ผลของอัตราส่วนประชากรระหว่างข้าวและข้าววัชพืชต่อความสามารถ ในการแข่งขันเพื่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1

Main Article Content

บุญฤทธิ์ เข็มสัมฤทธิ์
ฉัตรสุดา เผือกใจแผ้ว
เจนจิรา หม่องอ้น

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของอัตราส่วนประชากรของข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 (PTT1) และข้าววัชพืชต่อความสามารถในการแข่งขันด้านการเจริญเติบโตและผลผลิต ดำเนินการทดลอง 2 การทดลองในกระถาง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design; CRD) จำนวน 5 กรรมวิธี โดยมีอัตราส่วน PTT1:ข้าววัชพืช 5 ระดับ ได้แก่ 4:0, 3:1, 2:2, 1:3 และ 0:4 ต้นต่อกระถาง จำนวน 4 ซ้ำ การทดลองที่ 1 ประเมินผล ของอัตราส่วนประชากร PTT1 และข้าววัชพืชต่อการเจริญเติบโตในระยะกล้า ทำการย้ายปลูกต้นกล้าอายุ 10 วัน ในกระถางที่บรรจุสารละลายธาตุอาหารเต็มสูตรปริมาตร 10 ลิตร เป็นระยะเวลา 14 วัน พบว่าการเจริญเติบโตทางต้นและรากของ PTT1 ในกรรมวิธี 4:0, 3:1, 2:2 และ 1:3 ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ เช่นเดียวกับการเจริญเติบโตทางต้นและรากของข้าววัชพืชที่ไม่ได้รับผลกระทบจากกรรมวิธีการทดลอง นอกจากนี้ยังพบว่า ค่าเฉลี่ยความสูงต้น จำนวนใบต่อต้น ความยาวราก และจำนวนรากต่อต้นของ PTT1 สูงกว่าข้าววัชพืช 35.1, 29.3, 30.0 และ 36.3 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การทดลองที่ 2 ประเมินผลของอัตราส่วนประชากร PTT1 และข้าววัชพืชต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตทำการย้ายปลูกต้นกล้าอายุ 7 วัน ในกระถางที่บรรจุดินนาปริมาตร 10 ลิตร ที่มีอัตราส่วนประชากรเดียวกับการทดลองที่ 1 ที่ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต (100 วันหลังย้ายปลูก)
พบว่า การแข่งขันของข้าววัชพืชส่งผลให้จำนวนหน่อต่อต้นและเปอร์เซ็นต์เมล็ดดีของ PTT1 ลดลง (16.7 และ 16.1 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบเพิ่มขึ้น (45.8 เปอร์เซ็นต์) และมีผลผลิตลดลง (15.2 เปอร์เซ็นต์) ในกรรมวิธี 1:3 แต่ไม่พบว่าการเจริญเติบโตและผลผลิตของ PTT1 ลดลงจากการแข่งขันกับข้าววัชพืชในกรรมวิธี 3:1 และ 2:2 จากผลการทดลองชี้ให้เห็นว่า 1) การแข่งขันระหว่างข้าวเพื่อการค้าและข้าววัชพืชส่งผลต่อระยะปลายของการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบและระยะการสร้างผลผลิตมากกว่าระยะต้นกล้า และ 2) การแข่งขันของข้าววัชพืชมีผลกระทบอย่างมากต่อการลดลงของผลผลิตข้าวเมื่อความหนาแน่นของข้าววัชพืชสูงกว่าข้าวเพื่อการค้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการข้าว. 2551. การจัดการข้าววัชพืชแบบผสมผสานในระบบการผลิตแบบเกษตรดีที่เหมาะสม. กรมการข้าว สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว. นครนายก.

จรรยา มณีโชติ. 2548. ข้าววัชพืช ปัญหาและการจัดการ. ฮั่วน้ำ พริ้นติ้ง จำกัด. กรุงเทพฯ.

จรรยา มณีโชติ อริยา เผ่าเครื่อง และศันศนีย์ จำจด. 2553. การใช้ระบบสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อสำรวจการระบาดของข้าววัชพืชในนาข้าวเขตภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. น.2797-2817. ใน: รายงานผลการวิจัย ประจำปี 2553. กรมวิชาการเกษตร.

