การพึ่งตนเองของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

จิรานุช ธัญญเจริญ
กังสดาล กนกหงส์
พหล ศักดิ์คะทัศน์
สายสกุล ฟองมูล

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐาน เศรษฐกิจ และสังคมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 2) เพื่อศึกษาระดับการพึ่งตนเองของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพึ่งตนเองของวิสาหกิจชุมชน 4) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพึ่งตนเองของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผู้วิจัยใช้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 7 อำเภอ 253 กลุ่ม เป็นหน่วยวิเคราะห์ (Unit of analysis) โดยให้ประธานกลุ่มเป็นตัวแทนกลุ่มละ 1 คน ในการตอบแบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยพหุ การวิจัยครั้งนี้นี้พบว่า จำนวนสมาชิกภายในกลุ่มเฉลี่ยอยู่ที่ 15.56 คน มีอายุเฉลี่ย 45.81 ปี ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่จบการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประเภทของกลุ่มเป็นการเกษตร ร้อยละ 31.35 มีระยะเวลาในการตั้งกลุ่มเฉลี่ย 5.33 ปี ซึ่งมีระดับกิจการอยู่ในขั้นพื้นฐาน ร้อยละ 62.84 มีแหล่งที่มาของเงินทุน ร้อยละ 83.39 ส่วนใหญ่นั้นที่ตั้งกลุ่มขึ้นมาเป็นการระดมทุนกันภายในกลุ่มซึ่งมีวิธีการจัดจำหน่ายสินค้าของวิสาหกิจชุมชน ร้อยละ 24.08 เป็นผลิตตามคำสั่งซื้อ มีเงินทุนหมุนเวียน เฉลี่ย 231181.82 บาท/ปี และการมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ร้อยละ 36.36 ทำร่วมกันเกือบทุกครั้งรวมทั้งมีการสื่อสารหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ร้อยละ 72.33 สมาชิกวิสาหกิจชุมชนนั้นได้รับการฝึกอบรม ร้อยละ 64.82 ซึ่งไมมี่การทำงานเชื่อมโยงลักษณะเครือข่ายกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอื่นหรือองค์กรอื่น ร้อยละ 63.63 ในด้านการพึ่งตนเองของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า กลุ่มมีการพึ่งตนเองโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีการพึ่งตนเองอยู่ในระดับมากในทุกด้าน ได้แก่ ด้านจิตใจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านเทคโนโลยีและด้านเศรษฐกิจ ตามลำดับ ในส่วนของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพึ่งตนเองของวิสาหกิจชุมชนมีความสัมพันธ์ในเชิงบวก ได้แก่ อายุของสมาชิกกลุ่ม ระดับกิจการของกลุ่ม การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพึ่งตนเองของวิสาหกิจชุมชนในเชิงลบ ได้แก่ ประเภทของกลุ่ม ซึ่งกลุ่มวิสาหกิจบางกลุ่มมีปัญหาขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัยทั้งเทคโนโลยีการผลิตสินค้า เทคโนโลยีการถนอมอาหาร อีกทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลต่อจิตใจ ทำให้สภาพจิตใจยํ่าแย่ และในด้านเศรษฐกิจทำให้รายได้ลดลง วิสาหกิจบางกลุ่มนั้นมีวัตถุดิบในชุมชนไม่เพียงพอต่อการผลิตสินค้า จึงต้องนำเข้าวัตถุดิบจากชุมชนอื่น ๆ บางวิสาหกิจไมมี่การส่งต่อความรู้ไปยังคนรุ่นหลัง เนื่องด้วยหลายสาเหตุ เช่น การที่คนรุ่นใหม่ไมค่อยสนใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือไม่ทราบในการมีอยู่ของชุดความรู้ในภูมิปัญญานั้น ๆ ข้อเสนอแนะ ภาครัฐควรมีการสนับสนุนงบประมาณในส่วนของเทคโนโลยี ชุมชนควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มขวัญกำลังใจอีกทั้งควรมีตลาดนัดชุมชนเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในชุมชน รวมไปถึงควรขยายเครือข่ายระหว่างวิสาหกิจชุมชนและผู้ผลิตวัตถุดิบทั้งภายในและภายนอกชุมชน โดยส่งเสริมให้คนในชุมชนเพาะปลูกวัตถุดิบที่ขาดแคลนมากขึ้น และสำนักงานเกษตรอำเภอที่รับผิดชอบในส่วนงานของวิสาหกิจชุมชนควรส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องและจริงจัง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ ตรีชั้น. 2558. การดำเนินชีวิตโดยการพึ่งตนเองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ กรณีศึกษา: เกษตรกรบ้านหนองคอไก่ อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี.

ณรัชช์อร พิพัฒน์ธนากร. 2553. การพึ่งตนเองของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านในเขตเทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์ อารี วิบูลย์พงศ์ ไพรัช กาญจนการุณ ประทานทิพย์ กระมล และนัทธมน ธีระกุล. 2546. วิสาหกิจหัตถกรรมพื้นบ้านกิจการถวัลย์ไม้ไผ่จักสาน. โครงการวิจัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธวัชชัย พินิจใหม่ สุดารัตน์ แซ่มเงิน สาวิตรี รังสิภัทร์ และทิพวัลย์ สีจันทร์. 2560. การพึ่งตนเองของวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้านนาโพธิ์ ตำบลท่าแร้ง อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน 10(3): 70-80.

วิภารัตน์ วงษ์พัง. 2562. การพึ่งตนเองและปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์จากแป้งข้าวหอมมะลิในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารแก่นเกษตร 47(พิเศษ)1: 1080-1088.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. 2536. การพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่. 2564. รายชื่อวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียน เชียงใหม่ฯ: สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่.

Department of Agricultural Extension. 2014. Outstanding community enterprise in 2014. N.P.: n.p.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 2nd Edition. Harper and Row Publications, New York.