พัฒนาการของผล ดัชนีการเก็บเกี่ยว และปริมาณความร้อนสะสมของฝรั่งพันธุ์กิมจู แตงโม และนิโกร

Main Article Content

จุฑามาศ ดำแก้ว
ธีรนุช เจริญกิจ

บทคัดย่อ

     ศึกษาการเจริญเติบโต คุณภาพผล และปริมาณความร้อนสะสมในระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของฝรั่ง 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์กิมจู พันธุ์แตงโม และพันธุ์นิโกร ที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและ พัฒนาการของผลแต่ละพันธุ์ โดยประเมินลักษณะทางกายภาพและเคมีแยกตามระยะพัฒนาการ ใช้ระยะละ 3 ซ้ำ 2) เพื่อ ศึกษาระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมจากการประเมินคุณภาพทางด้านกายภาพ เคมี ประสาทสัมผัส และปริมาณความร้อนสะสม ผลการศึกษาพบว่า ฝรั่งทั้ง 3 พันธุ์มีการเจริญเติบโตของผลแบบ double sigmoidal curve แบ่งได้ 3 ระยะ โดยระยะแรก (7-42 วันหลังดอกบาน) ความกว้างของผลค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามระยะของพัฒนาการจนกระทั่งเข้าสู่ระยะที่ 2 (49-84 วันหลังดอกบาน) ความกว้างของผลมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยและค่อนข้างช้า และระยะที่ 3 (91-118 วันหลังดอกบาน) ผลพัฒนาเข้าสู่ระยะแก่และสุก ความกว้างของผลมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและช้าลงเมื่อผลสุกเต็มที่ ส่วนการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพผลพบว่า เมื่อผลฝรั่งเข้าสู่ระยะสุก ผิวสีเขียวจางลง เปอร์เซ็นต์ส่วนที่รับประทานได้และปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้มีค่าเพิ่มขึ้น ในขณะที่ความแน่นเนื้อของผล ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ และปริมาณวิตามินซีโดยการไทเทรตมีแนวโน้มมีค่าลดลง ส่วนระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมสำหรับรับประทานผลสดจากการประเมินคุณภาพทางด้านกายภาพ เคมี และทางประสาทสัมผัส พบว่า พันธุ์กิมจูมีระยะเก็บเกี่ยวที่ช่วงอายุ 108-116 วันหลังดอกบาน มีปริมาณความร้อนสะสมอยู่ในช่วง 2,204-2,346 GDD พันธุ์แตงโมมีระยะเก็บเกี่ยวที่ช่วงอายุ 104-110 วันหลังดอกบาน มีปริมาณความร้อนสะสมอยู่ในช่วง 2,238-2,351 GDD และพันธุ์นิโกรมีระยะเก็บเกี่ยวที่ช่วงอายุ 99-101 วันหลังดอกบาน มีปริมาณความร้อนสะสมอยู่ในช่วง 2,142-2,176 GDD ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริงแท้ ศิริพานิช. 2549. ชีววิทยาหลังการเก็บเกี่ยวและการวายของพืช. ภาควิชาพืชสวน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.

จักรพงศ์ จิระแพทย์ ธนกฤต ใจดี และสุดารัตน์ พูลเทพ. 2564. อุณหภูมิและปริมาณน้ำฝนต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของฝรั่งพันธุ์กิมจู. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 13(2): 386-399.

จิราวรรณ ปอประสิทธิ์. 2543. ค่าหน่วยความร้อนสะสมของฝรั่งพันธุ์การค้า 3 สายพันธุ์. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี, ภาควิชาพืชสวน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ดนัย บุณยเกียรติ. 2556. สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลพืชสวน. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. กรุงเทพฯ.

ธีรนุช เจริญกิจ. 2555. เอกสารประกอบการสอนวิชาไม้ผลเขตร้อน. คณะผลิตกรรมการเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

ปาริฉัตร เพ่งผล. 2554. การเจริญของผลฝรั่งพันธุ์เซินจู. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. ภาควิชาพืชสวน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วรกานต์ สวัสดิ์ฟัก. 2557. การเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวของผลฝรั่ง ‘หวานพิรุณ’ และ ‘กิมจู’. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. ภาควิชาพืชสวน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2553. มาตรฐานสินค้าเกษตร: ฝรั่ง มกษ. 16-2553. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.

Bashir, H. and A. Abu-Goukh. 2003. Compositional changes during guava fruit ripening. Food chemistry 80: 557-563.

Cavalini, F., A. Jacomino, M. Lochoski, R. Kluge and E. Ortega. 2006. Maturity indexes for ‘Kumagai’ and ‘Paluma’ guavas. Revista Brasileira de Fruticultura 28: 176-179.

Chen, P., M. Huang, M. Lin, S. Roan and I. Chen. 2017. Temperature growth models of guava (Psidium guajava L.), Acta Horticulture 157-160.

Fish, W., P. Veazie and K. Collins. 2002. A quantitative assay for lycopene that utilizes reduce volumeof organic solvents. Journal of food composition and analysis 15: 309-317.

Kong, K., W. Khoo, K. Prasad, A. Ismail, C. Tan and N. Rajab. 2010. Revealing the power of the natural red pigment lycopene. Molecules 15: 959-987.

Lazan, H. and Z. Ali. 1998. Guava In: PE Tropical and subtropical fruits. Shaweta (eds.) Ag. science Inc, Auburndale FL, pp. 446-485.

Rasmidatta, V. 1984. Growing degree day. Thai Journal of Agricultural Science 17(4): 155-158.

Tandon, D., S. Kalra, H. Singh and K. Chada. 1983. Physio-chemical characteristics of some guava cultivars. Progressive Horticulture 15(1-2): 42-44.

Yusof, S. and M. Suhaila. 1987. Physio-chemical in guava (Psidium guajava L.) during development and maturation. J. Science Food Agric 38(1): 31-39.