การวิเคราะห์นโยบายการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่สู่การปฏิบัติเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิเคราะห์นโยบายการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่สู่การปฏิบัติเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของการปฏิบัติทางนโยบายพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ 2) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะและรูปแบบการสนับสนุนต่อการพัฒนาเกษตรเกษตรรุ่นใหม่ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบการขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาเกษตรเกษตรรุ่นใหม่ สู่การสร้างความมั่นคงทางอาหารพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เป็น การวิจัยเชิงคุณภาพใช้เครื่องมือการวิจัยโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การอภิปรายกลุ่มย่อย การสัมภาษณ์เชิงลึก และการถอดบทเรียนกรณีศึกษา โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ 1) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย จำนวน 2 คน 2) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน จำนวน 10 คน 3) ตัวแทนเกษตรกรรุ่นใหม่ จำนวน 35 คน และ 4) นักวิชาการ จำนวน 4 คน รวมทั้งหมด 51 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและพรรณนา และตรวจสอบความเที่ยงตรงข้อมูลโดยวิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า
ผลการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์นโยบายการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่สู่การปฏิบัติเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารพื้นที่ภาคเหนือตอนบน สามารถแบ่งได้ 4 ส่วนหลักคือ 1. การวิเคราะห์ปัญหาต่อการเข้าสู่ภาคเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ในพื้นที่สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1.1 ปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายในของเกษตรกรรุ่นใหม่ และ 1.2 ปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายนอกของเกษตรกรรุ่นใหม่ 2. การวิเคราะห์ความต้องการของเกษตรกรรุ่นใหม่สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 2.1 ความต้องการพัฒนาศักยภาพภายในตัวของเกษตรกรรุ่นใหม่ และ 2.2 ความต้องการจากการสนับสนุนภายนอกตัว ของเกษตรกรรุ่นใหม่ 3. การวิเคราะห์ลักษณะและรูปแบบการสนับสนุนเกษตรรุ่นใหม่ ประกอบด้วย การส่งเสริม 3 ลักษณะหลัก และ 10 รูปแบบย่อย ได้แก่ 3.1 ลักษณะการเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะ การประกอบการด้านเกษตร แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ประกอบด้วย (1) รูปแบบการอบรม (ระยะสั้น) (2) รูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ (ระยะยาว) (3) รูปแบบการเรียนการสอน (4) รูปแบบการเพิ่มเติม ความรู้จากพี่เลี้ยง 3.2 ลักษณะการสนับสนุนทรัพยากรที่เอื้อต่อการเกษตร แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ประกอบด้วย (1) รูปแบบการสนับสนุนอุปกรณ์/เครื่องมือ (2) รูปแบบการสนับสนุนเงินทุน (3) รูปแบบ การสนับสนุนที่ดิน และ 3.3 ลักษณะการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มและเครือข่าย แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ประกอบด้วย (1) รูปแบบการสร้างพื้นที่พูดคุย/แลกเปลี่ยน (2) รูปแบบการพัฒนาโครงการและกิจกรรม (3) รูปแบบกำหนดบทบาทและหน้าที่่รวมกัน และ 4. การวิเคราะห์ผลกระทบการสนับสนุนเกษตรรุ่นใหม่ ต่อการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ได้แก่ 4.1 ผลกระทบต่อเกษตรกรรุ่นใหม่และครอบครัว 4.2 ผลกระทบต่อชุมชน 4.3 ผลกระทบภาพรวมในพื้นที่ภาคเหนือตนบน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2560. Young Smart Farmer: อนาคตและทิศทางภาคเกษตรไทย เล่ม 2. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ.
เกียรติศักดิ์ ยั่งยืน. 2563. นโยบายการลงทุนทางการเกษตรอย่างรับผิดชอบเพื่อการสร้างสวัสดิการสังคมและความมั่นคงทางอาหาร. วารสารสังคมวิวัฒน์ 11(1): 32-61.
ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี ลักขณา เก่วใจ จินตกานต์ สุธรรมดี และศุกรดา แสนยาโต. 2562. แนวทางการยกระดับขีดความสามารถเกษตรกรรุ่นใหม่อย่างยั่งยืนในพื้นที่บ้าน
นาสีนวล อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ. 1(3): 33-54.
นนทกานต์ จันทร์อ่อน. 2557. ความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย (Thailand Food Security). สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา 4(2): 1-6.
นันทิยา ศรีทัดจันทา. 2557. แนวทางการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ในจังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, กรุงเทพฯ.
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐบำ เพ็ญ เขียวหวาน สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม และจำนงค์ จุลเอียด. 2559. แนวทางการพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs ภาคเกษตรรุ่นใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 8(3): 140-153.
ประสาทพร สีกงพลี. 2560. เครือข่ายบ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่: การเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายเกษตรกรภาคครัวเรือน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วพชรวลัย เอี่ยมอาภรณ์. 2557. แนวทางการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิฑูรย์ ปัญญากุล. 2557. นโยบายเกษตรยั่งยืน-เกษตรอินทรีย์: กระบวนการสำคัญไม่น้อยกว่าเนื้อหา. กรีนเนท แหล่งข้อมูล http://www.greennet.or.th/blog/1660 (25 ตุลาคม 2564).
วิทยาลัยบริหารศาสตร์. 2560. ผู้นำคนรุ่นใหม่: คุณค่าแห่ง่วิถีเกษตรอินทรีย์และพลังกลุ่มคนรุ่นใหม่สู่การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงชุมชนบ้านเกิด. วินิดาการพิมพ์, เชียงใหม่.
วิทเอก สว่างจิตร. 2564. การพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้สู่การเป็นผู้นำเกษตรกรรุ่นใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 38(1): 126-134.
ศจินทร์ ประชาสันติ์. 2552. การพัฒนาดัชนีชี้วัดความมั่นคงทางอาหารไทย. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.), กรุงเทพฯ.
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร. 2555. การปฏิรูประบบเกษตรกรรม เพื่อความเป็นธรรมและความมั่นคงทางอาหาร. แหล่งข้อมูล http://www.frdfund.org (25 ตุลาคม 2564).
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2564. สถิติเกษตรและประมง. แหล่งข้อมูล http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/11.aspx (25 ตุลาคม 2564).
สำราญ สาราบรรณ์. 2561. แนวทางการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคการเกษตร. หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, กรุงเทพฯ.
สุภางค์ จันทวานิช. 2556. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 21. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
องอาจ มิเง และคณะ. 2563. การพัฒนาวิถีการผลิตเกษตรกรรมเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารบนฐานศักยภาพชุมชนบ้านยางเปา ตำบลอมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่. สำ นักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.), กรุงเทพฯ.
อารยะ ปรีชาเมตตา. 2559. ดุลยภาพที่เหลื่อมลํ้า. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Cocile Cochetel และเกษศิรินทร์ พิบูลย์. 2560. ความหลากหลายของเกษตรกรรุ่นใหม่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และปราจีนบุรี: คุณลักษณะ ปัญหาที่เผชิญ และการมีส่วนร่วมกับโครงการสนับสนุนเกษตรกร. แหล่งข้อมูล https://www.researchgate.net/publication/321795708/ (25 ตุลาคม 2564).
Independent Evaluation Department (IED). 2013. Food Security Challenges in Asia. Asian Development Bank, Philippines.
The Economist Intelligence Unit (EIU). 2018. Global Food Security Index. Available: https://foodsecurityindex.eiu.com/Index (February 12, 2019).