ผลของวัสดุปลูกจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของผักสลัดใบพันธุ์กรีนโอ๊ค

Main Article Content

สามารถ ใจเตี้ย

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความเหมาะสมของวัสดุปลูกจากเศษเหลือทิ้งทาง การเกษตรต่อการเจริญเติบโตของผักสลัดพันธุ์ใบกรีนโอ๊ค โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design, CRD) จำนวน 7 สิ่งทดลอง 4 ซํ้า ประกอบด้วย ใบ กิ่งมะม่วง ใบ กิ่งลำไย เศษต้น รากและเปลือกหอมแดงแห้ง ดินร่วน ใบจามจุรีแห้ง มูลโคนมแห้ง และนํ้าหมัก มูลไส้เดือนดิน ผลการศึกษาพบว่า เมื่อหมักวัสดุปลูกครบ 60 วัน วัสดุปลูกมีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ระหว่าง 0.112-0.275 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมด และปริมาณโพแทสเซียมทั้งหมด 1.201- 1.771 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ 2.217-3.956 มิลลิกรัมตอ่ กิโลกรัม ตามลำดับ เมื่อนำวัสดุปลูกไปทดสอบ ต่อการเจริญเติบโตของผักสลัดพันธุ์ใบกรีนโอ๊คพบว่า การเจริญเติบโตของผักสลัดกรีนโอ๊คมีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสิ่งทดลองที่ 7 มีการเจริญเติบโตทางด้านจำนวนใบ ความสูงของ ลำต้น ความยาวราก และความกว้างทรงพุ่มสูงสุด ส่วนสิ่งทดลองที่ 2 มีนํ้าหนักสดเฉลี่ยต่อต้นสูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรชัย จันทร์เด่นดวง. 2550. การทำปุ๋ยหมัก. วารสารเทคโนโลยีวัสดุ 48: 48-54.

ทรงธรรม สุขสว่าง บุญมา ดีแสง และปรภา คล้ายมุข. 2537. การเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินภายหลังการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูต้นนํ้าแม่กลอง จังหวัดกาญจนบุรี. รายงานการประชุมวิชาการป่าไม้ประจำปี 2537. กรุงเทพฯ: กรมป่าไม้.

ปิยะรัตน์ ทองธานี. 2561. ประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรต่อการเจริญเติบโตของคะน้ายอดไต้หวันพันธุ์บางบัวทอง 35 ที่ผลิตภายใต้การมีส่วนร่วมของเกษตรกรตำบลป่าตัน อำเภอแม่ทะจังหวัดลำปาง. แก่นเกษตร 46(6): 1045-1056.

รัตติญา พรมแสง อรุณศิริ กำลัง และจันทร์จรัส วีรสาร. 2552. ผลของการปลดปล่อยไนโตรเจนจากการหมักมูลโคนม และมูลโคขุนต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดเขียวกวางตุ้ง. วารสารดินและปุ๋ย 31(2): 118-126.

สามารถ ใจเตี้ย. 2562. การพัฒนาวัสดุปลูกพืชจากวัสดุเหลือใช้ในชุมชนที่เหมาะสมสำหรับระบบเกษตรปลอดภัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สามารถ ใจเตี้ย. 2564. การใช้ประโยชน์วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของเกษตรกรในเทศบาลตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 38(2): 79-88.

สุทิน ทวยหาญ เกรียงศักดิ์ ไพรวรรณ รภัสสา จันทาศรี และสำ ราญ พิมราช. 2556. การศึกษาวัสดุปลูกจากดินผสมที่เหมาะสมสำหรับผักคะน้า. วารสารเกษตรพระวิรุณ 10(2): 117-124.

สุภาพร พงศ์ธรพฤกษ์. 2561. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการหมักปุ๋ยชีวมวลเหลือทิ้งในสวนวนเกษตร. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม 15(2): 78-87.

อาณัฐ ตันโช. 2563. ไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์ตำรับแม่โจ้. วารสารผลิตกรรมการเกษตร2(1): 1-10.

Barrett , G.E., P.D. Alexandera , J.S. Robinson and N.C. Bragg. 2016. Achieving environmentally sustainable growing media for soilless plant cultivation systems – A review. Scientia Horticulturae. 212: 220-234.

Bekele, A., K. Kibret, B. Bedadi, M.J. Yli-Halla and T. Balemi. 2018. Effects of lime, vermicompost, and chemical P fertilizer on selected properties of acid soils at Ebantu district, Western highlands of Ethiopia. African Journal of Agricultural Research. 13(10): 477-489.

Diana, L.D., M.S. Sergio, W.S. Heinrich, J.S. Rudolf, C.D. Armando, B.H. Eduarda and I.E. Valdemar. 2009. Effect of organic and inorganic amendments on soil organic matter properties. Geoderma. 150: 38-45.

Lemaire, F. 1995. Physical, chemical and biological properties of growing medium. Acta Horticulturae. 396: 273-284.

Nelson, P.V. 1991. Greenhouse operation and management (4th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Oladipo, F.O., O.D. Olorunfemi, O.D Adetoro. and T.O. Oladele. 2017. Farm waste utilization among farmers in Irepodun local government area, Kwara State, Nigeria: Implication for extension education service delivery. Ruhuna Journal of Science. 8(2): 1-11.

Pan, I., B. Dam, and S.K. Sen. 2012. Composting of common organic wastes using microbial inoculants. 3 Biotech. 2: 127-134.

Reinikainen, O. 1993. Choice of growing media for pot plants. Acta Horticulturae 342: 357-360.

Wang, L., Y. Lia, S.O. Prasher, B. Yan, Y. Ou, H. Cui, and Y. Cui. 2019. Organic matter, a critical factor to immobilize phosphorus, copper, and zinc. Bioresource Technology. 1-6.