เจตคติในการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี กรณีศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Main Article Content

สิริภัทร วังซ้าย
จักรพงษ์ พวงงามชื่น
นคเรศ รังควัต
ปิยะ พละปัญญา

บทคัดย่อ

     ปัจจุบันประเทศไทยเร่งพัฒนาในหลายด้านและต้องการบุคลากรจำนวนมากเพื่อเป็นกลไกในการ พัฒนาประเทศ บัณฑิตจบใหม่จึงเป็นแหล่งทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนาที่สำคัญ ดังนั้นการทราบถึงแนวคิดในการประกอบอาชีพของบัณฑิตจึงเป็นเรื่องจำเป็น งานวิจัยจึงมุ่งเน้นไปที่การศึกษาปัจจัยต่าง ๆ เจตคติการวิเคราะห์องค์ประกอบของเจตคติ และแนวทางในการตัดสินใจในการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์จากนักศึกษา คณะเกษตรศาสตร์จำนวน 264 คน จากประชากรทั้งสิ้น 774 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 64.00 อายุเฉลี่ย 21.50 ปี ศึกษาสาขาวิชาสัตวศาสตร์และสัตว์นํ้าร้อยละ 28.40 เกรดเฉลี่ยสะสมเฉลี่ย 3.30 บิดามารดา ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รายได้เฉลี่ยของครอบครัว 383,640.15 บาทต่อปี กลุ่มตัวอย่างได้รับเงินจากครอบครัว 32,740.53 บาทต่อเดือน มีเพื่อนสนิทเฉลี่ย 2.94 คน โดยสนิทสนมกับเพื่อนในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.13) มีความแนบแน่นต่อครอบครัวในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.39) การเลือกอาชีพกลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญไปที่การได้รับสวัสดิการสำหรับตัวเองและครอบครัวโดยกระแสโลกส่งผลต่ออาชีพที่ต้องการในเรื่องการยกระดับคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น ซึ่งมีแรงจูงใจและเจตคติในการประกอบอาชีพภาพรวมในระดับ มากที่สุด (gif.latex?\bar{x} 4.56 และ 4.42) การวิเคราะห์องค์ประกอบการตัดสินใจ 20 ตัวแปร พบค่าความผันผวน 0.914 ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยตัวแปรด้านกลุม่ อาชีพเกษตรกรรมมีความสำคัญ ที่สุด ในขณะที่พบ 9 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเจตคติต่อการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาคือ ความสนิทสนมต่อเพื่อน จำนวนเพื่อนสนิท ความแนบแน่นต่อครอบครัว อาชีพมารดา รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อปี เงินได้ต่อเดือนจากครอบครัว สวัสดิการ การสอบเลื่อนขั้นเงินเดือน และแรงจูงใจ ดังนั้นนโยบาย การจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพของนักศึกษาหลังสำเร็จการศึกษา จึงเป็นแนวทางที่ช่วยในการตัดสินใจประกอบอาชีพของนักศึกษาเกษตรได้ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กวินารัตน์ สุทธิสุคนธ์ จิราพร ชมพิกุล และเกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพล. 2560. ปัจจัยที่มีผลต่อสัมพันธภาพในครอบครัวไทย. แหล่งข้อมูล file:///C:/Users/HP/Downloads/92060-Article%20Text-228016-1-10-20170707%20(1).pdf (28 ธันวาคม 2564).

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.). 2563. สรุปผลการสำรวจภาวการณ์บัณฑิตจบใหม่. แหล่งข้อมูล https://www.mhesi.go.th/index.php/45-service/education-service/2352-info-mua-go-th.html (7 มกราคม 2564).

งามจิต อินทวงศ์. 2556. ความต้องการสวัสดิการของพนักงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกวิทยาเขตบางพระจังหวัดชลบุรี. แหล่งข้อมูล http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/54930148.pdf (20 มกราคม 2563).

จีรนันท์ ไวยศรีแสง. 2552. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม).

จักรพงษ์ พวงงามชื่น สวิชญา ศุภอุดมฤกษ์ ตรีรัตน์ และนิศาชล ลีรัตนากร. 2558. คุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในอำเภออมก๋อยจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

จักรพงษ์ พวงงามชื่น รภัสสรณ์ คงธนาจารุอนันต์ และทองเลียน บัวจูม. 2562. เหตุจูงใจในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมหลังจบการศึกษาของนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมนุษย์สังคมศาสตร์ 17(3): 135-156.

พีรเดช ทองอำไพ. 2554. เกษตรไทยในอนาคต. แหล่งข้อมูล www.ladda.com/managedataladda/journal/agriculturethailand.pdf (5 มกราคม 2563).

ภานุพงศ์ หงษ์สุวรรณ์. 2560. เหตุจูงใจในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมหลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาสาขาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่.

วิจัยและนวัตกรรม. 2562. ระบบฐานข้อมูลโครงการพัฒนากำลังคน ด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. แหล่งข้อมูล https://www.mhesi.go.th/index.php/45-service/education-service/2340-student-agen.html (3 มกราคม 2563).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2563. โควิด-19 กระทบเศรษฐกิจการบริโภคสินค้าเกษตร. แหล่งข้อมูล https://www.oae.go.th/view/1/37099/TH-TH (5 มกราคม 2563).

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2563. สรุปผลการสำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากร. แหล่งข้อมูล https://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ (7 มกราคม 2564).

สุนันทา ศรีรัตนา จักรพงษ์ พวงงามชื่น นคเรศ รังควัต และพุฒิสรรค์ เครือคำ. 2564. การวิเคราะห์องค์ประกอบในการตัดสินใจประกอบอาชีพเกษตรกรรมหลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาเกษตร ภาคเหนือตอนบน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 10(3): 169-183.

JobThai. 2561. สายงานที่นักศึกษาจบใหม่สนใจ. แหล่งข้อมูล https://www.jobthai.com/th/company/131525 (3 มกราคม 2563).

Likert, R. and A. Rensis 1961. New patterns of management. Print Book: EnglishView all editions and formats: New York: MCGraw-Hill Book Company, Inc.

Poung-ngamchuen, J. and K. Namvises. 2012. People’s participation in Dong Na Tham community forest management project, Ubon Ratchathani, Thailand. Kasetsart Journal (Social Sciences) (Thailand), 33(3): 486-498.

Poung-ngamchuen, J., T. Buwjoom and S. Sang-U. 2016. Factors’ Effecting Health of Farmers in Muang District, Lampun Province. Available: https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MzM4ODg0 (3 Jan 2021).

Siriwan, T., J. Poung-ngamchuen, N. Rungkawat and P. Kruekum. 2020. Rational Factors Affecting Participation in Managerial Administration of Chiwavitee Community Enterprise Group’s Member in Nam Kian Subdistrict, Phu Phiang District, Nan Province. Journal of Environmental Treatment Techniques, 8(4): 1611-1617.

Slovin, E. 1960. Slovin’s formula for sampling technique. New York: Houghton-Mifflin.

Yamane, T. 1973. Statistics: An introductory analysis. New York: Harper International.