การใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในท้องถิ่นสำหรับการผลิตเห็ดนางรม (Pleurotus osteatus)

Main Article Content

เจนจิรา นามี
เพ็น เสียะ

บทคัดย่อ

     การจัดการวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในท้องถิ่นเป็นเรื่องสำคัญเพื่อลดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมอีกทั้งยังส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตเห็ดนางรม (Pleurotus osteatus) โดยใช้วัสดุเพาะจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มีในท้องถิ่น 3 ชนิดคือ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ฟางข้าว และใบอ้อย เป็นวัสดุเพาะเห็ด แบ่งกลุ่มการทดลองตามอัตราส่วนผสมของวัสดุเพาะ ออกเป็น 6 กลุ่มดังนี้ 1) ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100:0 (กลุ่มควบคุม) 2) ฟางข้าว 100:0 3) ใบอ้อย 100:0 4) ใบอ้อยผสมฟางข้าว 75:25 5) ใบอ้อยผสมฟางข้าว 50:50 และ 6) ใบอ้อยผสมฟางข้าว 25:75 โดยวัสดุเพาะทุกกลุ่มเติมรำละเอียด ยิปซั่ม ปูนขาว และดีเกลือ ในอัตราส่วน 6, 2, 1 และ 0.2 กิโลกรัม/วัสดุเพาะ 100 กิโลกรัม บรรจุใส่ถุงพลาสติกขนาด 10×15 นิ้ว นํ้าหนัก 900 กรัม/ถุง ผลการทดลองพบว่าจำนวนวันที่เส้นใยเจริญเต็มถุงของทุกกลุ่มการทดลองไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) โดยวัสดุเพาะใบอ้อยผสมกับฟางข้าว อัตราส่วน 75:25 มีน้ำหนักดอกเห็ดเฉลี่ยสูงสุด 5.85 กรัม/ดอก ก้านชูดอกเห็ดมีความยาวเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 6.42 เซนติเมตร และหมวกดอกเห็ดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากที่สุดเท่ากับ 6.18 เซนติเมตร (p<0.05) นอกจากนี้ค่าประสิทธิภาพทางชีววิทยาพบว่าวัสดุเพาะขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100:0 มีค่าสูงที่สุดเท่ากับ 27.67 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาได้แก่ วัสดุเพาะใบอ้อยผสมกับฟางข้าว 75:25 และใบอ้อยผสมกับฟางข้าว 50:50 มีค่าเท่ากับ 19.44 เปอร์เซ็นต์ และ 19.89 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ด้านคุณค่าทางโภชนะของเห็ดนางฟ้าพบว่าวัสดุเพาะใบอ้อยผสมกับฟางข้าว (50:50) มีปริมาณของวัตถุแห้ง เยื่อใย และเถ้า สูงสุดที่ 8.35 เปอร์เซ็นต์ 19.87 เปอร์เซ็นต์ และ 10.65 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ดังนั้นวัสดุเพาะใบอ้อยผสมกับฟางข้าว ในอัตราส่วน 75:25 ส่งผลให้ขนาด นํ้าหนัก และความสมบูรณ์ของดอกเห็ด ตรงกับความต้องการของตลาด จึงจัดเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรอีกทางเลือกที่น่าสนใจในการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ครุปกรณ์ ละเอียดอ่อน. 2565. การประยุกต์ใช้ชานอ้อย ฟางข้าว และไมยราบยักษ์เป็นวัสดุเพาะเห็ดนางรมเทา. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 39(1): 28-39.

รัชพล พะวงศ์รัตน์. 2558. กระบวนการปรับสภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเอทานอลจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรประเภทลิกโนเซลลูโลส. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ) 2(1): 143-157.

วิมล ภูกองไชย และวรรณวิภา แก้วประดิษฐ์. 2561. การจัดการเศษซากใบอ้อยที่ส่งผลต่อการย่อยสลายและปลดปล่อยไนโตรเจน. แก่นเกษตร ฉบับพิเศษ 46(1): 25-29.

