ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการซื้อข้าวอินทรีย์ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

เกศสุดา สิทธิสันติกุล
บัญจรัตน์ โจลานันท์
จรีวรรณ จันทร์คง

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการซื้อข้าวอินทรีย์ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการซื้อข้าวอินทรีย์ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามโดยเก็บจากผู้เคยซื้อข้าวอินทรีย์ของตำบลลวงเหนือ จำนวน 400 คน ใช้ค่าความถี่และค่าร้อยละในการวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อ และใช้ Pearson Chi Square ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการซื้อข้าวอินทรีย์ ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการซื้อมากที่สุด ได้แก่ ซื้อเดือนละครั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อการบริโภค ซื้อ 2-6 วันต่อครั้ง ซื้อเพราะอยากลองชิม สถานที่ซื้อที่ตลาดนัดในตำบล ซื้อตามช่องทางที่เพื่อนบอก ซื้อ 1-5 กิโลกรัมต่อครั้ง ซื้อแบบตักเป็นกิโล ซื้อที่ราคามากกว่า 35 บาทต่อกิโลกรัม และเต็มใจที่จ่ายที่ราคา 41-50 บาทต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า เพศมีความสัมพันธ์กับความถี่ในการซื้อ อาชีพสัมพันธ์กับความถี่ในการซื้อ ความถี่ในการบริโภค และลักษณะการซื้อ ที่อยู่อาศัยสัมพันธ์กับความถี่ในการซื้อ ความถี่ในการบริโภค ลักษณะการซื้อ และราคาที่ซื้อ อายุและรายได้สัมพันธ์กับความถี่ในการซื้อ ความถี่ในการบริโภค ปริมาณการซื้อ ลักษณะการซื้อ และราคาซื้อ ส่วนการศึกษาและสถานภาพสมรสสัมพันธ์กับความถี่ในการซื้อ ความถี่ในการบริโภค ลักษณะการซื้อ และราคาซื้อ ข้อเสนอแนะเพื่อการวางแผนการตลาด ได้แก่ การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายในตลาดนัดท้องถิ่น การกำหนดราคาที่หลากหลายตามพื้นที่ใกล้และไกลและกำลังซื้อของคนทุกกลุ่ม และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่กำหนดปริมาณได้ น้ำหนักน้อย และเก็บได้นาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตนัน เชื้อเจ็ดตน. 2559. พฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ตำบลเมืองเล็น อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ 26(2): 121-134.

กมลวรรณ มั่งคั่ง สุกัญญา สุจาคำ และสุธี อยู่ยิ้ม. 2558. พฤติกรรมการบริโภคข้าวอินทรีย์ของประชาชนในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 10(2): 11-24.

เจียระไน ไชยกาลเจิ้ง และกมลพร นครชัยกุล. 2563. ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้ออาหารเกษตรอินทรีย์ของผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 14(1): 241-253.

ชัยฤทธิ์ ทองรอด และวราภรณ์ สารอินมูล. 2563. พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าในตลาดนัดกลางคืนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย 21(3): 197-210.

ธีระวุฒิ เอกะกุล. 2550. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

ปิลันธนา แป้นปลื้ม. 2559. ปัจจัยที่มีผลต่อการเต็มใจจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ของผู้บริโภคในตลาดนัดสีเขียวและร้านค้าเฉพาะด้านแบบมีสาขาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารการจัดการสมัยใหม่ 14(1): 169-178.

เผ่าพันธุ์ แย่งคุณเชาว์. 2562. การศึกษาความเต็มใจที่จะจ่ายของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาตรมหาบัณฑิต, คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พิทวัส เอื้อสังคมเศรษฐ์. 2559. ทัศนคติ ความตั้งใจ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคต่ออาหารเกษตรอินทรีย์. วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์ 38(149): 58-83.

พรพิมล สระทองปัง พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง คะนึงรัตน์ คำมณี และจิรัฐินาฎ ถังเงิน. 2561. พฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ในตลาดนัดสุขใจ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 20(2): 185-192.

Meldrum, M., and M. McDonal. 2010. Marketing in nutshell. Massachusetts, Butterworth - Hinemann.

Orji, O.G. 2013. Major classic consumer buying behavior models: implications for marketing decision-making. Journal of Economics and Sustainable Development 4(4): 164-172.