การใช้ประโยชน์ผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมสัตว์ปีกต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และองค์ประกอบผลผลิตของอ้อย

Main Article Content

น้ำผึ้ง แสงใส
ชัยสิทธิ์ ทองจู
ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย
จุฑามาศ ร่มแก้ว

บทคัดย่อ

     ศึกษาการใช้ประโยชน์ของผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมสัตว์ปีกต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และองค์ประกอบผลผลิตของอ้อยพันธุ์กำแพงแสน 01-4-29 ที่ปลูกในชุดดินกำแพงแสน โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อค (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 10 ตำรับทดลอง ผลการศึกษา พบว่า ทุกตำรับทดลองที่มีการใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมสัตว์ปีก ทั้งการคลุกผสมกับปุ๋ยเคมี หรือการฉีดพ่นส่วนเหนือดินของพืช มีผลให้ผลผลิตอ้อยสด และค่า CCS มากที่สุด รองลงมา คือ การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน (CFDOA) นอกจากนี้ การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมสัตว์ปีกอัตรา 1,000 กรัม/ปุ๋ย 50 กิโลกรัม และการฉีดพ่นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมสัตว์ปีกอัตรา 600 กรัม/ไร่ (CFDOA+BPI1000 (in soil)+BPI600 (spray)) มีผลให้น้ำหนักต่อลำ และผลผลิตน้ำตาลของอ้อยมากที่สุด ซึ่งไม่แตกต่างทางสถิติกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมสัตว์ปีกอัตรา 1,000 กรัม/ปุ๋ย 50 กิโลกรัม และการฉีดพ่นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมสัตว์ปีกอัตรา 300 กรัม/ไร่ (CFDOA+BPI1000 (in soil)+BPI300 (spray)) การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมสัตว์ปีกอัตรา 1,000 กรัม/ปุ๋ย 50 กิโลกรัม และการฉีดพ่นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมสัตว์ปีกอัตรา 150 กรัม/ไร่ (CFDOA+BPI1000 (in soil)+BPI150 (spray)) และการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมสัตว์ปีกอัตรา 500 กรัม/ปุ๋ย 50 กิโลกรัม และการฉีดพ่นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมสัตว์ปีกอัตรา 600 กรัม/ไร่ (CFDOA+BPI500 (in soil)+BPI600 (spray))

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. 2553. คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2558. คู่มือปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ทางดิน ระบบโสตทัศนูปกรณ์. คณะเกษตร กำแพงแสน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.

ทัศนีย์ อัตตะนันท์ และจงรักษ์ จันทร์เจริญสุข. 2542. แบบฝึกหัดและคู่มือปฏิบัติการวิเคราะห์ดินและพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ปิยพงศ์ เขตปิยรัตน์ ชัยสิทธิ์ ทองจู ศุภชัย อำคา ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย และพงษ์เพชร พงษ์ศิวาภัย. 2560. ผลของวัสดุอินทรีย์ผสมจากผลพลอยได้โรงงานผงชูรส (อามิ-อามิ) และขี้เถ้าลอยต่อสมบัติดิน ผลผลิต และองค์ประกอบของผลผลิตอ้อยปลูกและอ้อยตอ 1. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 35(3): 19-28.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2558. ธาตุอาหารพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2560. การใช้ปุ๋ยและสารเร่งทางใบ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

โรจน์ เทพพูลผล. 2525. รายงานการสำรวจความเหมาะสมของดิน ฉบับที่ 311 รายงานการสำรวจดินจังหวัดนครปฐม. กรมพัฒนาที่ดิน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

วรัญญา เอมถมยา ชัยสิทธิ์ ทองจู ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย จุฑามาศ ร่มแก้ว ธรรมธวัช แสงงาม และธีรยุทธ คล้ำชื่น. 2561. ผลของการจัดการปุ๋ยเคมีร่วมกับสังกะสีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อยตอ (ปีที่ 1) ที่ปลูกในชุดดินกำแพงแสน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ 1(2): 66-79.

สํานักงานคณะกรรมการอ้อยและนํ้าตาลทราย. 2564. ทางรุ่งอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลสวนกระแสลบวิกฤตโควิด. แหล่งข้อมูล: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/951743. (15 สิงหาคม 2564).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2560-2562. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

Prasanthi, N., S. Bhargavi and P.V.S. Machiraju. 2016. Chicken Feather Waste-A threat to the Environment. IJIRSET. 5(9): 16,759-16,764.

Thongjoo, C., S. Miyagawa and N. Kawakubo. 2005. Effect of soil moisture and temperature on decomposition rates of some waste materials from agriculture and agro-industry. Plant Production Science 8(4): 475-481.