เจนจิรา หม่องอ้น สุคนธมาส เปรมปรุงวิทย์ สยมพร นากลาง วาสนา เสนาพล และอารมณ์ จันทะสอน. 2560. การเพิ่มความแข็งแรงของต้นกล้าข้าว ข้าวโพดและมันสำปะหลัง โดยวิธีการแช่เมล็ดและท่อนพันธุ์ในสารละลายแคลเซียม โบรอน และสังกะสี. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) 9(18): 49-62.

นริศ เนตรถาวร และเจนจิรา หม่องอ้น. 2564. ผลของช่วงเวลาการกำจัดวัชพืชต่อชนิดวัชพืชเด่นและการเจริญเติบโตของข้าวพันธุ์สันป่าตอง 1 ภายใต้การเพาะปลูกแบบนาดำ. วารสารผลิตกรรมการเกษตร 3(2): 1-10.

ศานิต สวัสดิกาญจน์ สุวิทย์ เฑียรทอง เนาวรัตน์ ประดับเพ็ชร์ และวริสรา ปลื้มฤดี. 2554. การศึกษาการเจริญเติบโตของข้าวปลูกและข้าววัชพืช. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 42(2): 141-144.

สุพรรษา ชินวรณ์ สลิลทิพย์ นุรักษ์ทวีพร และอนุพงศ์ วงค์ตามี. 2564. การงอกของเมล็ดและการพัฒนาของต้นข้าววัชพืชที่เก็บรวบรวมจากแปลงเกษตรกรในอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารเกษตรนเรศวร 18(1): 1-8.

Arrieta-Espinoza, G., E. Sanchez, S. Vargas, S. Lobo, T. Quesada and A.M. Espinoza. 2005. The weedy rice complex in Costa Rica. I. Morphological study of relationships between commercial rice varieties, wild Oryza relatives and weedy types. Genetic Resources and Crop Evolution 52(2-3): 575-587.

Burgos, N.R., R.J. Norman, D.R. Gealy and H. Black. 2006. Competitive N uptake between rice and weedy rice. Field Crops Research 99: 96-105.

Chen, B.J.W., H.J. During and N.P.R. Anten. 2012. Detect thy neighbor: identity recognition at the root level in plants. Scientific Research 195(1): 157-167.

Eleftherohorinos, I.G., K.V. Dhima and I.B. Vasilakoglou. 2002. Interference of red rice in rice grown in Greece. Weed Science Journal 50(2): 167-172.

Gioria, M. and B.A. Osborne. 2014. Resource competition in plant invasions: emerging patterns and research needs. Frontiers in Plant Science Journal 5(1): 501.

Jindalouang, R., C. Maneechote, C. Prom-u-thai, B. Rerkasem and S. Jamjod. 2018. Growth and nutrients competition between weedy rice and crop rice in a replacement series study. International Journal of Agriculture and Biology 20(4): 784-790.

Karn, E., T. De Leon, L. Espino, K. Al-Khatib and W. Brim-DeForest. 2020. Effects of competition from California weedy rice (Oryza sativa f. spontanea) biotypes on a cultivated rice variety. Weed Technology 34(5): 666-674.

Marambe, B. 2009. Weedy rice: evolution, threats, and management. Tropical Agriculturist 157: 43-64.

Maxwell, B.D. and J.T. O’Donovan. 2007. Understanding Weed-crop interactions to manage weed problems. pp. 17-33. In: M.K. Upadhyaya and R.E. Blackshaw (eds.). Nonchemical Weed Management: Principles, Concepts and Technology. CAB International: Cambridge, MA, USA.

Mongon, J., D. Konnerup, T.D. Colmer and B. Rerkasem. 2014. Responses of rice to Fe2+ in aerated and stagnant condition: growth, root porosity and radial oxygen loss barrier. Functional Plant Biology 41: 922-929.

Wongtamee, A., C. Maneechote, T. Pusadee, B. Rerkasem and S. Jamjod. 2017. The dynamics of spatial and temporal population genetic structure of weedy rice (Oryza sativa f. spontanea Baker). Genet. Resour. Genetic Resources and Crop Evolution 64: 23-39.