การใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืนจากความหลากหลายทางนิเวศลุ่มน้ำสงครามด้วยภูมิปัญญาและองค์ความรู้ของชุนชนเกษตร อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร บทความวิจัย

Main Article Content

อนุรักษ์ เครือคำ
รัชชานนท์ ผงทอง
ภูวดล โดยดี
เบญจพร อุผา
วัสยษฏิ์ อนันต์ปรีชากร

บทคัดย่อ

การศึกษาการใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืนจากความหลากหลายทางนิเวศลุ่มนํ้าสงคราม ด้วยภูมิปัญญาและองค์ความรู้ของชุมชนเกษตร ในพื้นที่อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของชุมชนในพื้นที่ลุ่มนํ้าสงคราม 2) ศึกษาการใช้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้ของชุมชนในการใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มจากความหลากหลายทางนิเวศ และ 3) ศึกษาผลิตภัณฑ์ชุมชนเด่นที่เกิดจากภูมิปัญญาและองค์ความรู้ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชนต่อยอดในเชิงพาณิชย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้รู้จากตัวแทนชุมชนในลุ่มนํ้าสงคราม ใช้เกณฑ์การคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลผ่านการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 29 คน ดำเนินการศึกษาโดยใช้การสำรวจ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบกึ่งมีโครงสร้าง ผลการศึกษา พบว่า 1) บริบทของชุมชนพื้นที่ลุ่มน้ำสงคราม ในพื้นที่อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร สภาพโดยทั่วไปของอำเภออากาศอำนวย เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำสำคัญ 2 สาย ไหลผ่าน คือ ลำน้ำยาม เป็นลำน้ำขนาดเล็ก ต้นนํ้าเกิดจากเทือกเขาภูพาน และลำนํ้าสงคราม เป็นลำนํ้าค่อนข้างใหญ่ ต้นกำเนิดจากสันภูผาเหล็ก มี 4 ชนเผ่า ได้แก่ ไทโย้ย ลาว ญ้อ และภูไท ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร อาชีพเสริม ทอผ้าพื้นเมือง เลี้ยงสัตว์ (โค) พื้นเมือง โคขุน และการจับปลาและสัตว์นํ้าตามแหล่งนํ้าธรรมชาติ 2) การใชภู้มิปัญญาและองค์ความรู้ของชุมชนในการใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มจากความหลากหลายทางนิเวศในพื้นที่อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร พบว่า ภูมิปัญญาและองค์ความรู้ที่เด่นชัดของชุมชนใน 3 หมู่บ้าน คือ บ้านท่าแร่ดงปลาปาก บ้านท่าควาย และบ้านท่าก้อน ได้แก่ การทอผ้า การถนอมอาหารจากสัตว์น้ำ เครื่องจักสาน และการทอเสื่อ 3) ศึกษาผลิตภัณฑ์ชุมชนเด่นที่เกิดจากภูมิปัญญาและองค์ความรู้ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชนต่อยอดในเชิงพาณิชย์ พบว่า ผลิตภัณฑ์เด่นที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน มีดังนี้ การทอผ้า ได้แก่ ผ้าย้อมคราม และผ้าย้อมสีธรรมชาติ เช่น ผ้าถุงมัดหมี่ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ กระเป๋า เครื่องประดับต่าง ๆ การทำเครื่องจักสาน และการถนอมอาหารจากสัตว์นํ้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร ฉิมพลี. 2555. รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาพัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ฉลาดชาย รมิตานนท์. 2537. วัฒนธรรมกับความหลากหลายทางชีวภาพ. วิวัฒน์ คติธรรมนิตย์(ผู้รวบรวม). ความหลากหลายทางชีวภาพกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน. สถาบันชุมชนท้องถิ่นและพัฒนา, กรุงเทพฯ.

ชูศรี ไตรสนธิ. 2539. พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวเขาในภาคเหนือของประเทศไทย. การประชุมวิชาการ เรื่องทรัพยากรพืชของเชิงเขาหิมาลัย. องค์การสวนพฤกษศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี.

ประเวศ วะสี. 2530. การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมู่บ้าน.

ปิยาพร อรุณพงษ์. 2550. มิติทางวัฒนธรรมในการจัดการทรัพยากรลุ่มนํ้าสงครามตอนล่าง: กรณีศึกษาชุมชนท่าบ่อ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(พัฒนามนุษย์และสังคม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมบัติ อินทะภูมิ, ผู้ให้สัมภาษณ์, 2 กรกฎาคม 2565. สมพินิจ เหมืองทอง. 2543. การแบ่งชั้นระดับนํ้าท่วมในพื้นที่ลุ่มนํ้าสงคราม. ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2550. ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ลุ่มนํ้าสงครามตอนล่าง. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ประเทศไทย. (ม.ป.ป.). ข้อมูลแม่นํ้าสงคราม. แหล่งข้อมูล http://www.wwf.or.th/what_we_do/wetlands_and_production_landscape/songkramriver/ (10 ตุลาคม 2564).

อนุรักษ์ เครือคำ พุฒิสรรค์ เครือคำ และวรสิทธิ์ วงศ์อดิศัย. 2560. ภูมิปัญญาและองค์ความรู้ของชุมชนในการใช้ประโยชน์ความหลากหลายของพืชนํ้าพื้นบ้านในพื้นที่หนองหาร จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 34(1): 81-90.

Amloy, A. 2021. Local wisdom management in communities in Thailand. J. Environmental Design. 8(1): 171-191.

Chantharun, N., K. Onrueang and A. Kenaphoom. 2016. The wisdom management concept of the indigo and Phu Tai way of life. Dhammathas Academic J. 16(1): 250-263.