ผลของชนิดดาวเรืองและความเข้มข้นของสารละลายกรดจิบเบอเรลลิก ในการเตรียมพร้อมเมล็ดพันธุ์ต่อความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์

Main Article Content

พิจิตรา แก้วสอน
สุชานรี จันทร์ขวัญ
นิตยา ชูเกาะ
รักศักดิ์ เสริมศักดิ์

บทคัดย่อ

     ดาวเรืองเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญในประเทศไทย สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่การผลิตดาวเรืองมักมีปัญหาเมล็ดงอกช้าและไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของชนิดดาวเรืองและความเข้มข้นของสารละลายกรดจิบเบลเรลลิก (GA3) ในการเตรียมพร้อมเมล็ดพันธุ์ต่อการงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์เพื่อทำให้เมล็ดงอกได้เร็วและสม่ำเสมอ โดยจัดสิ่งทดลองแบบ 2×5 แฟคทอเรียลในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ มี 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัย A คือ ชนิดดาวเรือง มี 2 ชนิด ได้แก่ ดาวเรืองแอฟริกัน (Tagetes erecta) และดาวเรืองฝรั่งเศส (T. patula) และปัจจัย B คือ ความเข้มข้นของสารละลาย GA3 ได้แก่ 0 [น้ำ reverse osmosis (RO)], 25, 50, 100 มก./ล. และเมล็ดที่ไม่เตรียมพร้อมเมล็ดพันธุ์ จำนวน 4 ซ้ำ ซ้ำละ 50 เมล็ด แช่เมล็ดในสารละลายเป็นเวลา 24 ชม. จากนั้นลดความชื้นของเมล็ดลงประมาณ 6% ผลการทดลองพบว่าเมล็ดพันธุ์ดาวเรืองต่างชนิดกันมีผลต่อวิธีการเตรียมพร้อมเมล็ดพันธุ์ด้วยสารละลาย GA3 แตกต่างกัน โดยพบปฏิสัมพันธ์ระหว่างชนิดดาวเรืองกับความเข้มข้นของสารละลาย GA3 โดยเฉพาะกับการเตรียมพร้อมเมล็ดพันธุ์ดาวเรืองฝรั่งเศสมีผลทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอกลดลง ในขณะที่การเตรียมพร้อมเมล็ดพันธุ์ดาวเรืองแอฟริกันด้วยสารละลาย GA3 ไม่มีผลต่อความงอกเมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดที่ไม่ผ่านการเตรียมพร้อมเมล็ดพันธุ์แต่ที่ระดับความเข้มข้น 25 และ 100 มก./ล. มีผลต่อจำนวนวันที่รากงอก เวลาในการงอกถึง 50% และเวลาเฉลี่ยในการงอกเร็วกว่าเมล็ดที่ไม่ผ่านการเตรียมพร้อมเมล็ดพันธุ์

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

นิตยา ชูเกาะ, ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900

รักศักดิ์ เสริมศักดิ์, ภาควิชาเกษตรกลวิธาน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภาควิชาเกษตรกลวิธาน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900

References

จินตนา สงฤทธิ์. 2563. การยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ดาวเรืองฝรั่งเศสโดยวิธีการทำ seed priming. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน, คณะผลิตกรรมการเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้เชียงใหม่.

ธีระวัฒน์ วงศ์วิชิต. 2562. ดาวเรือง (ไม้ตัดดอก). กรมส่งเสริมการเกษตร. แหล่งข้อมูล http://www.agriman.doae.go.th/home/news/2562/77-78.pdf (2 เมษายน 2565).

บริษัท ที เอส เอ จำกัด. 2565. กลุ่มดาวเรือง. แหล่งข้อมูล http://www.thaiseed.co.th/index.php?ContentID=ContentID-17110211240059307 (12 เมษายน 2565).

บุญส่ง เอกพงษ์. 2558. เทคนิคการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักลูกผสม. พิมพ์ครั้งที่ 1. คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

ประนอม ยังคำมั่น. 2558. ผลของการกระตุ้นการงอกเมล็ดด้วยน้ำและโปแตสเซียมไนเตรทต่อการงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ดาวเรืองฝรั่งเศส. รายงานการประชุมวิชาการประจำปี 2558, มหาวิทยาลัย แม่โจ้ 8-9 ธันวาคม 2558, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่. น. 1-8.

