. McDaniel. 2011. Soil genesis and classification. 6th Edition. John Wiley and Sons, Inc., New York.

Krebs, C.J. 1985. Ecology: The experimental analysis of distribution and abundance. 3rd Edition. Harper & Row, Publishers, New York.

National Soil Survey Center. 1996. Soil survey laboratory methods manual. U. S. Government Printing Office, Washington D.C.

Sanchez, P.A., C.A. Palm and S.W. Buol. 2003. Fertility capability soil classification: a tool to help assess soil quality in the tropics. Geoderma 114: 157-185.

Soil Science Division Staff. 2017. Soil survey manual. United States Department of Agriculture, Washington D.C.

Soil Survey Staff. 2014. Key to soil taxonomy. 12th Edition. U.S. Government Publishing Office, Washington D.C.