ผลของอาหารต่างชนิดต่อการเจริญเติบโตของโปรโตคอร์มกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสลูกผสมในสภาพปลอดเชื้อ

Main Article Content

จุฑามาศ พิลาดี
ทองหลั่ง เพ็ดชมพู

บทคัดย่อ

     การศึกษาเปรียบเทียบอาหารชนิดต่าง ๆ ต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสลูกผสม โดยนำโปรโตคอร์มของกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสลูกผสมที่อายุ 6 เดือน มาเพาะเลี้ยงบนอาหาร 7 ชนิด ได้แก่ อาหาร MS, VW, VW ดัดแปลง, ปุ๋ย Hyponex ที่ระดับความเข้มข้น 1 กรัม/ลิตร, 2 กรัม/ลิตร, 3 กรัม/ ลิตร และปุ๋ยเคมี 20-20-20 ที่ระดับความเข้มข้น 1 กรัม/ลิตร พบว่าโปรโตคอร์มได้พัฒนาไปเป็นต้นอ่อน เมื่อเลี้ยงได้ 1 เดือน โดยหลังจากเพาะเลี้ยงระยะเวลา 3 เดือน เส้นผ่านศูนย์กลางของต้นอ่อนไม่มีความแตกต่างกันในทุกสูตรอาหารทดลอง ส่วนอาหาร VW และ VW ดัดแปลง ให้ต้นอ่อนมีความสูงมากที่สุด 1.11 เซนติเมตร แต่อาหารปุ๋ยเคมีทำให้ความสูงของต้นอ่อนไม่แตกต่างจากอาหาร MS และ VW ดัดแปลง อาหาร Hyponex ที่ระดับความเข้มข้น 3 กรัม/ลิตร และอาหารปุ๋ยเคมี 20-20-20 ที่ระดับความเข้มข้น 1 กรัม/ลิตร ทำให้จำนวนใบของต้นอ่อนไม่แตกต่างจากอาหาร MS, VW และ VW ดัดแปลง อย่างไรก็ตาม อาหาร VW และ VW ดัดแปลง ทำให้ต้นอ่อนมีจำนวนรากมากที่สุด 2.20 เซนติเมตร อาหารปุ๋ย Hyponex ที่ระดับความเข้มข้น 1 กรัม/ลิตร, 2 กรัม/ลิตร, 3 กรัม/ลิตร และอาหารปุ๋ยเคมี 20-20-20 ที่ระดับความ เข้มข้น 1 กรัม/ลิตร ทำให้ต้นอ่อนมีจำนวนรากไม่แตกต่างจากอาหาร MS

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา รุ่งรัชกานนท์ และรัตนา นาวี. 2560. ผลของแสงและองค์ประกอบของอาหารต่อการงอกของเมล็ดและการพัฒนาเป็นต้นอ่อนของกล้วยไม้ฟาแลนอปซิสลูกผสมดอกใหญ่สีขาวในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 4(3): 29-34.

กุลนาถ อบสุวรรณ และสุนทรี ทารพนัธ. 2557a. ผลของสูตรอาหารต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้สกุลหวาย Dendrobium discolor ระยะต่าง ๆ ในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 45(2)(พิเศษ): 293-296.

กุลนาถ อบสุวรรณ และสุนทรี ทารพนัธ. 2557b. ผลของสูตรอาหารต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้สกุลหวาย Dendrobium discolor ระยะต่าง ๆ ในสภาพปลอดเชื้อ. Veridian E-Journal สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3(6): 340-348.

กุลนาถ อบสุวรรณ และสุนทรี ทารพนัธ. 2559a. ผลของสูตรอาหารต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้สกุลหวาย Dendrobium discolor ระยะต่าง ๆ ในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 45(2)(พิเศษ): 293-296.

กุลนาถ อบสุวรรณ และสุนทรี ทารพนัธ. 2559b. ผลของสูตรอาหารต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้สกุลหวาย Dendrobium discolor ระยะต่าง ๆ ในสภาพปลอดเชื้อ. Veridian E-Journal สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3(6): 340-348.

ชาญกิจ เอื้อกิจกูล. 2545. ผลข องปุ๋ยทางใบที่มีต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ฟาแลนอปซิส. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี สาขาพืชสวนมหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

ทองหลั่ง เพ็ดชมพู จุฑามาศ พิลาดี ประนอม ยังคำมั่น และสิริวัฒน์ สาครวาสี. 2562. การศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของโปรโตคอร์มกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสลูกผสมในสภาพปลอดเชื้อ. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มศรีอยุธยา ครั้งที่ 10: 4-5 กรกฎาคม 2562. ณ ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.

ทองหลั่ง เพ็ดชมพู จุฑามาศ พิลาดี จีระนันท์ ตาคำ และวัชราภรณ์ สุขขี. 2562a. การศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของต้นอ่อนกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสลูกผสมในสภาพปลอดเชื้อ. การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 18: 5-7 พฤศจิกายน 2562. โรงแรมริชมอนด์ สไตล์ลิช คอนเวนชั่น นนทบุรี.

นายิกา สันทารุนัย. 2559. การศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้เหลืองจันทบูร Dendrobium friedericksianum Rchb f. ในหลอดทดลอง. วิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา: 1-63.

ปัทมา ศรีนํ้าเงิน และพัชนิดา เคลิ้มกระโทก. 2560. ผลของอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชต้นทุนตํ่าต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้มอคคาร่า. ประชุมวิชาการนานาชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 8: วันที่ 7-9 สิงหาคม 2560 ณ ห้องจูปิเตอร์ 13 อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี นนทบุรี.

เพชรรัตน์ จันทรทิณ. 2556. อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและการเตรียมอาหาร. ใน เอกสารประกอบการสอน วิชา TA 445 เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพื่อการเกษตร. กรุงเทพฯ, สาขาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี: 26-38.

สุมิตรา สุปินราช. 2552. กล้วยไม้แสนสวย. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์. 178 หน้า.

Arditti, J. and R. Ernst. 1993. Physiology of germinating orchid seed. Orchid Biology: Reviews and Perspective III: 178-222.

Chugh S., S. Guha and I.U. Rao. 2009. Micropropagation of orchids: a review on the potential of different explants. Scientia Horticulturae. 122(4): 507-520.

Murashige, T. and F.A. Skoog. 1962. Revised medium for rapid growth and bioassay with tobacco tissue culture. Plant Physiology. 15: 473-497.

Sopalun K., K. Thammasiri and K. Ishikawa. 2010. Micropropagation of the Thai orchid Grammatophyllum speciosum blume. Plant cell, Tissue and Organ culture (PCTOC). 101(2): 143-150.

Texeira da S., J.A. Chan, M.T. Sanjaya, M.L. Chai and M. Tanaka. 2006. Priming abiotic factors for optimal hydrid Cymbidium (Orchidaeceae.) PLB and callus induction, plantlet formation and their subsequent cytogenetic stability analysis. Scientia Horticulturae. 109: 368-378.

Vacin, E. and F.W. Went. 1949. Some pH changes in nutrient solutions. Bot. Gaz 110: 605-613.

Zahara, M., A. Datta. and P. Boonkorkaew. 2016. Effects of sucrose, carrot juice and culture media on growth and net CO2 exchange rate in Phalaenopsis hybrid ‘Pink’. Scientia Horticulturae. 205: 17-24.