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.2558. งานวิจัยและพัฒนาพันธุ์ดาวเรืองเกษตร. แหล่งข้อมูล https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=18932 (28 เมษายน 2565).

สลาลีวัลย์ แน่นแฟ้น และปิยะณัฎฐ์ ผกามาศ. 2563. ผลของการเตรียมความพร้อมเมล็ดพันธุ์ด้วยวิธี Nano-Bubbles priming ต่อการงอกของต้นกล้าดาวเรืองฝรั่งเศส. แก่นเกษตร 48(3): 515-526.

Bhowmick, M.K. 2018. Seed priming: a low-cost technology for resource-poor farmers in improving pulse productivity. pp. 190-209. In: A. Rakshit and H.B. Singh (eds.). Advances in Seed Priming. Springer Nature Singapore Pte Ltd., Singapore.

Boyd, N.S. and R.C.V. Acker. 2004. Imbibition response of green foxtail, canola, wild mustard and wild oat seeds to different osmotic potentials. Can. J. Bot. 82(6): 801-806.

Coolbear, P., A. Francis and D. Grierson. 1984. The effect of low temperature pre-sowing treatment on the germination performance and membrane integrity of artificially aged tomato seeds. J. Exp. Bot. 35(11): 1609-1617.

Devika, O.S., S. Singh, D. Sarkar, P. Barnwal, J. Suman and A. Rakshit. 2021. Seed priming: a potential supplement in integrated resource management under fragile intensive ecosystems. Front. Sustain. Food Syst. 5: 1-11.

Dhillon, N.P.S. 1995. Seed priming of male sterile muskmelon (Cucumis melo L.) for low temperature germination. Seed Sci. Technol. 23(3): 881-884.

Ellis, R.H. and E.H. Roberts. 1980. Improved equation for the prediction of seed longevity. Ann. Bot. 45(1): 13-30.

Goud, S., A. Dayal, P.K. Rai, N. Thomas, V.P. Sahi and A. Kerketta. 2021. Influence of botanicals, fungicides, plant growth regulator treatments on seedling characters of marigold (Tagetes erecta L.) variety: pusabasanti and kalyan-2. AJSST. 7(4): 257-264.

Gupta, R. and S.K. Chakrabarty. 2013. Gibberellic acid in plant. Plant Signal. Behav. 8(9): e25504-1-5.

ISTA. 2018. International Rules for Seed Testing. International Seed Testing Association, Bassersdorf, Switzerland.

Karimi, M. and M. Varyani. 2016. Role of priming technique in germination parameters of calendula (Calendula officinalis L.) seeds. J. Agric. Sci. 61(3): 215-226.

Kouchebagh, B.S., M. Sohrabi, P.G. Kouchebagh and A.R. Khanlou. 2014. Seed germination and yield of marigold (Calendula officinalis L.) as affected by biophysical priming techniques. Int. J. Biosci. 5(5): 113-118.

Madhavan, J., S. Chandrasekharan, M.K. Priya and A. Godavarthi. 2018. Modulatory effect of carotenoid supplement constituting lutein and zeaxanthin (10:1) on antioxidant enzymes and macular pigments level in rats. Pharmacogn. Mag. 14(54): 268-274.

McDonald, M.B. 2000. Seed priming. pp. 287-325. In: M. Black and J.D. Bewley (eds.). Seed Technology and Its Biological Basis. Sheffield Academic Press, England.

Mukhtar, K., I. Afzal, M. Qasim, S.M.A. Basra and M. Shahid. 2013. Does priming promote germination and early stand establishment of French marigold (Tagetes patula L.) seeds by inducing physiological and biochemical changes? Acta Sci. Pol. Hortorum Cultus. 12(3): 13-21.

Neher, N.T. 1968. The ethnobotany of tagetes. Econ Bot. 22(4): 317-325.

Pawar, V.A. and S.L. Laware. 2018. Seed priming: a critical review. Int. J. Sci. Res. in Biological Sciences 5(5): 94-101.

Sedghi, M., A. Nemati and B. Esmaielpour. 2010. Effect of seed priming on germination and seedling growth of two medicinal plants under salinity. Emir. J. Food Agric. 22(2): 130-139.

Woodstock, L.W. 1988. Seed imbibition: a critical period for successful germination. J. Seed Technol. 12(1): 1-5.