สามารถ ใจเตี้ย. 2563. การใช้ประโยชน์วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของเกษตรกรในเทศบาลตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 38(2): 79-88.

AOAC. 1995. Official methods of analysis of the association of official analytical chemists. 16th ed. Washington D.C. USA.

Cheung, S.W and B.C. Anderson. 1997. Laboratory investigation of ethanol production from municipal primary wastewater. Bioresour. Technol. 59: 81-96.

Dewany, C.E., F. Awad and A.M. Zaghoul. 2018. Utilization of rice straw as a lowcost natural by production agriculture. Int. j. environ. pollut. environ. model. 1(4): 91-102.

Dicks, L. and S. Elinger. 2020. Effect of the intake of oyster mushrooms (Pleurotus ostreatus) on cardiometabolic parameters-a systematic review of clinical trials. Nutrients. 12(4): 1134.

Ferdousi, J., J.A. Riyadh, M.I. Hossain, S.R. Saha and M. Zakaria. 2019. Mushroom production benefits, status, challenges and opportunities in Bangladesh: A review. Annu Res Rev Biol. 34: 1-13.

Kumla, J.N., Suwannarach, K. Sujarit, W. Penkhrue, P. Kakumyan, K. Jatuwong, S. Vadthanarat and S. Lumyong. 2020. Cultivation of mushrooms and their lignocellulolytic enzyme production through the utilization of agro-industrial waste. Molecules. 25: 2-41.

Morzina, A., F.H. Riyadh, A.A. Fahed, A.T. Md, A. Sharmin and M. Shreef. 2022. Utilization of Agro-Industrial Wastes for the Production of Quality Oyster Mushrooms. Sustainability. 14(994): 1-10.

Prasad, S., H. Rathore, S. Sharma and Tiwari, G. 2018. Yield and proximate composition of Pleurotus florida cultivated on wheat straw supplemented with perennial grasses. Indian J Agric Sci. 88: 91-94.

Sardar, H., M.A. Anjum, A. Nawaz, S. Naz, S. Ejaz, S. Ali and S.T. Haider. 2020. Effect of different agro-wastes, casing materials and supplements on the growth, yield and nutrition of milky mushroom (Calocybe indica). Folia Hort. 32: 115-124.

Sardara, H., M.A. Alib, F.N. Anjuma, S. Hussaina, S. Naza and S.M. Karimd. 2017. Agro-industrial residues influence mineral elements accumulation and nutritional composition of king oyster mushroom (Pleurotus eryngii). Sci Hortic. 225: 327-334.

Shah, Z.A., M. Asar and M. Ishtiaq. 2004. Comparative study on cultivation and yield performance of oyster mushroom on different substrates (wheat straw, leaves, saw dust). Pak J Nutr. 3: 159-160.

Triribhuvanamala, G., S. Karishnamoorthy, K. Manoranjitham, V. Prasasmand and S. Krishnan. 2012. Improved techniques to enhance the yield of paddy straw mushroom (Volvariella volvacea) for commercial cultivation. Afr J Biotechnol. 11(64): 12740-12748.

Tufail, T., F. Saeed, M. Imran, M.U. Arshammad, F.M. Anjum, M. Afzaal, H.B.U. Ain, M. Shahbaz, T.A. Gondal and S. Hussain. 2018. Biochemical characterization of wheat straw cell wall with special reference to bioactive profile. Int J Food Prop. 21: 1303-1310.

Valverde, E.M., H.P. Talia and P.L. Octavio. 2015. Edible mushrooms: Improving human health and promoting quality life. Int J Microbiol. 1-14.

Wang, D., A. Sakoda and M. Suziki. 2001. Biological efficiency and nutritional value of Pleurotus ostreatus cultivated on spent beer grain. Bioresour Technol. 78: 293-300.