รูปแบบการดำเนินงานของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ภายใต้กรอบแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ณัฐพนธ์ สกุลพงษ์
จักรพงษ์ พวงงามชื่น
นคเรศ รังควัต
พุฒิสรรค์ เครือคำ

บทคัดย่อ

     ในช่วงปี พ.ศ. 2558-2563 การจดทะเบียนเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนในภาพรวมของไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะที่จังหวัดเชียงใหม่พบว่าเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อกระบวนการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนในระดับประเทศ ดังนั้นการศึกษาถึงปัจจัยในการดำเนินงานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนจึงเป็นเรื่องเร่งด่วน โดยทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 182 คน ซึ่งเป็นสมาชิกเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 7 เครือข่าย รวม 25 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและอนุมาน และเก็บข้อมูลด้วยชุดคำถามร่วมกับเทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกกับประธานและกรรมการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้งสิ้น 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงเหตุผล ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (78.57%) เป็นสมาชิกเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนประเภทการผลิตสินค้าที่ก่อตั้งโดยผู้นำกลุ่ม (63.74%) โดยกลุ่มตัวอย่างประมาณหนึ่งในสี่ (23.26%) จัดจำหน่ายผลผลิตตามคำสั่งซื้อ และใช้ทุนตนเอง (29.10%) โดยมีการเข้าร่วมเครือข่ายมาแล้วเฉลี่ย 3.35 ปี กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่ง (57.14%) เคยมีการติดต่อแต่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ (56.59%) ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างมีความแนบแน่นต่อกันในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.23) ในขณะที่การมีส่วนร่วมในภาพรวมระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.90) ซึ่งนำไปสู่การดำเนินงานอย่างยั่งยืนในภาพรวมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.00) อีกทั้งพบ 7 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ การมีส่วนร่วมในภาพรวม รายได้ (ต่ำกว่า 84,000 บาท/ปี) การมีส่วนร่วมแบ่งผลประโยชน์ แหล่งเงินทุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การได้รับความช่วยเหลือจากนักส่งเสริมการเกษตร การเข้าร่วมเครือข่าย (ต่ำกว่า 1 ปี) และระดับการศึกษาสูงสุด (ปริญญาตรีขึ้นไป)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาชุมชน. 2547. คู่มือการปฏิบัติงานวิสาหกิจชุมชน. กระทรวงมหาดไทย. โรงพิมพ์บริษัท เอ ที เอ็น โปรดักชัน จำกัด. กรุงเทพฯ.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2552. การดำเนินงานพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548. โรงพิมพ์ชุมนมสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัด. กรุงเทพฯ.

กลุ่มทะเบียนและสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน. 2563. รายชื่อเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน. แหล่งข้อมูล http://smce.doae.go.th/ProductCategory/SmceCategory.php (23 กรกฎาคม 2564).

จักรพงษ์ พวงงามชื่น. 2552. การบริหารจัดการป่าชุมชน: กรณีศึกษาบ้านป่าสักงาม ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 32: 407-422.

จักรพงษ์ พวงงามชื่น รภัสสรณ์ คงธนาจารุอนันต์ และทองเลียน บัวจูม. 2562. เหตุจูงใจในการประกอบอาชีพเกษตกรรมหลังจบการศึกษาของนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมนุษยสังคมศาสตร์ 17(3): 135-156.

ทัศน์ชัย ศิริวรรณ. 2564. การพัฒนาดัชนีชี้วัดความสำเร็จอย่างยั่งยืนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชีววิถีตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตรและพัฒนาชนบท, คณะผลิตกรรมการเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้. จังหวัดเชียงใหม่.

ปิยะนุช กลิ่นคล้าย. 2552. ปัจจัยการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน อำเภอสนามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปิยะบุตร หล่อไกรเลิศ. 2547. เศรษฐกิจพอเพียง. แม็ค. กรุงเทพฯ.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2540. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร. กรุงเทพฯ.

ลำแพน จอมเมือง และสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล. 2546. ผ้าทอไทลื้อ : เศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง. สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ.

วีระศักดิ์ จุลดาลัย และพณิฐา ยงพิทยาพงศ์. 2551. การพัฒนาระบบการจัดการเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบและยั่งยืน จังหวัดนครพนม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 3(1): 43-53.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2540. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8. แหล่งข้อมูล https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=3783 (22 กรกฎาคม 2564).

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2564. ประเทศไทยกับการพัฒนาที่ยั่งยืน. แหล่งข้อมูล https://sdgs.nesdc.go.th/ (22 กรกฎาคม 2564).

Likert, R. 1961. New patterns of management. Print book: EnglishView all editions and formats. McGraw-Hill Book Company, Inc. New York.

Siriwan, T., J. Poung-Ngamchuen, N. Rungkawat and P. Kruekum. 2020. Rationale Factors Affecting Participation in Managerial Administration of Chiwavitee Community Enterprise Group’s Members in Nam KianSub-district, Phu Phiang District, Nan Province. Journal of Environmental Treatment Techniques 8(4): 1611-1617.

Taro, Y. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. Harper and Row Publications. New York.