ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชุมชนแม่ขาน ตำบลน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ธนาคาร ทองเจริญ
พหล ศักดิ์คทัศน์
นคเรศ รังควัต
พุฒิสรรค์ เครือคำ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชุมชนแม่ขาน 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าชุมชนแม่ขาน และ 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของประชาชนในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ป่าชุมชนแม่ขาน ประชากร คือ ตัวแทนครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในตำบลน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนครัวเรือน ซึ่งเป็นหัวหน้าครัวเรือน จำนวน 343 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลซึ่งเป็นแบบสอบถามชนิดกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหา
     ผลวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 56.60 เปอร์เซ็นต์ อายุเฉลี่ย 39.29 ปี จบปริญญาตรี 32.10 เปอร์เซ็นต์ สถานภาพสมรส 60.30 เปอร์เซ็นต์ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม 61.80 เปอร์เซ็นต์ มีรายได้เฉลี่ย 439,603.49 บาทต่อปี และถือครองที่ดินเฉลี่ย 16.55 ไร่ ส่วนใหญ่เข้าร่วมฝึกอบรมและดูงานปีละครั้ง 70.00 เปอร์เซ็นต์ ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ 2 ครั้งต่อปี 60.30 เปอร์เซ็นต์ เข้าร่วมกิจกรรมชุมชนปีละครั้ง 65.11 เปอร์เซ็นต์ เป็นอาสาสมัคร 8.20 เปอร์เซ็นต์ ได้รับข่าวสารการอนุรักษ์ป่าจากโทรทัศน์ 30.00 เปอร์เซ็นต์ อาศัยอยู่ในชุมชนเฉลี่ย 33.91 ปี ภาพรวมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.24) ซึ่งด้านการดำเนินการ การร่วมรับผลประโยชน์ และการตัดสินใจอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.29 gif.latex?\bar{x}=4.24 และ gif.latex?\bar{x}=4.22 ตามลำดับ) ส่วนการติดตามประเมินผลอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.20) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าในภาพรวม คือ การรับการฝึกอบรม การติดต่อเจ้าหน้าที่ และการรับข้อมูลข่าวสาร สำหรับปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ขาดความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการอนุรักษ์ป่าทั้งด้านการวางแผนและการดำเนินการ โดยกลุ่มตัวอย่างเสนอให้ผู้นำชุมชนขอการสนับสนุนจากภาครัฐ ทั้งด้านความรู้และงบประมาณ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมป่าไม้จังหวัดเชียงใหม่. 2558. ข้อมูลทั่วไป. หน่วยฟื้นฟูสภาพป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ขานและป่าแม่วาง ที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่.

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2562. บทสรุปผู้บริหารโครงการจัดทำข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้ ปี พ.ศ. 2561-2562. สำนักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้.

จักรพงษ์ พวงงามชื่น. 2552. การบริหารจัดการป่าชุมชน: กรณีศึกษาบ้านป่าสักงาม ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 32(4): 407-422.

จักรพงษ์ พวงงามชื่น สวิชญา ศุภอุดมฤกษ์ ตรีรัตน์ และนคเรศ รังควัต. 2556. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชน: กรณีศึกษาบ้านทาป่าเปา ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 36 (2): 215-234.

จังหวัดเชียงใหม่. 2563. รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563.

เชียงใหม่นิวส์. 2561. แม่วางทุกภาคส่วนบูรณาการ จับมอดไม้รุกป่าแม่ขาน-แม่วาง ได้ทั้งไม้แปรรูป เลื่อยไฟฟ้าพ่วงด้วยปืนกับยาบ้า. แหล่งที่มา https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/847059/ (15 พฤศจิกายน 2564).

เชียงใหม่นิวส์. 2564. เชียงใหม่สนธิกำลังเจ้าหน้าที่บุกจับนายทุนบุกรุกป่าเตรียมขายทำบ้านพักตากอากาศในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ขาน. แหล่งที่มา https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/1688900/ (20 พฤศจิกายน 2564).

ณรงค์ เป็งเส้า สายสกุล ฟองมูล พหล ศักดิ์คะทัศน์ และพุฒิสรรค์ เครือคำ. 2563. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าขุนแม่ทา ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 38(2): 144-156.

นงค์รินทร์ ใจมะสิทธิ์. 2559. การมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชนต่อการจัดการป่าชุมชนตำบลบ้านปวง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน. ค้นคว้าอิสระ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น.

ภาวดี ทะไกรราช. 2561. การจัดการป่าชุมชนในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 3 จังหวัดศรีสะเกษ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน. วารสารวิชาการ 12(3):108-122.

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. 2563. สถานการณ์ป่าไม้ไทย. แหล่งข้อมูล https://www.seub.or.th/document/สถานการณ์ป่าไม้ไทย/รายงานสถานการป่าไม้ไ-6/ (29 พฤศจิกายน 64).

สวรรค์ญา อ่วมจิ๋ว. 2563. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของประชาชนในพื้นที่หมู่บ้านสหกรณ์ 4 ตำบลบ้านสหกรณ์ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร, คณะผลิตกรรมการเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่. 2563. สภาพทางเศรษฐกิจ: ภาพรวมเศรษฐกิจ. บรรยายสรุปจังหวัดเชียงใหม่. กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่.

สุนันทา ศรีรัตนา จักรพงษ์ พวงงามชื่น นคเรศ รังควัต และพุฒิสรรค์ เครือคำ. 2564. การวิเคราะห์องค์ประกอบในการตัดสินใจประกอบอาชีพเกษตรกรรมหลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาเกษตร ภาคเหนือตอนบน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 10 (3): 169-183.

องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำบ่อหลวง. 2564. สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของท้องถิ่น. จำนวนประชากร. แหล่งข้อมูล http://www.namboluang.go.th/about.php?id=1 (20 พฤศจิกายน 2562).

Likert, R.A. 1961. New patterns of management. New York: McGraw-Hill Book Company, Inc.

Siriwan, T., J. Poung-ngamchuen, N. Rungkawat and P. Kruekum. 2020. Rationale Factors Affecting Participation in Managiral Administration of Chiwavitee Community Enterprise Group’s Members in Nam Kian Sub-district, Phu Phiang District, Nan Provinced. Journal of Environmental Treatment Techniques 8(4): 1611-1617.

Yamane, T. 1973. Statistic: An Introductory Analysis. 3rded. Tokyo: Herper International Edition.